ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ด้านการเกษตร ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแม่ฮ่องสอน

ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแม่ฮ่องสอน

ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแม่ฮ่องสอน เลขที่ 193  ม. 5  บ้านท่าโป่งแดง ต.ผาบ่อง อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน 58000

พ.ศ.2524 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ออกคำสั่งให้ กรมวิชาการเกษตรเข้าร่วมดำเนินงานโครงการพัฒนาตามพระราชดำริจังหวัดแม่ฮ่องสอน  และกรมวิชาการเกษตร ได้มีคำสั่งให้หน่วยงานภายใต้สังกัด ที่ปฏิบัติงานใกล้เคียงกับจังหวัดแม่ฮ่องสอนโดยมอบหมายให้ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่เป็นหน่วยงานหลัก

พ.ศ. 2543 กรมวิชาการเกษตร ได้พิจารณาให้ยกระดับสำนักงานชั่วคราวที่ตั้งอยู่ในโครงการศูนย์บริการและพัฒนาลุ่มน้ำปาย  (ท่าโป่งแดง) ต.ผาบ่องอ.เมือง  จ.แม่ฮ่องสอน เป็นสถานีทดลองพืชสวนแม่ฮ่องสอน สังกัดสถาบันพืชสวน

พ.ศ. 2547 กรมวิชาการเกษตรได้มีการปรับโครงสร้างของกรม ได้ยุบสถานีทดลองพืชสวนแม่ฮ่องสอน เป็นแปลงทดลอง ให้อยู่ในการควบคุมและดำเนินงานของศูนย์วิจัยข้าวแม่ฮ่องสอน

ตุลาคม 2549 ศูนย์วิจัยข้าวแม่ฮ่องสอน ได้แยกตัวขึ้นไปสังกัด กรมการข้าว  จึงได้เสนอให้กรมวิชาการเกษตร พิจารณาจัดตั้งหน่วยงานของกรมวิชาการเกษตรพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนเหมือนเดิม

23 มีนาคม 2550 กรมวิชาการเกษตรได้มีคำสั่งจัดตั้ง “ศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตแม่ฮ่องสอน” เป็นหน่วยงานของกรมวิชาการเกษตรในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน  สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่1 จ. เชียงใหม่

27 มีนาคม 2552 กรมวิชาการเกษตรได้มีคำสั่งปรับปรุงหน่วยงานจาก ศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตแม่ฮ่องสอน เปลี่ยนชื่อเป็น “ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแม่ฮ่องสอน” สังกัดสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่1 จ. เชียงใหม่ เป็นต้นมา

ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแม่ฮ่องสอน ตั้งอยู่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำปาย บ้านท่าโป่งแดง ตำบลผาบ่อง อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

กรุงเทพฯ – แม่ฮ่องสอน ใช้เส้นทางหลักได้ 3 เส้นทาง โดยพิจารณาจาก จำนวนวันเดินทาง สถานที่ท่องเที่ยวเป้าหมาย ซึ่งจะสัมพันธ์กับที่พัก และงบประมาณรายจ่าย

กรุงเทพฯ – แม่ฮ่องสอน

เส้นทางที่ 1 กรุงเทพฯ – เชียงใหม่ – แม่ฮ่องสอน
ใช้เส้นทางหลัก กรุงเทพฯ – เชียงใหม่ ผ่านอยุธยาจนถึงนครสวรรค์ แล้วเลี้ยวซ้ายไปทางกำแพงเพชรจนถึงลำปาง ข้ามดอยขุนตาลเข้าสู่ลำพูนและเชียงใหม่ พัก 1 คืน หลังจากนั้นเลือกใช้เส้นทางจากเชียงใหม่

เส้นทางที่ 2 กรุงเทพฯ – ตาก – อ.แม่สอด – อ.แม่สะเรียง – แม่ฮ่องสอน
ใช้เส้นทางหลัก กรุงเทพฯ – เชียงใหม่ ตามเส้นทางที่ 1 จนถึง จ.ตาก ก่อนเข้าตัวเมืองให้เลี้ยวซ้ายไปทาง อ.แม่สอด แวะเที่ยวและพัก 1 คืน วันต่อไปให้เลี้ยวขวาใช้ ทล.105 จนถึง อ.แม่สะเรียง แล้วเชื่อมต่อ ทล.108

เส้นทางที่ 3 กรุงเทพฯ – ตาก – อ.เถิน – อ.ลี้ – อ.ดอยเต่า – อ.ฮอด – อ.แม่สะเรียง – แม่ฮ่องสอน
ใช้เส้นทางหลัก กรุงเทพฯ – เชียงใหม่ ตามเส้นทางที่ 1 จนถึง จ.ตาก ผ่านตัวเมืองไปถึง อ.เถิน เลี้ยวซ้ายข้ามภูเขาไป อ.ลี้ จากนั้นให้เลี้ยวซ้ายเข้า อ.ดอยเต่า จนถึง อ.ฮอด แวะพักตั้งแคมป์ที่ อุทยานแห่งชติออบหลวง จากนั้นใช้เส้นทางเชื่อมต่อ ทล.108

เชียงใหม่ – แม่ฮ่องสอน

ใช้เส้นทางหลักได้ 2 เส้นทาง โดยพิจารณาจาก สถานที่ท่องเที่ยวและที่พักเป็นหลัก ส่วนจำนวนวันเดินทางและค่าใช้จ่าย ต่างกันไม่มากนัก

เส้นทางที่ 1 ทางหลวงหมายเลข 108 เชียงใหม่ – อ.ฮอด – อ.แม่สะเรียง – อ.แม่ลาน้อย – อ.ขุนยวม – แม่ฮ่องสอน
ระยะทาง 360 กม. ใช้เวลา 8 ชั่วโมง เป็นเส้นทางหลักสำหรับการคมนาคม และขนส่งสินค้า จาก อ.ฮอด จะเริ่มทางโค้งและภูเขา แต่ไม่สูงชันนัก และมีปริมาณโค้งต่อเนื่องเป็นระยะ ระหว่าง อ.แม่ลาน้อย – แม่ฮ่องสอน จะมีความถี่ของโค้งอยู่ 2 ช่วง ควรรักษาระดับความเร็ว

เส้นทางที่ 2 ทางหลวงหมายเลข 1095 เชียงใหม่ – อ.แม่ริม – บ.แม่มาลัย – อ.ปาย – อ.ปางมะผ้า – แม่ฮ่องสอน
ระยะทาง 245 กม. ใช้เวลา 6 ชั่วโมง เป็นเส้นทางสายภูผา สภาพรถยนต์ต้องพร้อม ใช้เกียร์ต่ำได้ดีในจังหวะลงเขา มีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจตลอดเส้นทาง

           เดือนพฤศจิกายน สามารถใช้เส้นทาง ดอยอินทนนท์ – อ.แม่แจ่ม – บ.แม่นาจร เพื่อไปชมทุ่งบัวตอง ดอยแม่อูคอได้ จากนั้นใช้เส้นทาง ทล.108 ช่วงระหว่าง อ.ขุนยวม ไปแม่ฮ่องสอนได้ เส้นทางนี้ผ่านสถานที่ท่องเที่ยวไม่มากนัก ส่วนใหญ่เป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ปริมาณรถวิ่งน้อย ทางสูงชันเป็นระยะ รวมระยะทาง 310 กม. ใช้เวลาเดินทางประมาณ 7 ชม.

กรุงเทพฯ – แม่ฮ่องสอน มีบริการของ สมบัติทัวร์ เพียงที่เดียว รถออกวันละ 2 เวลา ติดต่อสำรองการเดินทางได้ที่ กรุงเทพฯ 02 – 0304999,Call Center 1215 , แม่ฮ่องสอน 053 – 684222 และ เว็บไซต์ www.sombattour.com

 

  • รถทัวร์ปรับอากาศ ชั้น 1      17.00 น. – 09.00 น.          
  • รถทัวร์ปรับอากาศ VIP       18.00 น. – 10.00 น.

 

เชียงใหม่ – แม่ฮ่องสอน มีบริการของ เปรมประชา แบ่งเป็น 2 เส้นทาง คือ อ.แม่สะเรียง และ อ.ปาย ติดต่อสำรองการเดินทางได้ที่ เชียงใหม่ 053 – 244 737, 053 – 304 748 แม่ฮ่องสอน 053 – 684-100 ดังนี้

เชียงใหม่ – แม่ฮ่องสอน (ผ่าน ปาย และ ปางมะผ้า)
รถออกเวลา 6:30, 7:30, 8:30, 9:30, 10:30, 11:30, 12:30, 13:30, 14:30
แม่ฮ่องสอน – เชียงใหม่ (ผ่าน ปางมะผ้า และ ปาย)
รถออกเวลา 7:00, 8:00, 9:00, 10:00, 11:00, 12:00, 13:00, 14:00, 15:00, 17:00
เชียงใหม่ – ปางมะผ้า
รถออกเวลา 6:30, 7:30, 8:30, 9:30, 10:30, 11:30, 12:30, 14:30
ปางมะผ้า – เชียงใหม่
รถออกเวลา 8:00, 8:30, 9:30, 10:30, 11:30, 12:30, 13:30, 14:30, 15:30, 16:30, 18:30
เชียงใหม่ – แม่สะเรียง
รถออกเวลา 7:00, 9:00, 10:00, 12:00, 14:00, 15:00, 17:00
แม่สะเรียง – เชียงใหม่
รถออกเวลา 7:00, 8:00, 11:00, 13:00 15:00 17:00
เชียงใหม่ – ขุนยวม (ผ่าน แม่ลาน้อย แม่ลาหลวง)
รถออกเวลา 7:00, 11:00, 13:00, 14:00
ขุนยวม – เชียงใหม่ (ผ่าน แม่ลาหลวง แม่ลาน้อย)
รถออกเวลา 6:00, 7:00, 14:00, 18:00
รถเมเจอร์เอโค้ช Major A Coach ­เชียงใหม่ – แม่ฮ่องสอน (ผ่าน แม่สะเรียง ขุนยวม)
รถออกเวลา 21:00
แม่ฮ่องสอน – เชียงใหม่ (ผ่าน ขุนยวม แม่สะเรียง)
รถออกเวลา 21:00

 นกแอร์ ให้บริการจากกรุงเทพฯ (ดอนเมือง) – แม่ฮ่องสอน วันอาทิตย์,พุธ และศุกร์ วันละ 1 เที่ยวบิน ติดต่อสำรองการเดินทางได้ที่ เคาน์เตอร์สนามบิน, Call Center 1318 และ เว็บไซค์ www.nokair.com

กรุงเทพฯ (ดอนเมือง) – แม่ฮ่องสอน  (วันอาทิตย์, พุธ และศุกร์) วันละ 1 เที่ยวบิน

กรุงเทพฯ (ดอนเมือง) – แม่ฮ่องสอนเที่ยวบิน DD8214  ออก 07:30  ถึง 09:20
แม่ฮ่องสอน – กรุงเทพฯ (ดอนเมือง)เที่ยวบิน DD8215ออก 09:50  ถึง 11:35

       บางกอกแอร์เวยส์ ติดต่อสำรองการเดินทางได้ที่ เคาน์เตอร์สนามบิน, Call Center 1771 และ เว็บไซต์  www.bangkokair.com

เชียงใหม่(CNX) – แม่ฮ่องสอน(HGN)

วันเที่ยวบินออกเวลาถึงเวลา
ทุกวันPG2379:2010:05
ทุกวันPG23915:4516:30
ทุกวันPG23916:1517:00

แม่ฮ่องสอน(HGN) -เชียงใหม่(CNX)

วันเที่ยวบินออกเวลาถึงเวลา
ทุกวันPG23810:3511:15
ทุกวันPG24017:0517:45
ทุกวันPG24017:2518:05

กรุงเทพฯ (สุวรรณภูมิ) – แม่ฮ่องสอน

ต้นทางปลายทางประเภทราคา(รวมทุกอย่างแล้ว)
กรุงเทพฯแม่ฮ่องสอนเที่ยวเดียว1,900.-
แม่ฮ่องสอนกรุงเทพฯเที่ยวเดียว1,850.-

เที่ยวบินที่ให้บริการ มีการต่อเครื่องที่ท่าอากาศยานเชียงใหม่

ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแม่ฮ่องสอน
ที่อยู่:  193  ม. 5  บ้านท่าโป่งแดง ต.ผาบ่อง อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน 58000
โทร: 053-684377
E-mail : msccpr_doa@hotmail.com

 

ปฏิทินท่องเที่ยวประจำปี

มกราคม – กุมภาพันธ์ชมดอกกล้วยไม้เอื้องแซะบาน (ศูนย์ฯที่สูงปางตอง)
กุมภาพันธ์ – เมษายนชมแปลงรวบรวมพันธุ์มะขามป้อม
เมษายน – พฤษภาคมชมและชิมผลไม้ตามฤดูกาล มะม่วง ลิ้นจี่ ฝรั่ง
มิถุนายน – กรกฎาคมแปลงพืชผักพื้นบ้านหลากชนิดและสวนสมุนไพร
สิงหาคม – กันยายนชมกิจกรรมการขยายพันธุ์ต้นกล้ากาแฟอาราบิก้า
กันยายน – ตุลาคมชมและชิม ผลมะเม่า ส้มโอ เงาะ และอะโวคาโด้
ตุลาคม – พฤศจิกายนชมกิจกรรมขยายต้นไม้ดอกไม้ประดับ
ธันวาคม – พฤษภาคมเก็บผลกาแฟและการแปรรูปกาแฟ
ตลอดทั้งปี– การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วยไม้ป่าเอื้องแซะ
– ชมแปลงต้นแบบการผลิตมะคาเดเมียนัท
(ออกดอก 2 ช่วง คือระหว่างเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ และเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม)
– ชมแปลงทดสอบโกโก้และการแปรรูปโกโก้
– ชิมกาแฟสดชมบรรยากาศริมน้ำปาย
– แปลงต้นแบบการผลิตพืชอินทรีย์
– แปลงต้นแบบเกษตรทฤษฎีใหม่
ตลอดทั้งปีชมฐานเรียนรู้โครงการพระราชดำริ 9 ฐานเรียนรู้ ภายในศูนย์บริการและพัฒนาลุ่มน้ำปายตามพระราชดำริ (ศูนย์โป่งแดง)
1.ฐานเรียนรู้ด้านพืช
2.ฐานการเรียนรู้ข้าว
3.ฐานการเรียนรู้ด้านดินและปุ๋ย
4.ฐานการเรียนรู้ปศุสัตว์
5.ฐานเรียนรู้ด้านประมง
6.ฐานเรียนรู้ด้านไฟป่า
7.ฐานเรียนรู้ด้านการจัดการฟาร์ม
8.ฐานเรียนรู้ด้านป่าไม้
9.ฐานเรียนรู้การบริหารจัดการน้ำ

ที่พักและสิ่งอำนวยความสะดวก งานบริการ ห้องพัก

ชมแปลงทดสอบระบบการปลูกพืชเศรษฐกิจ แปลงต้นแบบไม้ผล และความหลากหลายทางชีวภาพ

กล้วยไม้เอื้องแซะ

สวนผลไม้

แปลงพืชผัก

กล้ากาแฟ

แปรรูปกาแฟ

โกโก้และการแปรรูป

ไม้ดอกไม้ประดับ

ชมการแปรรูปผลิตภัณฑ์ และชิมกาแฟสด

ชมฐานเรียนรู้ภายในศูนย์บริการและพัฒนาลุ่มน้ำปาย ตามพระราชดำริ จังหวัดแม่ฮ่องสอน

ชมฐานเรียนรู้โครงการพระราชดำริ 9 ฐานเรียนรู้ ภายในศูนย์บริการและพัฒนาลุ่มน้ำปายตามพระราชดำริ (ศูนย์โป่งแดง)

ชมฐานเรียนรู้ภายในศูนย์บริการและพัฒนาลุ่มน้ำปาย ตามพระราชดำริ จังหวัดแม่ฮ่องสอน

ที่พักและสิ่งอำนวยความสะดวก งานบริการ ห้องพัก

บ้านไม้ยกพื้นมีระเบียง

สามารถโทรจองที่พักได้ที่ 
เบอร์โทรศัพท์ : 053-684377 กด 1 แฟ็กซ์กด 6 ตั้งแต่เวลา 08.30 – 16.30 น. ในวันและเวลาราชการ
วันหยุดสามารถติดต่อได้ที่
นางสาวดวงกมล  มโนมัยนุกุล เบอร์โทร. 080-1308511 Line ID : dawkpp
นางสาวขวัญนภา  มโนมัยนุกุล เบอร์โทร. 086-6752525 Line ID : pai2929

ค่าบริการ 50.-
วัน/คน/คืน

  • จำนวนคนเข้าพัก รองรับได้ห้องละ 10 คน
  • ห้องนอน มีจำนวน 2 ห้อง
  • ห้องน้ำ  มีจำนวน 8 ห้อง

สิ่งอำนวยความสะดวกภายในบ้านพัก

  • มีเครื่องนอน จำนวนห้องละ 10 ที่
  • มีพัดลมฝาผนังห้องละ 2 ตัว
  • มีกระติกน้ำร้อน 1 กระติก/2ห้อง

สถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียง

วัดพระธาตุดอยกองมู

       ตั้งอยู่บนดอยกองมูทางทิศตะวันตกของตัวเมืองแม่ฮ่องสอน เดินทางโดยแยกจากทางหลวงสาย 108 ตรงบริเวณอนุสาวรีย์พระยาสิงหนาทราชาขึ้นไปทางซ้ายมือ เป็นทางราดยางขึ้นภูเขาไปอีกประมาณ 1.5 กิโลเมตร ก็จะถึงบริเวณวัด

       วัดนี้เดิมมีชื่อเรียกว่า วัดปลายดอย เป็นปูชนียสถานคู่บ้านคู่เมืองที่สำคัญที่สุด ประกอบด้วยพระธาตุเจดีย์ที่สวยงาม 2 องค์ พระเจดีย์องค์ใหญ่สร้างโดย “จองต่องสู่” เมื่อ พ.ศ. 2403 เป็นที่บรรจุพระธาตุของพระโมคคัลลานะเถระ ซึ่งนำมาจากประเทศพม่า ส่วนพระธาตุเจดีย์องค์เล็กสร้างเมื่อ พ.ศ. 2417 โดย “พระยาสิงหนาทราชา” เจ้าเมืองแม่ฮ่องสอนคนแรก จากวัดพระธาตุดอยกองมูนี้ สามารถมองเห็นภูมิประเทศ และสภาพตัวเมืองแม่ฮ่องสอน ได้อย่างชัดเจนและสวยงามมาก วัดนี้มีงานเทศกาลประจำปีหลายงาน เช่น ในวันปีใหม่ วันสงกรานต์ โดยเฉพาะในวันออกพรรษาจะมีการตักบาตรดาวดึงส์ หรือตักบาตรเทโวด้วย


วัดจองคำ

อยู่บริเวณสวนสาธารณะหนองจองคำ เป็นวัดเก่าแก่ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2370 โดยช่างฝีมือชาวไทยใหญ่ มีศิลปะแบบต่างๆ ซึ่งเป็นศิลปะแบบไทยใหญ่ที่แปลกและงดงามมาก หลังคาวัดเป็นรูปปราสาท เพราะมีคติว่าปราสาทเป็นของสูง ผู้ที่ประทับอยู่ในปราสาทควรจะเป็นพระมหากษัตริย์หรือตัวแทนพระศาสนา จึงเป็นที่ประดิษฐานของหลวงพ่อโต มีขนาดหน้าตักกว้าง 4.85 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2469 โดยช่างฝีมือชาวพม่า และมีพระพุทธรูปขนาดใหญ่ ซึ่งจำลองมาจากพระศรีศากยมุนีที่วิหารวัดสุทัศน์ ประดิษฐานไว้เป็นพระประธานของวัด เหตุที่เรียกชื่อวัดจองคำ เนื่องจากเสาวัดประดับด้วยทองคำเปลว


วัดจองกลาง

       ตั้งอยู่เคียงข้างกับวัดจองคำ ภายในวิหารมีแท่นบูชาตั้งพระพุทธสิหิงค์จำลอง ปิดทองเหลืองอร่ามไปทั้งองค์ มีสิ่งที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก เช่น ตุ๊กตาแกะสลักด้วยไม้เป็นรูปคนและสัตว์เกี่ยวกับพระเวสสันดรชาดก ฝีมือแกะสลักของช่างชาวพม่า ซึ่งนำมาจากพม่าตั้งแต่ พ.ศ. 2400 นอกจากนี้ทางด้านจิตรกรรม ยังมีภาพวาดบนแผ่นกระจก เรื่องพระเวสสันดรชาดก และภาพประวัติเจ้าชายสิทธัตถะ ตลอดจนภาพแสดงให้เห็นถึง ชีวิตความเป็นอยู่ของคนสมัยนั้นหลายภาพ มีคำบรรยายใต้ภาพเป็นภาษาพม่า และมีบันทึกบอกไว้ว่า เป็นฝีมือของช่างไทยใหญ่จากมัณฑะเลย์


บ่อน้ำร้อนผาบ่อง

       ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลผาบ่อง (เส้นทางหลวงหมายเลข 108 บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 256) อยู่ห่างจากตัวเมือง 11 กิโลเมตร มีบริเวณพื้นที่ 8 ไร่ ได้จัดสถานที่ไว้อย่างสวยงาม และมีห้องอาบน้ำไว้บริการ และในบริเวณใกล้เคียงกันมีร้านอาหารไว้บริการนักท่องเที่ยวด้วย


บ้านห้วยเสือเฒ่า

       เป็นหมู่บ้านกะเหรี่ยงคอยาวที่อยู่ใกล้เมืองมากที่สุด รถยนต์สามารถเข้าถึงจึงมีนักท่องเที่ยวแวะเข้ามาเที่ยวชม กะเหรี่ยงคอยาวที่นี่เป็นจำนวนมาก กะเหรี่ยงคอยาวที่นี่จะมีประมาณ 20 หลังคาเรือน อพยพลี้ภัยสงครามเข้ามา อยู่ที่แม่ฮ่องสอนนานแล้ว ดำรงชีวิตแบบดั้งเดิม ภายในหมู่นักท่องเที่ยวสามารถมาชมวิถีชีวิต และถ่ายรูปกับ กะเหรี่ยงคอยาวไดหากมาในช่วงวันหยุดเสาร์ – อาทิตย์ ยังจะได้พูดคุยและถ่ายรูปกับเด็กๆ ชาวกระเหรี่ยงซึ่งแต่ ละคนหน้าตาน่ารักและช่างเจรจา ซึ่งวันธรรมดาเด็กๆ พวกนี้จะไปโรงเรียน นอกจากนี้บ้านแต่ละ หลังจะมีการนำ ของที่ระลึกมาขายให้กับนักท่องเที่ยวเพื่อเป็นการสร้างรายได้ สินค้าส่วนใหญ่จะเป็นพวกเสื้อผ้าและเครื่องประดับเล็กๆ น้อยราคาไม่แพงมาก


ทุ่งดอกบัวตองดอยแม่อูคอ

       เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งของจังหวัดแม่ฮ่องสอน มีลักษณะเป็นทิวเขาเขียวสูงสลับกับทุ่งดอกบัวตองทั่วพื้นเขา โดยในช่วงเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม ของทุกปี เมื่อลมหนาวเข้ามาเยือนเมืองสามหมอก ดอกบัวตองนับแสนนับล้านที่อยู่ที่นี่ก็จะบานสะพรั่งพร้อมๆ กัน ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกสารทิศให้เข้ามาเยือน และชมความงดงามของท้องทุ่งสีเหลืองอร่าม ที่ดูราวกับว่าทั่วทั้งภูเขาถูกปูด้วยพรมสีเหลืองผืนยักษ์ ถือเป็นหนึ่งในอะเมซิ่งไทยแลนด์ที่ครั้งหนึ่งในชีวิตควรหาโอกาสไปชมให้ได้ ทั้งนี้ จุดที่เป็นที่นิยมในการชมทัศนียภาพอันสวยงามของทุ่งดอกบัวตองก็คือ บนดอยแม่อูคอ เนื่องจากข้างบนนี้สามารถมองเห็นทุ่งดอกบัวตองได้แบบ 360 องศา


วนอุทยานถ้ำปลา

       ตั้งอยู่ที่บ้านห้วยผา ตำบลห้วยผา ห่างจากตัวเมืองประมาณ 17 กิโลเมตร ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1095 (แม่ฮ่องสอน-ปาย) เส้นทางราดยางเรียบร้อย สามารถเดินทางไปชมได้ทุกฤดูกาล บริเวณโดยรอบเป็นลำธารและป่าเขา ถ้ำปลาตั้งอยู่บริเวณเชิงเขามีลักษณะเป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่ กว้างประมาณ 2 เมตร ลึก 1.50 เมตร ภายในแอ่งน้ำมีน้ำไหลออกจากถ้ำใต้ภูเขาอยู่ตลอดเวลา และมีปลาตัวโตๆ อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก เรียกชื่อว่าปลามุงหรือปลาคัง หรือปลาพลวง เป็นปลามีเกล็ดขนาดใหญ่ ในวงศ์เดียวกับปลาคาร์ฟ และถึงแม้จะมีอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ก็ไม่มีใครกล้าทำอันตราย เนื่องจากมีความเชื่อว่าเป็นปลาเจ้า หากใครนำไปรับประทานแล้วจะต้องมีอันเป็นไป ปัจจุบันบริเวณอุทยานถ้ำปลาได้รับการปรับปรุง เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจสำหรับชาวเมือง และนักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมชม


สะพานซูตองเป้

       ตั้งอยู่ที่บ้านกุงไม้สัก อำเภอเมืองฯ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ห่างจากตัวเมืองประมาณ 8 กิโลเมตร มีความกว้าง 2 เมตร ยาวประมาณ 500 เมตร เป็นสะพานไม้ซึ่งกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมอีกแห่งหนึ่ง ซูตองเป้ เป็นภาษาไทใหญ่แปลว่า อธิษฐานสำเร็จ หรือบางคนก็บอกว่าแปลว่า ความสำเร็จ ซึ่งมีความเชื่อกันว่า หากได้มายืนอยู่กลางสะพานแล้วอธิษฐานขอความ ความสำเร็จใดๆ ก็จะพบกับความสมหวัง นับว่าเป็นสะพานไม้ไผ่ที่ยาวที่สุดในประเทศไทย สะพานซูตองเป้ เป็นสะพานที่เกิดจาก ความศรัทธาและการร่วมแรงร่วมใจของพระภิกษุสงฆ์และชาวบ้านกุงไม้สักที่ต่างก็ช่วยกันลงแรงสานพื้นสะพานด้วยไม้ไผ่ทอดยาว ไปบนที่นาของเจ้าของที่อุทิศผืนนาถวาย โดยสร้างเพื่อเชื่อมต่อระหว่างสวนธรรมภูสมะและหมู่บ้านกุงไม้สัก ข้ามผ่านทุ่งนา และแม่น้ำสายเล็กๆ เพื่อให้พระภิกษุสงฆ์และชาวบ้านที่อยู่อีกฝั่งได้ใช้สัญจรไป มาระหว่างหมู่บ้านได้สะดวกยิ่งขึ้น


พระตำหนักปางตอง

       อยู่ในเขตตำบลหมอกจำแป่ สามารถเดินทางไปโดยใช้เส้นทางเดียวกับทางเข้าวนอุทยานผาเสื่อ แต่ต้องเดินทางต่อไปอีก 5 กิโลเมตร ตัวเรือนประทับแรมตั้งอยู่บนยอดเขาสูงที่บ้านปางตอง ในโครงการพัฒนาพื้นที่สูงปางตอง มีทิวทัศน์บริเวณสองข้างทางที่สวยงาม ทางรถยนต์เข้าถึงและสามารถเดินทางไปสู่หมู่บ้านแม้วนาป่าแปก ซึ่งเป็นหมู่บ้านชาวเขาเผ่าแม้ว ที่สุขสงบและน่ารักมากเลย ต่อจากหมู่บ้านแม้วนี้ก็จะสามารถไปถึงหมู่บ้านแม่ออ ซึ่งเป็นหมู่บ้านชายแดนไทย-พม่า และมีกองกำลังกองพล 93 ตั้งอยู่เป็นบริเวณที่สูง อากาศเย็น และมีทิวทัศน์ที่น่าชมยิ่ง


ปางอุ๋ง

       ภาพทิวสนสองใบและสนสามใบเรียงรายตลอดแนวอ่างเก็บน้ำอันกว้างใหญ่กลางอ้อมกอดของขุนเขาเขียวชอุ่มยามเช้า คือมนต์เสน่ห์ของปางอุ๋งที่นำพานักเดินทางเข้ามาเยือนที่นี่อยู่ตลอดทั้งปี ยิ่งในช่วงฤดูหนาวที่มีสายหมอกขาวลอยเหนือผืนน้ำ ยิ่งเพิ่มบรรยากาศโรแมนติกให้กับปางอุ๋ง อย่างไรก็ตาม แต่ก่อนบริเวณนี้เคยเป็นสถานที่ปลูกฝิ่นของชาวเขา จากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชดำริให้รวบรวมราษฎร์บริเวณนั้นพร้อมกับพัฒนาความเป็นอยู่ของพวกเขา ส่งเสริมอาชีพปลูกป่า สร้างอ่างเก็บน้ำ และฟื้นฟูอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้สมบูรณ์ยั่งยืน


บ้านรักไทย

บ้านรักไทย เป็นหมู่บ้านที่อยู่ติดชายแดนไทย-พม่า อยู่บนพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 1,800 เมตร เป็นหมู่บ้านชาวจีนยูนนานที่อพยพมาอยู่ที่ ต.หมอกจำแป่ อ.เมือง แม่ฮ่องสอน ในหมู่บ้านยังคงวัฒนธรรมแบบจีน มีความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย และมีอาหารการกินแบบจีนยูนาน มีบ้านเรือนที่ทำจากดินให้ได้ชม ผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นชื่อของหมู่บ้านนี้จะเป็นชา เช่น ชาชิง ชิง ชาอู่หลง เนื่องจากว่าในบริเวณนี้อากาศหนาวเย็นเกือบตลอดทั้งปี สามารถปลูกชาได้ดี นักท่องเที่ยวนิยมมาเที่ยวบ้านรักไทยในตอนเช้าและมักจะจัดเป็นโปรแกรมถัดจากปางอุ๋ง เนื่องจากสองที่นี้ไม่ไกลจากกันมาก ถ้ามาถึงบ้านรักไทยช่วงที่ไม่สายมากจะมองเห็นหมอกอยู่เหนือทะเลสาบและปกคลุมในหมู่บ้าน คล้ายกับที่ปางอุ๋ง


บ้านรักไทย

บ้านรักไทย เป็นหมู่บ้านที่อยู่ติดชายแดนไทย-พม่า อยู่บนพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 1,800 เมตร เป็นหมู่บ้านชาวจีนยูนนานที่อพยพมาอยู่ที่ ต.หมอกจำแป่ อ.เมือง แม่ฮ่องสอน ในหมู่บ้านยังคงวัฒนธรรมแบบจีน มีความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย และมีอาหารการกินแบบจีนยูนาน มีบ้านเรือนที่ทำจากดินให้ได้ชม ผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นชื่อของหมู่บ้านนี้จะเป็นชา เช่น ชาชิง ชิง ชาอู่หลง เนื่องจากว่าในบริเวณนี้อากาศหนาวเย็นเกือบตลอดทั้งปี สามารถปลูกชาได้ดี นักท่องเที่ยวนิยมมาเที่ยวบ้านรักไทยในตอนเช้าและมักจะจัดเป็นโปรแกรมถัดจากปางอุ๋ง เนื่องจากสองที่นี้ไม่ไกลจากกันมาก ถ้ามาถึงบ้านรักไทยช่วงที่ไม่สายมากจะมองเห็นหมอกอยู่เหนือทะเลสาบและปกคลุมในหมู่บ้าน คล้ายกับที่ปางอุ๋ง

กิจกรรมที่ไม่ควรพลาดเมื่อมาหมู่บ้านรักไทย คือการทานอาหารยูนนาน ในหมู่บ้านจะมีร้านอาหารใหญ่อยู่ 2-3 ร้าน ร้านที่ดังสุดจะเป็นร้านลีไวน์รักไทย หรือถ้ามีเวลาไม่มากจะเปลี่ยนเป็นจิบชาคู่กับหมั่นโถวก็ได้ สถานที่ท่องเที่ยวในหมู่บ้านรักไทย คือ ทะเลสาบ เป็นจุดที่นักท่องเที่ยวนิยมมาถ่ายรูป และไร่ชา