29 มีนาคม 2024

โครงการพิเศษ

 โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ

1.  ความเป็นมา / พระราชดำริ

          มะกอกโอลีฟ (Olea europaea L.)  เป็นพืชยืนต้น  ไม้ผลัดใบ  มีถิ่นกำเนิดในเอเชียไมเนอร์ เป็นพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ได้แก่  อิตาลี  สเปน โปรตุเกส เป็นต้น  มะกอกโอลีฟสามารถเจริญเติบโตได้ดีในหลายสภาพภูมิประเทศ ไม่ว่าจะเป็นดินเลว เขตแห้งแล้ง หรือตามภูเขา  เป็นไม้ยืนต้นที่มีอายุยืน  ระบบรากหยั่งลึก ด้วยคุณสมบัติดังกล่าว  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงสนพระทัยและมีพระราชดำริว่าน่าจะศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการที่นำมะกอกโอลีฟมาปลูกในประเทศไทย

          มะกอกโอลีฟเป็นพืชใหม่สำหรับประเทศไทย ซึ่งโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา ได้สั่งพันธุ์มะกอกโอลีฟมาจากประเทศอิตาลี  เพื่อมาทดลองปลูกในประเทศไทยในหลายพื้นที่พระราชดำริ    “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มีพระราชดำริน่าจะมีการศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการที่จะนำมะกอกโอลีฟมาปลูกในประเทศไทย”  2. การสนองพระราชดำริ / การเข้าร่วมโครงการของกรมวิชาการเกษตร          ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่สูงเพชรบูรณ์  เป็นหนึ่งในพื้นที่ที่ใช้ในการทดสอบ (ซึ่งขณะนั้นมีชื่อเดิมว่า “สถานีเกษตรที่สูงเขาค้อ”) เมื่อวันที่ 3 กันยายน  2540  โดยนำพันธุ์มกิจกรม ศึกษา / ทดสอบผลการดำเนินงาน ปลูก เมื่อวันที่  3 กันยายน  2540  ทดลองปลูกมะกอกโอลีฟ ๓๕๐ ต้น ๒๗ สายพันธุ์ ภายในศูนย์วิจัยเกษตรที่สูงเพชรบูรณ์  มีต้นมะกอกน้ำมันจำนวน 27  พันธุ์ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากประเทศอิตาลี ดูแลรักษา บันทึกการเจริญเติบโต พบว่า  มีความแปรปรวนในการเจริญเติบโต ต้นมะกอกน้ำมันบางต้นเจริญเติบโตดี  แต่บางต้นแคระแกร็น ชะงักการเจริญเติบโต สาเหตุอาจเนื่องมาจากการปลูกในดินที่มีการระบายน้ำไม่ดี ระบายอากาศไม่ดีพอ  สภาพอากาศมีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้นมีผลทำให้ มะกอกน้ำมันไม่มีการติดดอกออกผล และชะงักการเจริญเติบโต กิ่งแห้ง ใบร่วง ข้อสั้น ใบ ซึ่งคาดว่าอาจเกิดจากโรคเหี่ยว ที่เกิดจากเชื้อรา ( Verticillium wilt)  ซึ่งโรคนี้จะเข้าทำลายในขณะที่ดินมีความชื้นสูง ซึ่งอาจเกิดจากเชื้อที่ติดมากับพันธุ์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งพันธุ์มะกอกน้ำมันแต่ละพันธุ์มีความทนทานต่อโรคนี้แตกต่างกัน ปัจจุบันเหลือ 20 ต้น และดำเนินการขยายพันธุ์มะกอกน้ำมันโดยการปักชำเพื่อปลูกทดแทนต่อไป