ทดสอบประสิทธิภาพของราไตรโคเดอร์มาร่วมกับวิธีเขตกรรมเพื่อควบคุมโรคจุดดำในสวนส้มโอ

ทดสอบประสิทธิภาพของราไตรโคเดอร์มาร่วมกับวิธีเขตกรรมเพื่อควบคุมโรคจุดดำในสวนส้มโอ

นางสุธามาศ  ณ น่าน   นายปฏิพัทธ์  ใจปิน1/   นายสนอง จรินทร1/  นางสาวบุญปิยะธิดา  คล่องแคล่ว2/   นายสันติ โยธาราษฎร์3/   

บทคัดย่อ

     การทดสอบประสิทธิภาพของรา Trichoderma harzianum ร่วมกับวิธีเขตกรรมเพื่อควบคุมโรคจุดดำ ของส้มโอดำเนินการทดลองที่สวนเกษตรกรในแหล่งผลิตส้มโอเพื่อการส่งออก อ.เวียงแก่น จ.เชียงราย ระหว่างปี 2558-2559 โดยนำเชื้อรา T. harzianum ที่มีประสิทธิภาพดีในยับยั้งการเจริญของเส้นใยรา Phyllosticta citricarpa สาเหตุโรคจุดดำของส้มโอ เปรียบเทียบกับชีวภัณฑ์การค้าและสารป้องกันกำจัดโรคพืชวางแผนการ ทดลองแบบ RCBD จ านวน 4 ซ้ำ 5 กรรมวิธี ประกอบด้วย T. harzianum T-35, T-KU, ชีวภัณฑ์การค้า#1, สาร azoxystrobin 25% WV/SC และกรรมวิธีที่ 5 พ่นน้ำสะอาด (control) โดยใช้วิธีเขตกรรมร่วมกับแต่ละกรรมวิธี หว่านเชื้อ T.harzianum ที่ผลิตในรูปเชื้อสดตามกรรมวิธีจำนวน 6 ครั้งในเดือน ก.พ.-พ.ค. และพ่นเชื้อให้ต้นส้มโอทดลอง จำนวน 6 ครั้งเดือน มิ.ย.-ส.ค. ส่วนสาร. azoxystrobin พ่นอัตรา 10 มล./น้ำ 20 ล. จำนวน 10 ครั้งห่างกันครั้งละ 20 ผลการทดสอบฤดูการผลิตปีวัน 2558 สวนส้มโอ ต.ม่วงยาย พบว่าสารazoxystrobin ให้ประสิทธิภาพสูงสุดในการควบคุส้โรคโอเป็นโรค 77.5% และในสวนส้มโอ ต.หล่ายงาว การใช้ T-KU ร่วมกับ วิธีเขตกรรม มีประสิทธิภาพควบคุมโรคได้ผลดีที่สุด เกิดโรคเพียง 37.5% รองลงไปคือ การใช้สาร azoxystrobin สามารถควบคุมโรคได้ดีพบส้มโอเป็นโรค 50.0%

     ฤดูการผลิตปี 2559 ปรากฏโรคจุดดำระบาดมากในสวนทดลองที่ ต.ม่วงยาย โดยการใช้เชื้อรา harzianum T-KU ร่วมกับวิธีเขตกรรมพบโรคต่ำสุด 87.5% รองลงไปได้แก่สาร azoxystrobin ร่วมกับวิธีเขต กรรม และ T-35 ร่วมกับวิธีเขตกรรมส้มโอเป็นโรคจุดดำ 90.0 และ

95.0 %ตามลำดับ การใช้เชื้อรา T. harzianum T-35 ร่วมกับวิธีเขตกรรมในสวนส้มโอที่ ต.หล่ายงาว ให้ผลในการควบคุมโรคจุดดำได้ดีที่สุด เกิดโรคต่ำเพียง 32.5% ซึ่งใกล้เคียงกับการใช้ T-KUร่วมกับวิธีเขตกรรมและสาร azoxystrobin ร่วมกับวิธีเขตกรรม ที่พบโรค 62.5 และ

80.0 % ตามลำดับ ในขณะที่การพ่นน้ำ ( control) ทำให้ ส้มโอเกิดโรคสูง ถึง 85.0%

 

—————————————————-

รหัสการทดลอง    01-73-57-01-00-00-02-57                                                   

 1/ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย อ.เมือง จ.เชียงราย    2/ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเชียงราย อ.แม่สรวย จ.เชียงราย

  3/สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1 อ.เมือง จ.เชียงใหม่