ทดสอบพันธุ์ดาหลาที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง

ทดสอบพันธุ์ดาหลาที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง

 

ชญานุช ตรีพันธ์1/  สุมาลี  แก้วศรี1/  บุญชนะ วงศ์ชนะ1/ ศุภลักษณ์ อริยภูชัย1/   

บทคัดย่อ

     การทดสอบพันธุ์ดาลที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง ดำเนินการที่ศูนย์วิจัยพืชสวนตรัง วางแผนการ ทดลองแบบ RCB จำนวน 3 ซ้ำ 9 พันธุ์ ประกอบด้วย พันธุ์ตรัง 1 พันธุ์ตรัง 2 พันธุ์ตรัง 3 พันธุ์ตรัง 4 พันธุ์ ตรัง 5 พันธุ์บัวแดงเล็ก พันธุ์บัวแดงใหญ่ พันธุ์บัวชมพู และพันธุ์ชมพูบ้านแหล พบว่า การเจริญเติบโตทางด้านลำต้น มีความแตกต่างทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์ ในเรื่องการแตกกอ ขนาดกอ และความยาวใบโดยดาหลาพันธุ์ตรัง 3 มีการแตกกอมากที่สุดคือ มีจำนวนต้นเฉลี่ย 31.58 ต้น/กอ มีจำนวนต้นเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 29.67 ต้น/กอ มีอัตราการเพิ่มจำนวนต้นเฉลี่ย 14.83 ต้น/กอ/ปี ดาหลาพันธุ์ตรัง 2 มีขนาดกอสูงสุดเฉลี่ย 4.82 เมตร และดาหลาพันธุ์บัวแดงใหญ่ มีขนาดใบยาวที่สุดเฉลี่ย 53.11 เซนติเมตร ตามลำดับ ส่วนในเรื่องความสูง และความกว้างใบไม่มีความแตกต่างทางสถิติ โดยดาหลาพันธุ์ตรัง 3 มีความสูงเฉลี่ย 185.28 เซนติเมตร มีความ สูงเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 101.28 เซนติเมตร มีอัตราการเพิ่มความสูงเฉลี่ย 50.63 เซนติเมตร/ปี และดาหลาพันธุ์บัวแดง ใหญ่มีขนาดใบกว้างที่สุดเฉลี่ย 14.97 เซนติเมตร ตามลำดับ ในด้านผลผลิต ดาหลาพันธุ์ตรัง 4 มีการให้ผลผลิต เร็วที่สุดคือ 22 เดือนหลังปลูก และมีผลผลิตรวม 7 เดือนสูงสุดเท่ากับ 27.01 ดอก/กอ

 


รหัส02-12-57-05-02-00-01-57

1/ ศูนย์วิจัยพืชสวนตรัง.ไม้ฝาด อ.สิเกา จ.ตรัง 92105