คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร

เวอร์ชั่นเต็ม: การควบคุมแมลงดำหนามมะพร้าว Brontispa longissima Gestro(Coleoptera: Chrysomelidae)
หมายเหตุ ดูเวอร์ชันเต็ม
การควบคุมแมลงดำหนามมะพร้าว Brontispa longissima Gestro(Coleoptera: Chrysomelidae) แบบชีววิธี
เฉลิม สินธุเสก
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          การควบคุมแมลงดำหนามมะพร้าว Bronispa longissima (Coleoptera: Chrysomellidae) เป็นงานวิจัยเร่งด่วนเพื่อแก้ปัญหาการระบาดของแมลงดำหนามมะพร้าวที่เกิดอย่างรุนแรง โดยนำเข้าแตนเบียน Asecodes hispinarum (Hymenoptera: Eulophidae) จากประเทศเวียดนามเข้ามาทดสอบความปลอดภัย ศึกษาวิจัยและพัฒนาเทคนิคการเพาะเลี้ยงแตนเบียน เทคนิคการปล่อยและการประเมินผลการใช้แตนเบียน A. hispinarum ควบคุมแมลงดำหนามมะพร้าวโดยชีววิธีพบว่า หนอนแมลงดำหนามมะพร้าวเจริญเติบโตขยายพันธุ์ได้ดีเมื่อเพาะเลี้ยงที่อุณหภูมิ 26-28 เซลเซียส เมื่อนำแตนเบียน A. hispinarum ซึ่งอยู่ในสภาพ “มัมมี่” ออกปล่อยในพื้นที่ที่พบแมลงดำหนามมะพร้าวระบาดเพื่อประเมินผลการควบคุมในจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และชุมพร ระหว่างเดือนมิถุนายน ถึงเดือนกันยายน 2548 โดยปล่อยแตนเบียน 2-3 ครั้ง พบว่า ใบมะพร้าวมีใบเขียวเป็นปกติอย่างชัดเจน หลังปล่อยแตนเบียน 10 เดือน โดยพบมัมมี่ทุกเดือนหลังปล่อยแตนเบียน 6 เดือน สำหรับพืชอาศัย พบแมลงดำหนามมะพร้าว B. longissima ลงทำลายและเจริญเติบโตครบวงจรชีวิตในพืชอื่น ๆ อีก 4 ชนิดได้แก่ หมาก เต่าร้าง จาก และกกธูปฤาษี ในโครงการยังดำเนินการเผยแพร่ข้อมูลและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยง การปล่อย และการประเมินผลการควบคุมให้นักวิชาการและนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น เอกชน และผู้เกี่ยวข้องทุกระดับ