คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร

เวอร์ชั่นเต็ม: การทดสอบความเป็นพิษของสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชชนิดต่างๆ ที่มีต่อไรตัวห้ำ
หมายเหตุ ดูเวอร์ชันเต็ม
การทดสอบความเป็นพิษของสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชชนิดต่างๆ ที่มีต่อไรตัวห้ำ
มานิตา คงชื่นสิน, เทวินทร์ กุลปิยะวัฒน์, พิเชฐ เชาวน์วัฒนวงศ์ และพลอยชมพู กรวิภาสเรือง
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          สารที่จัดว่าปลอดภัยกับไรตัวห้ำทำให้ไรตัวห้ำตาย <30% หลังได้รับสารฯ มี 16 ชนิด ได้แก่ betacyfluthrin (โพลิเทค 2.5%EC), imidacloprid (คอนฟิดอร์ 10%SL), imidacloprid (โพรวาโด 70%WG), lufennuron (แมทซ์ 050 อีซี 5%EC), cypermethrin+phosalone (พาร์ซอน 28.75%EC), malathion (มาลาน็อค 57 57%EC), petroleum oil (เอส เค เอ็นสเปรย์ 99 99%EC), buprofezin (นาปาล์ม เอสซี 40%SC), clothioanidin (แดนท๊อซ 16%SG), triafloxystrobin (ฟลิ้นท์ 50%WG), lambda-cyhalothrin (คาราเต้ 2.5%CS), fenbutain oxide (ทอร์ค 55%SC), tetradifon (ไรดริน 7.52%EC), spiromesifen (โอเบรอน 24%SC), fenazaquin (โทเทม 20%SC) และ emamectin benzoate (โปรเคลม 1.92%EC)

          สารที่มีพิษเล็กน้อยทำให้ไรตัวห้ำตาย 30 - 79 % หลังได้รับสารฯ มี 8 ชนิด ได้แก่ methomyl (แลนเนท 40%SP), carbosulfan (พอสส์ 20%EC), diafenthiuron (ปิกาซัส 250 เอสซี 25%SC), carbaryl (เอส-85 85 %WP), fipronil (แอสเซนด์ 5%SC), pyridaben (แซนไมท์ 20%WP), propargite (โอไมท์ 30%WP) และ chlorpyrifos (เดอร์สแบน 40 EC 40%EC)

          สารที่มีพิษปานกลางทำให้ไรตัวห้ำตาย 80 – 99% หลังได้รับสารฯ มี 1 ชนิด ได้แก่ abamectin (อะบาเมคติน 1.8%EC )

          สารที่มีพิษร้ายแรงทำให้ไรตัวห้ำตาย >99% หลังได้รับสาร มี 4 ชนิด ได้แก่ sulfur (คูมูลัส ดี เอฟ 80%WG), mancozep (เพนโคเซบ 80%WP), amitraz (ไมแทค 20%EC) และ prothiofos (โตกุไธออน 50%EC)