คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร

เวอร์ชั่นเต็ม: การศึกษาชนิดราไมโคไรซากล้วยไม้ใกล้สูญพันธุ์และใช้ประโยชน์ราในการเพาะเมล็ดกล้วยไม้
หมายเหตุ ดูเวอร์ชันเต็ม
การศึกษาชนิดราไมโคไรซากล้วยไม้ใกล้สูญพันธุ์และการใช้ประโยชน์ราในการเพาะเมล็ดกล้วยไม้
พรพิมล อธิปัญญาคม, ชนินทร ดวงสอาด, สุภาภรณ  สาชาติ และจงวัฒนา พุ่มหิรัญ
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และสถาบันวิจัยพืชสวน

ผลจากการแยกราจากรากกล้วยไม้ 5 ชนิด โดยแยกราจากเส้นใยที่เจริญอยู่ในชั้นคอร์เท็กซ์ของรากกล้วยไม้ ได้ราทั้งหมด 13 สายพันธุ์ ดังนี้ กล้วยไม้รองเท้านารีฝาหอย จากจังหวัดกระบี่ แยกได้รา 4 ไอโซเลท โคโลนีบนอาหาร PDA สีขาว เจริญในอาหาร มีบางส่วนเจริญเหนือวุ้นอาหารเกิดเป็นวงเรียงซ้อนกัน (concentric zonation) กล้วยไม้รองเท้านารีเหลืองกระบี่ จากจังหวัดกระบี่ แยกได้รา 4 ไอโซเลท โคโลนีบนอาหาร PDA สีขาว ในอาหาร มีบางส่วนเจริญเหนือวุ้นอาหาร เกิดเป็นวงเรียงซ้อนกัน กล้วยไม้ cymbidium จากจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 3 ชนิด ได้ราไมคอร์ไรซาได้ 5 ไอโซเลท ศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาของเชื้อ และเลี้ยงราไมคอร์ไรซาให้บริสุทธิ์ เก็บรักษาราไมคอร์ไรซาบน slant PDA เก็บไว้ที่อุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส และเก็บไว้ใน glycerol ที่อุณหภูมิ -40 องศาเซลเซียส