คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร

เวอร์ชั่นเต็ม: ศักยภาพของไส้เดือนฝอยศัตรูแมลงในการควบคุมเพลี้ยแป้ง Dysmicoccus sp.
หมายเหตุ ดูเวอร์ชันเต็ม
ศักยภาพของไส้เดือนฝอยศัตรูแมลงในการควบคุมเพลี้ยแป้ง Dysmicoccus sp.
สุวิมล วงศ์พลัง และวิไลวรรณ เวชยันต์
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          การทดสอบศักยภาพของไส้เดือนฝอยศัตรูแมลงในการควบคุมเพลี้ยแป้ง Dysmicoccus sp. ดำเนินการทดลองในห้องปฏิบัติการกลุ่มงานวิจัยการปราบศัตรูพืชทางชีวภาพ กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช ระหว่างเดือนตุลาคม 2559 ถึงมีนาคม 2561 วางแผนการทดลองแบบ RCB จ านวน 4 ซ้ำ โดยการทดสอบกับเพลี้ยแป้งระยะ crawler วัย 2 และวัย 3 มี 10 กรรมวิธี ได้แก่ ไส้เดือนฝอยศัตรู แมลง Steinernema carpocapsae, Steinernema riobrave และ Steinernema glaseri อัตรา 400, 500 และ 600 IJs/น้ำ 0.4 มล./เพลี้ยแป้ง 1 ตัว ส่วนการทดสอบกับเพลี้ยแป้งระยะตัวเต็มวัยเพศเมีย มี 13 กรรมวิธี ได้แก่ Steinernema carpocapsae, Steinernema riobrave และ Steinernema glaseri อัตรา 200, 400, 500 และ 600 IJs/น้ำ 0.4 มล./เพลี้ยแป้ง 1 ตัว และกรรมวิธีควบคุม ผลการทดลองพบว่า ไส้เดือนฝอย S. carpocapsae และ S. riobrave อัตรา 500 และ 600 IJs/เพลี้ยแป้ง 1 ตัว มีประสิทธิภาพในควบคุมเพลี้ยแป้ง Dysmicoccus sp. วัย 3 และระยะตัวเต็มวัยเพศเมียได้ดีที่สุด โดยที่วัย 3 มีอัตราการตาย 57.50 - 80.00 เปอร์เซ็นต์ และ 50.00 - 70.00 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ส่วนไส้เดือนฝอย S. glaseri อัตรา 500 และ 600 IJs/เพลี้ยแป้ง 1 ตัว มีประสิทธิภาพทำให้เพลี้ยแป้งระยะตัวเต็มวัยเพศเมียตาย 50.00 และ 60.00 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ มากกว่าและแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับกรรมวิธีควบคุม