คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร

เวอร์ชั่นเต็ม: การใช้มวนเพชฌฆาตควบคุมหนอนเจาะฝักข้าวโพดในข้าวโพดหวาน
หมายเหตุ ดูเวอร์ชันเต็ม
การใช้มวนเพชฌฆาตควบคุมหนอนเจาะฝักข้าวโพดในข้าวโพดหวาน
สาทิพย์ มาลี, รจนา ไวยเจริญ, ประภัสสร เชยคำแหง และพัชรีวรรณ จงจิตเมตต์
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          การใช้มวนเพชฌฆาตควบคุมหนอนเจาะฝักข้าวโพดในข้าวโพดหวาน ดำเนินการระหว่างตุลาคม 2558 - กันยายน 2560 ในปี 2559 ดำเนินการสำรวจพบการระบาดของหนอนเจาะฝักข้าวโพดในแปลงเกษตรกรในจังหวัดชลบุรี และดำเนินการทดสอบอัตราการปล่อยมวนเพชฌฆาตที่เหมาะสมในการควบคุมหนอนเจาะฝักข้าวโพด ในแปลงข้าวโพดหวานในจังหวัดชลบุรี ผลการทดลองพบว่า กรรมวิธีปล่อยมวนเพชฌฆาตอัตรา 1 2 และ 3 ตัวต่อต้น มีเปอร์เซ็นต์ฝักที่ถูกหนอนเจาะฝักข้าวโพดทำลายในระดับต่ำใกล้เคียงกัน ระหว่าง 1.61 - 4.39% ส่วนกรรมวิธีไม่ควบคุมมีเปอร์เซ็นต์ฝักที่ถูกหนอนเจาะฝักข้าวโพดทำลายสูงถึง 14.97% ในปี 2560 ดำเนินการทำแปลงทดสอบการใช้มวนเพชฌฆาตอัตรา 1 ตัว/ต้น ซึ่งเป็นอัตราการปล่อยที่ได้จากการทดลองในปี 2559 เปรียบเทียบกับพ่นด้วยสารฆ่าแมลง ฟิโปรนิล 5%SC อัตรา 20 มล./น้ำ 20 ลิตร ในการควบคุมหนอนเจาะฝักข้าวโพดในแปลงข้าวโพดหวานในจังหวัดชลบุรี โดยผลการทดลองพบว่า กรรมวิธีปล่อยมวนเพชฌฆาตอัตรา 1 ตัว/ต้น และกรรมวิธีพ่นสารฆ่าแมลง ฟิโปรนิล 5%SC อัตรา 20 มล./น้ำ 20 ลิตร มีเปอร์เซ็นต์ฝักที่ถูกหนอนเจาะฝักข้าวโพดทำลายในระดับต่ำใกล้เคียงกัน ระหว่าง 1.61 - 4.39% ส่วนกรรมวิธีไม่ควบคุมมีเปอร์เซ็นต์ฝักที่ถูกหนอนเจาะฝักข้าวโพดทำลายสูงถึง 14.97%