คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร

เวอร์ชั่นเต็ม: การใช้ดีเอ็นเอบาร์โค้ดเพื่อจำแนกชนิดแมงมุมแม่ม่ายสกุล Latrodectus ในประเทศไทย
หมายเหตุ ดูเวอร์ชันเต็ม
การใช้ดีเอ็นเอบาร์โค้ดเพื่อจำแนกชนิดแมงมุมแม่ม่ายสกุล Latrodectus ในประเทศไทย
วิมลวรรณ โชติวงศ์, คมสัน หงภัทรคีรี และพิเชฐ เชาวน์วัฒนวงศ์
สำนักวิจัยและพัฒนาการอารักขาพืช

        การสำรวจและเก็บรวบรวมตัวอย่างแมงมุมในสกุล Latrodectus ของประเทศไทย 12 จังหวัด เริ่มต้นเดือนตุลาคม 2559 สิ้นสุดกันยายน 2562 จากนั้นนำตัวอย่างมาศึกษาลักษณะอนุกรมวิธานและจำแนกชนิดในห้องปฏิบัติการ โดยการใช้ลักษณะทางอนุกรมวิธานที่สำคัญในการจำแนกชนิด เช่น การจัดเรียงตัวของตา ลักษณะของส่วนหัวและอก ลักษณะรูปร่างและลวดลายบนส่วนหลัง ความยาวของขาและลักษณะปล้องสุดท้ายของขาคู่ที่ 4 ลักษณะของอวัยวะสืบพันธุ์เพศผู้ลักษณะของอวัยวะสืบพันธุ์เพศเมีย ผลจากการศึกษาพบแมงมุมแม่ม่ายสกุล Latrodectus 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแมงมุมแม่ม่ายสีน้ำตาล Latrodectus geometricus C. L. Koch, 1841 และกลุ่มแมงมุมแม่ม่ายหลังเพลิง L. elegans Thorell, 1898