คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร

เวอร์ชั่นเต็ม: การใช้แมลงช้างปีกใส Plesiochrysa ramburi ในการควบคุมเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังในสภาพไร่
หมายเหตุ ดูเวอร์ชันเต็ม
การใช้แมลงช้างปีกใส Plesiochrysa ramburi ในการควบคุมเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังในสภาพไร่
ประภัสสร เชยคำแหง, รจนา ไวยเจริญ, อัมพร วิโนทัย และสุเทพ สหายา
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

         ในปี 2554 ได้ดำเนินการทดลองเริ่มสำรวจเก็บรวบรวมตัวอย่างเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังและศัตรูธรรมชาติของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังพบว่า มีแมลงศัตรูธรรมชาติที่สำคัญหลายชนิด ได้แก่ ด้วงเต่าที่พบ 4 ชนิด คือ ด้วงเต่า Brumoides sp. ด้วงเต่า Nephus sp. ด้วงเต่าสีส้ม Micraspis discolor ด้วงเต่าลายหยัก Chilomenes sexmaculata แมลงช้างปีกใส Plesiochrysa ramburi แตนเบียนไม่ทราบชนิด 2 ชนิด และหนอนผีเสื้อกินเพลี้ยแป้ง 1 ชนิด จากผลการทดลองใช้ตัวอ่อนแมลงช้างปีกใส P.ramburi ปล่อยบนต้นมันสำปะหลังที่เริ่มพบการระบาดของเพลี้ยแป้งพบว่า ปล่อยในอัตรา 4-5 ตัว/ต้น จำนวน 2 ครั้ง สามารถควบคุมการระบาดได้และคงอยู่ได้ 2 เดือนในแหล่งที่มีการระบาด และในปี 2555 เริ่มทำแปลงทดลองที่ศูนย์วิจัยข้าวโพดข้าวฟ่างแห่งชาติ (ไร่สุวรรณ) อ.ปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ในสภาพไร่ต่อไป