คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร

เวอร์ชั่นเต็ม: ศึกษาการใช้สารสกัดจากธรรมชาติในการควบคุมเพลี้ยแป้งน้อยหน่าในเขตพื้นที่จ.นครราชสีมา
หมายเหตุ ดูเวอร์ชันเต็ม
ศึกษาการใช้สารสกัดจากธรรมชาติในการควบคุมเพลี้ยแป้งน้อยหน่าในเขตพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา
พวงผกา อ่างมณี, สุเทพ สหายา, เสาวนิตย์ โพธิ์พูนศักดิ์ และชมัยพร บัวมาศ
กลุ่มบริหารศัตรูพืช และกลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

การศึกษาการใช้สารสกัดจากธรรมชาติในการควบคุมเพลี้ยแป้งน้อยหน่าในเขตพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา มีวัตถุประสงค์เพื่อหาชนิดและอัตราสารที่เหมาะสมในการป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งในน้อยหน่า ทำการทดลองที่แปลงเกษตรกร อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ระหว่างเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม 2553 จำนวน 1 การทดลอง วางแผนการทดลองแบบ RCB 4 ซ้ำ 8 กรรมวิธี ได้แก่ การพ่นสาร petroleum spray oil (SK Enspray 99 83.9%EC), white oil (Vite oil 67%EC), buprofezin (Napam 40%SC) + petroleum spray oil (SK Enspray 99 83.9%EC), buprofezin (Napam 40%SC), clothianidin (Dantosu 16%SG) และ thiamethoxam (Actara 25%WG) อัตรา 100, 100 , 40+50, 40, 10 และ 2 กรัมหรือมิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร การพ่น Beauveria bassiasna อัตรา 100 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร และกรรมวิธีไม่พ่นสาร พ่นสารตามกรรมวิธี 2 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน ตรวจนับเพลี้ยแป้งทั้งระยะตัวอ่อนและตัวเต็มวัยบนผลก่อนพ่นสาร และหลังพ่นสาร 3, 5 และ 7 วัน โดยสุ่มนับผลน้อยหน่าจำนวน 10 ผล/ต้น ให้กระจายทั่วทั้งต้น ตรวจนับเพลี้ยแป้งทั่วทั้งผลพบว่า การพ่นสาร petroleum spray oil (SK Enspray99 83.9%EC), white oil (Vite oil 67%EC), buprofezin (Napam 40%SC) + petroleum spray oil (SK Enspray99 83.9%EC), buprofezin (Napam 40%SC), clothianidin (Dantosu 16%SG) และ thiamethoxam (Actara 25%WG) มีประสิทธิภาพดีในการป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้ง การพ่น Beauveria bassiasna มีประสิทธิภาพปานกลางในการป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้ง และทุกกรรมวิธีที่พ่นสารไม่ก่อความเป็นพิษกับต้นและผลน้อยหน่า