คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร

เวอร์ชั่นเต็ม: วิจัยและพัฒนาวิธีกำจัดแมลงด้วยความร้อนสำหรับกำจัดแมลงวันทองในผลลำไยเพื่อการส่งออก
หมายเหตุ ดูเวอร์ชันเต็ม
วิจัยและพัฒนาวิธีกำจัดแมลงด้วยความร้อนสำหรับกำจัดแมลงวันทองในผลลำไยเพื่อการส่งออก
ชัยณรัตน์ สนศิริ, สลักจิต พานคำ, มลนิภา ศรีมาตรภิรมย์, อุดร อุณหวุฒิ และรัชฎา อินทรกำแหง
กลุ่มวิจัยการกักกันพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช, ผู้เชี่ยวชาญ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          ศึกษาวิธีการกำจัดแมลงด้วยความร้อนเพื่อกำจัดแมลงวันผลไม้ oriental fruit fly, Bactrocera dorsalis (Hendel) ในลำไย (Dimocarpus longan L.) โดยศึกษาความทนทานต่อความร้อนของแมลงวันผลไม้ระยะไข่ (อายุ 24 ชั่วโมง) ภายในผลลำไยด้วยวิธีการอบไอน้ำ (Vapor Heat Treatment, VHT) เพื่อหาระยะเวลาที่สามารถกำจัดไขํของแมลงวันผลไม้ให้ตายทั้งหมด การทดลองที่ 1 เมื่ออบลำไยโดยให้อุณหภูมิภายในผลสุดของลำไยเพิ่มขึ้นถึง 46 องศาเซลเซียส และคงความร้อนภายในผลลำไยไว้ที่อุณหภูมิ 46 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลานาน 20, 30, 40, 50 และ 60 นาที ตามลำดับ โดยใช้ความชื้นสัมพัทธ์มากกวำ 90 เปอร์เซ็นต์ พบวำ แมลงวันผลไม้มีอัตราการตายเทำกับ 86.75, 99.09, 99.89, 100.00 และ 100.00 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ในระยะเวลาที่ 50 และ 60 นาที สามารถกำจัดแมลงวันผลไม้ในระยะไขํได้ทั้งหมด โดยมีอัตราการตายเทำกับ 100.00 เปอร์เซ็นต์ การทดลองที่ 2 เมื่ออบลำไยโดยให้อุณหภูมิภายในผลสุดของลำไยเพิ่มขึ้นถึง 46 องศาเซลเซียส และคงความร้อนภายในผลลำไยไว้ที่อุณหภูมิ 46 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลานาน 45, 50 และ 55 นาที ตามลำดับ โดยใช้ความชื้นสัมพัทธ์มากกวำ 90 เปอร์เซ็นต์ พบวำแมลงวันผลไม้มีอัตราการตายเทำกับ 100.00, 100.00 และ 100.00 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ โดยทั้ง 2 การทดลองสามารถกำจัดไขํของแมลงวันผลไม้ให้ตายทั้งหมดได้อยำงน้อย 3,000 ตัว ซึ่งได้มาตรฐานตามวิธีกำจัดแมลงทางด้านกักกันพืช

         การยืนยันประสิทธิภาพของวิธีอบไอน้ำเป็นวิธีการกำจัดศัตรูพืชด้านกักกันพืชสำหรับกำจัดแมลงวันผลไม้ในผลลำไย การทดลองที่ 1 การประเมินประสิทธิภาพการกำจัดแมลง เตรียมลำไยทดลองให้มีแมลงวันผลไม้ระยะไข่อยูํภายในผล 2 วิธี คือ วิธีใสํไขํแมลงในผลลำไย และวิธีให้แมลงวางไขํบนผลลำไย นำลำไยเข้าเครื่องตู้อบความร้อนเพื่อประเมินประสิทธิภาพของกระบวนการอบไอน้ำที่อุณหภูมิ 46 องศาเซลเซียส นาน 50 นาที เพื่อกำจัดแมลงวันผลไม้ระยะไขํ จำนวนไมํน้อยกวำ 30,000 ตัว ในผลลำไยให้ตายทั้งหมด เพื่อการยอมรับเป็นวิธีการกำจัดศัตรูพืชด้านกักกันพืช จากการทดลองพบวำ ลำไยที่ไมํผำนความร้อนจำนวน 4,800 และ 2,400 ผล ทั้ง 2 วิธี มีจำนวนแมลงรอดชีวิตจำนวน 8,838 และ 85 ตัว ซึ่งลำไยที่ผำนความร้อนจำนวน 7,200 และ 3,600 ผล ไมํพบแมลงรอดชีวิต การทดลองที่ 2 การประเมินความเสียหายตํอคุณภาพผลลำไย ประเมินความเสียหายของกระบวนการอบไอน้ำตํอคุณภาพผลลำไยในสภาพการจำลองการสํงออกลำไยทางเครื่องบิน และทางเรือ อบลำไยที่อุณหภูมิ 46 องศาเซลเซียส นาน 50 นาที เพื่อศึกษาการสูญเสียน้ำหนัก และปริมาณน้ำตาลของลำไยที่ผำนความร้อน และไมํผำนความร้อน เมื่อเก็บไว้ในห้องควบคุมอุณหภูมิที่ 10 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลานาน 7 และ 14 วัน พบวำ การสูญเสียน้ำหนักและปริมาณน้ำตาลของลำไยไมํเปลี่ยนแปลง แตํสีผิวเปลือกของผลลำไยจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม ผลลำไยมีลักษณะแห้ง และแข็ง