คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร

เวอร์ชั่นเต็ม: วิจัยและพัฒนาการจัดการโรคมะเม่า
หมายเหตุ ดูเวอร์ชันเต็ม
วิจัยและพัฒนาการจัดการโรคมะเม่า
พรพิมล อธิปัญญาคม, ชนินทร ดวงสะอาด และสุณีรัตน์ สีมะเดื่อ
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

           จากการสำรวจโรคมะเม่าในปี 2554 - 2555 พบโรคใบจุด ราดำ อาการเปลือกแตกยางไหล และอาการต้นโทรม อาการเปลือกแตกยางไหลแยกและจำแนกชนิดได้ รา Lasiodiplodia theobromae อาการโคนต้นมะเม่าที่แสดงอาการเหี่ยวบนต้น โดยวิธี Tissue transplanting บนอาหาร PDA และ selective media: RNV พบรา 4 ชนิด ได้แก่ Lasiodiplodia theobromae ราอีก 3 ชนิด ยังไม่สร้างสปอร์ และการแยกเชื้อบนอาหาร RNV ไม่พบรา Phytophthora อาการต้นโทรม ใบเหลือง แยกเชื้อสาเหตุได้เชื้อ 3 ชนิด ได้แก่ ราลักษณะเส้นใยหยาบสีขาว ไม่สร้างสปอร์ Lasiodiplodia theobromae และ Fusarium เชื้อที่แยกได้นี้จะต้องนำมาทดสอบการเกิดโรคต่อไป เก็บเชื้อที่แยกได้ไว้ที่อุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร