คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร

เวอร์ชั่นเต็ม: การศึกษาประสิทธิภาพของสารป้องกันกำจัดโรคล้าต้นแผลจุดสีน้ำาตาลและผลเน่าของแก้วมังกร
หมายเหตุ ดูเวอร์ชันเต็ม
การศึกษาประสิทธิภาพของสารป้องกันกำจัดโรคล้าต้นแผลจุดสีน้ำาตาลและผลเน่าของแก้วมังกร
พรพิมล อธิปัญญาคม, ชนินทร ดวงสอาด, สุณีรัตน์ สีมะเดื่อ, ณิชกานต์ นเรวุฒิกุล และสมชาย ฉันทวิริยะพูน
กลุ่มวิจัยโรคพืช และกลุ่มบริหารศัตรูพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6

          จากการทดลองสารป้องกันกำจัดโรคพืชควบคุมโรคลำต้นจุดของแก้วมังกร ในปี 2555 ที่อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี หลังจากการพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชทุก 15 วัน จำนวน 6 ครั้ง พบว่าสารป้องกันกำจัดโรคพืช prochoraz ควบคุมโรคได้มากที่สุด มีเปอร์เซ็นต์การเกิดโรคเท่ากับ 50.00% รองลงมาได้แก่ azoxystrobin และ carbendazim ซึ่งมีเปอร์เซ็นต์ การเกิดโรคเท่ากับ 60.00% และ 70.04% เมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีควบคุมโดยการพ่นด้วยน้ำ มีเปอร์เซ็นต์การเกิดโรคเท่ากับ 80.54% ในขณะที่การทดลองสารป้องกันกำจัดโรคพืชควบคุมโรคลำต้นจุดของแก้วมังกร ที่อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี หลังจากการพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชทุก 15 วัน จำนวน 6 ครั้ง พบว่าสารป้องกันกำจัดโรคพืช prochoraz ควบคุมโรคได้มากที่สุด มีเปอร์เซ็นต์การเกิดโรคเท่ากับ 20.12% รองลงมาได้แก่ carbendazim และ mancozeb ซึ่งมีเปอร์เซ็นต์การเกิดโรคเท่ากับ 20.30% และ 20.36% เมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีควบคุมโดยการพ่นด้วยน้ำ มีเปอร์เซ็นต์การเกิดโรคเท่ากับ 60.96% สรุปว่าพบว่าสารป้องกันกำจัดโรคพืช prochoraz สามารถควบคุมโรคได้ดีที่สุดทั้ง 2 แปลง