คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร

เวอร์ชั่นเต็ม: การใช้และอนุรักษ์ไรตัวห้ำ A. cinctus เพื่อควบคุมไรแมงมุมเทียมกล้วยไม้ T. pacificus
หมายเหตุ ดูเวอร์ชันเต็ม
การใช้และอนุรักษ์ไรตัวห้ำ Amblyseius cinctus เพื่อควบคุมไรแมงมุมเทียมกล้วยไม้ Tenuipalpus pacificus
มานิตา คงชื่นสิน, พิเชฐ เชาวน์วัฒนวงศ์, พลอยชมพู กรวิภาสเรือง และวิมลวรรณ โชติวิวงศ์
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          การศึกษาเทคนิคการเพาะเลี้ยงไรตัวห้ำ A. cinctus ให้เป็นปริมาณมากโดยใช้ไรขาวพริก ไรแมงมุมเทียมกล้วยไม้ เกสรตีนตุ๊กแก และเกสรธูปฤาษีเป็นอาหารพบว่า สามารถขยายพันธุไรตัวห้ำ A.cinctus ได้ดี ด้วยการใช้ไรขาวพริกเป็นเหยื่อและให้เกสรธูปฤาษีเป็นอาหารเมื่อขาดแคลนไรขาวพริก การทดสอบประสิทธิภาพของไรตัวห้ำ A. cinctus ในการกินไรแมงมุมเทียมกล้วยไม้ในห้องปฏิบัติการพบว่า ไรตัวห้ำกินไรแมงมุมเทียมกล้วยไม้ได้เฉลี่ยวันละ 14.75 ตัว วางไข่ได้เฉลี่ยวันละ 1.3 ฟอง การทดสอบประสิทธิภาพของไรตัวห้ำ A.cinctus ในการควบคุมไรแมงมุมเทียมกล้วยไม้ในเรือนทดลอง ผลการทดลองหลังทำการปล่อยไรตัวห้ำ และพ่นสารฆ่าไรบนกรรมวิธีต่างๆ พบว่า กรรมวิธีควบคุมไรโดยปล่อยไรตัวห้ำ 2, 5 ตัวต่อต้น และกรรมวิธีพ่นสารฆ่าไรสามารถควบคุมไรแมงมุมเทียมกล้วยไม้ได้เฉลี่ย 64.8, 75.6 และ 88.4 เปอรเซ็นต์ ตามลำดับ จึงสรุปได้ว่า การปล่อยไรตัวห้ำ A. cinctus จำนวน 2-5 ตัวต่อตน แม้ว่าไม่สามารถควบคุมไรแมงมุมเทียมกล้วยไม้ได้ดีเทียบเท่ากรรมวิธีการใช้สารฆ่าไร แต่มีแนวโน้มว่าสามารถควบคุมไรแมงมุมเทียมกล้วยไม้ได้ จึงวางแผนทำการทดสอบต่อไปในปี 2555