คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร

เวอร์ชั่นเต็ม: การผลิตและการใช้ไ รตัวห้ำ, Amblyseius spp. ควบคุมเพลี้ยไฟ
หมายเหตุ ดูเวอร์ชันเต็ม
การผลิตและการใช้ไ รตัวห้ำ, Amblyseius spp. ควบคุมเพลี้ยไฟ
มานิตา คงชื่นสิน, พิเเชฐ เชาวนวัฒนวงศ์, พลอยชมพู กรวิภาสเรือง และวิมิมลวรรณ โชติวิวงศ์
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          ทำการศึกษาการผลิตและการใช้ไรตัวห้ำ Amblyseius californicus เพื่อใช้ควบคุมเพลี้ยไฟ ทำการทดลองในห้องปฏิบัติการกลุ่มงานวิจัยไรและแมงมุม กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และที่แปลงเกษตรกร อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ระหว่างเดือนตุลาคม 2553 – กันยายน 2554 วงจรชีวิตของไรตัวห้ำ A.californicus เมื่อทดลองให้ กินเพลี้ยไฟ Scirtothrip dorsalis เป็นอาหารพบว่า ไรตัวห้ำมีระยะการเจริญเติบโต รวม 5 ระยะ ได้ แก่ ไข่ ตัวอ่อนระยะที่ 1, 2 และ 3 และตัวเต็มวัย ใช้ เวลานานประมาณ 4 วัน ตัวเต็มวัยมีอายุขัยประมาณ 25 วัน สามารถกินเพลี้ยไฟระยะตัวอ่อนได้ วันละประมาณ 10 ตัว วางไข่ได้วันละ 1-2 ฟอง ส่วนการศึกษาวิธีการขยายพันธุ์ไรตัวห้ำ A.californicus เป็นปริมาณมาก พบว่าเพาะเลี้ยงได้ โดยใช้ ไรแดง หม่อนเป็นอาหารบนต้นถั่วพุ่มที่เพาะปลูกในโรงเรือน ใช้เวลาการผลิตนานประมาณ 5 สัปดาห์ต่อรอบการผลิต สามารถผลิตไรตัวห้ำได้ ประมาณ 6-7 เท่าจากปริมาณไรตัวห้ำพ่อแม่พันธุ์ที่เริ่มต้น สำหรับการทดสอบปล่อยไรตัวห้ำ A.californicus เพื่อควบคุมเพลี้ยไฟในสภาพแปลงปลูกของเกษตรกรเปรียบเทียบกับแปลงพ่นสารฆ่าแมลง imidacloprid 10 %SL อัตรา 10-20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ผลการทดลองพบว่า การใช้ ไรตัวห้ำ A.californicus ไม่สามารถควบคุมการระบาดของเพลี้ยไฟ S.dorsalis ที่ทำลายบนกุหลาบได้ ส่วนไรตัวห้ำ A.swirskii ที่มีการวางแผนนำเข าจากต่างประเทศ ไม่สามารถดำเนินการนำเข ามาในประเทศไทยได้ ดังนั้นการวิจัยนี้จึงขอสิ้นสุดการทดลองในปี 2554