คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร

เวอร์ชั่นเต็ม: ความหลากชนิดของมดในพื้นที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรตากและป่าธรรมชาติของจังหวัดตาก
หมายเหตุ ดูเวอร์ชันเต็ม
ความหลากชนิดของมดในพื้นที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรตากและป่าธรรมชาติของจังหวัดตาก
ชมัยพร บัวมาศ, ชลิดา อุณหวุฒิ และลักขณา บำรุงศรี
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

การศึกษาความหลากชนิดของมดในพื้นที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรตากและป่าธรรมชาติของจังหวัดตาก ดำเนินการระหว่างเดือนตุลาคม 2553 ถึงเดือนกันยายน 2554 เพื่อทราบชนิด ความสัมพันธ์ของกิจกรรมทางการเกษตรที่มีผลต่อชนิดมด และเป็นข้อมูลในการประเมินสถานภาพของมดที่สัมพันธ์กับกิจกรรมทางการเกษตร และนำไปสู่การวางแผนแนวทางการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อการจัดการพื้นที่เกษตรอย่างยั่งยืนในพื้นที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรตาก ซึ่งได้เก็บรวบรวมตัวอย่างจากแหล่งปลูกพืชต่างๆ ได้แก่ แปลงชา กาแฟ อะโวกาโด และแม็คคาเดเมีย นำตัวอย่างมดที่รวบรวมได้มาจัดรูปร่าง ตรวจจำแนกชนิดตามหลักอนุกรมวิธาน ณ ห้องปฏิบัติการ กลุ่มงานอนุกรมวิธานแมลง กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช จากการตรวจจำแนกชนิด พบมดจำนวน 10 ชนิด คือ มดคันไฟ; Fire ant: Solenopsis geminata Fabricius มดโล่บ้าน; Meranoplus bicolor Guérin-Méneville, มดน้ำผึ้ง; Anoplolepis gracilipes Fr.Smith, มดเหม็น; Tapinoma melanocephalum Fabricius , มดแดง; Weaver ant: Oecophylla smaragdina Fabricius, มดก้นห้อย: Dolichoderus thoracicus Fr.Smith มดคัน; Pheidole sp 1 มดคัน; Pheidole sp 2 มดคัน; Pheidole sp 3 มดดำทุ่ง; Iridomyrmex anceps (Roger) การศึกษานี้ยังไม่สิ้นสุดจะต้องดำเนินการต่อไปในปี 2555