คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร

เวอร์ชั่นเต็ม: ระยะปลูกที่เหมาะสมของแปลงผลิตพันธุ์จากการชำข้อตาเพื่อเป็นท่อนพันธุ์ในฤดูปลูกข้ามแล้ง
หมายเหตุ ดูเวอร์ชันเต็ม
ระยะปลูกที่เหมาะสมของแปลงผลิตพันธุ์จากการชำข้อตาเพื่อเป็นท่อนพันธุ์ในฤดูปลูกข้ามแล้ง
ภาคภูมิ ถิ่นคำ และทักษิณา ศันสยะวิชัย
ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น

          ศึกษาระยะปลูกที่เหมาะสมให้ผลผลิตท่อนพันธุ์สูงและคุณภาพดี  เมื่อปลูกด้วยต้นกล้าอ้อยจากการชำข้อตา สำหรับการปลูกในฤดูปลูกอ้อยข้ามแล้ง ดำเนินการวิจัยที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น วางแผนวิจัยแบบ 2 x 3 factorial in RCB มี 4 ซ้ำ ปัจจัยแรกระยะแถว คือ 1 และ 1.5 เมตร ปัจจัยสองระยะหลุมคือ 0.25 0.50 และ 0.75 เมตร รวม 6 กรรมวิธี โดยใช้พันธุ์ขอนแก่น 3 ทำการเพาะชำต้นกล้าจากชิ้นส่วนข้อ แช่น้ำร้อน 52 องศาเซลเซียส 30 นาที และพักไว้ข้ามคืน และแช่น้ำร้อน 50 องศาเซลเซียส 2 ชั่วโมง เพาะในถุงเพาะชำพลาสติกขนาด 2 x 6 นิ้ว  เมื่อต้นกล้าอายุ 10 สัปดาห์ทำการย้ายปลูกลงแปลงตามกรรมวิธี หลุมละ 1 ต้น  ในเดือนมกราคม2555 เพื่อเป็นท่อนพันธุ์ในการปลูกในฤดูข้ามแล้ง และในเดือนกรกฎาคม 2556 สำปรับเป็นท่อนพันธุ์ในการปลูกฤดูฝน ผลการทดลองพบว่า ต้นกล้าที่ย้ายปลูกข้ามแล้งที่ระยะห่างระหว่างแถว 1.5 เมตร มีเปอร์เซ็นต์หลุมเก็บเกี่ยวต่อหลุมปลูก 86.11 เปอร์เซ็นต์ มีอัตราการขยาย 85.93 เท่า และต้นกล้าที่ย้ายปลูกในฤดูฝนมีอัตราการขายพันธุ์ 90.07 เท่า สูงกว่าระยะห่างระหว่างแถว 1.0 เมตร ทางด้านระยะห่างระหว่างหลุมที่ 0.50 เมตร มีอัตราการขยายพันธุ์ 78.75 เท่าในฤดูข้ามแล้ง และ 77.01 เท่าในฤดูฝน ไม่แตกต่างทางสถิติกับระยะห่างระหว่างหลุมที่ 0.75 เมตร ซึ่งระยะระหว่างหลุมที่ 0.50 เมตรมีจำนวนลำเก็บเกี่ยว 6.0 ลำต่อตารางเมตรในฤดูข้ามแล้ง และ 6.8 ลำต่อตารางเมตรในฤดูฝน ดีกว่าระยะระหว่างหลุมที่ 0.75 เมตร สำหรับความงอกของท่อนพันธุ์อ้อยไม่แตกต่างกันทางสถิติ ระยะปลูกทุกระยะไม่มีผลต่อความงอกของท่อนพันธุ์