คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
ศึกษาพัฒนาวิธีการเพาะเลี้ยงด้วงเต่าตัวห้ำเพื่อใช้ควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยชีววิธี - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2552 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=27)
+--- เรื่อง: ศึกษาพัฒนาวิธีการเพาะเลี้ยงด้วงเต่าตัวห้ำเพื่อใช้ควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยชีววิธี (/showthread.php?tid=1659)



ศึกษาพัฒนาวิธีการเพาะเลี้ยงด้วงเต่าตัวห้ำเพื่อใช้ควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยชีววิธี - doa - 08-05-2016

ศึกษาพัฒนาวิธีการเพาะเลี้ยงด้วงเต่าตัวห้ำเพื่อใช้ควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยชีววิธี
รจนา ไวยเจริญ, อัมพร วิโนทัย, รุจ มรกต และประภัสสร เชยคำแหง
กลุ่มกีฎและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          เพื่อศึกษาพัฒนาวิธีการเพาะเลี้ยงด้วงเต่าตัวห้ำเพื่อใช้ควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยชีววิธี ได้ทำการสำรวจและเก็บรวบรวมด้วงเต่าตัวห้ำจากแปลงมันสำปะหลังได้อย่างน้อย 10 ชนิด เช่น Menochilus sexmaculatus, Cocciniella transversalis, Micarpis discolor, Curinus cueruleus, Brumoides sp., Chilocorus sp., Cryptogonus sp., Nephus spp. และ Scymnus spp. เป็นต้น นำมาทดลองเลี้ยงด้วยเพลี้ยแป้งที่เพาะเลี้ยงบนต้นมันสำปะหลัง และบนผลฟักทองในห้องปฏิบัติการ เบื้องต้นพบว่า ด้วงเต่า Nephus sp. และ Brumoides sp. สามารถเลี้ยงจนครบวงจรชีวิตได้ด้วยเพลี้ยแป้งบนผลฟักทอง และจากการทดลองเลี้ยงด้วงเต่า Scymnus sp. และ Nephus sp. ด้วยเพลี้ยแป้ง Pseudococcus jackbeardsleyi ที่เลี้ยงไว้บนผลฟักทองพบว่า วงจรชีวิตตั้งแต่ไข่จนเป็นตัวเต็มวัย ใช้เวลา 23 - 31 วัน เฉลี่ย 25.33 วัน และ 26 - 34 วัน เฉลี่ย 27.96 วัน ตามลำดับ และมีอายุขัยนาน 4 - 60 วัน เฉลี่ย 16.22 วัน และ 13 - 63 วัน เฉลี่ย 32.74 วัน ตามลำดับ