คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
การทดสอบประสิทธิภาพของแบคทีเรีย Bt และไวรัส NPV เพื่อควบคุมหนอนเจาะสมอฝ้ายในทานตะวัน - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2552 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=27)
+--- เรื่อง: การทดสอบประสิทธิภาพของแบคทีเรีย Bt และไวรัส NPV เพื่อควบคุมหนอนเจาะสมอฝ้ายในทานตะวัน (/showthread.php?tid=1756)



การทดสอบประสิทธิภาพของแบคทีเรีย Bt และไวรัส NPV เพื่อควบคุมหนอนเจาะสมอฝ้ายในทานตะวัน - doa - 08-09-2016

การทดสอบประสิทธิภาพของแบคทีเรีย Bt และไวรัส NPV เพื่อควบคุมหนอนเจาะสมอฝ้ายในทานตะวัน
อิศเรส เทียนทัด, อัจฉรา ตันติโชดก และสมชัย สุวงศ์ศักดิ์ศรี
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          วางแผนการทดลองแบบ RCB 4 ซ้ำ มี 6 กรรมวิธี คือ ไวรัส HaNPV อัตรา 50,100, 150, 200 มิลลิลิตรต่อไร่ แบคทีเรีย Bt อัตรา 200 มิลลิลิตรต่อไร่ และกรรมวิธีไม่พ่นสาร ใช้การพ่นแบบน้ำน้อยอัตราการใช้น้ำ 40 ลิตรต่อไร่ โดยใช้เครื่อง mist blower ในการพ่นสาร ดำเนินการทดลองที่ต.นิคมสร้างตนเอง อ.เมือง จ.ลพบุรี จากการสำรวจการระบาดของหนอนเจาะสมอฝ้ายก่อนการพ่นสารทดลองพบว่า ปริมาณหนอนเจาะสมอฝ้ายที่ทำการตรวจนับตั้งแต่ในช่วงเดือน มกราคม – เมษายน มีปริมาณการระบาดยังไม่ถึงระดับค่า ET จึงยังไม่สามารถดำเนินการทดลองได้ แต่จากการทดสอบประสิทธิภาพในปี 2551 ทำให้ทราบว่าแนวโน้มอัตราการใช้ไวรัส HaNPV 100 – 200 มิลลิลิตรต่อไร่ จะให้ผลในการควบคุมหนอนเจาะสมอฝ้ายได้ดี เมื่อทานตะวันมีอายุ 60 - 65 วัน