คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
การพัฒนาและทดสอบเทคโนโลยีการผลิตพืชเศรษฐกิจที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2559 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=32)
+--- เรื่อง: การพัฒนาและทดสอบเทคโนโลยีการผลิตพืชเศรษฐกิจที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง (/showthread.php?tid=2409)



การพัฒนาและทดสอบเทคโนโลยีการผลิตพืชเศรษฐกิจที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง - doa - 09-12-2018

การพัฒนาและทดสอบเทคโนโลยีการผลิตพืชเศรษฐกิจที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง
บุญณิศา ฆังคมณี, ศรินณา ชูธรรมธัช, นันทิการ์ เสนแก้ว, ณัฐฎา ดีรักษา, ชนินทร์ ศิริขันตยกุล, ธัชธาวินท์ สะรุโณ และโสพล ทองรักทอง
สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 8 และสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรยะลา

โครงการที่ 1 พัฒนาและทดสอบเทคโนโลยีการผลิตพืชไร่เศรษฐกิจที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง
ศรินณา ชูธรรมธัช, นันทิการ์ เสนแก้ว, ฉันทนา คงนคร, พรอุมา เซ่งแซ่, วิภาลัย พุตจันทึก, บุญพา ชูผอม, สุนีย์ สันหมุด, และนูรอาดีลัฮ เจะโด
สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 8, ศูนย์วิจัยพืชไร่ สถาบันวิจัยพืชไร่และพลังทดแทน, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรรือเสาะ และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรปัตตานี

          พืชไร่เศรษฐกิจที่สำคัญในภาคใต้ตอนล่าง ได้แก่ ข้าวโพดหวาน ถั่วลิสง และถั่วหรั่ง ปัญหาที่พบ คือ ผลผลิตค่อนข้างต่ำ ขาดแคลนพันธุ์ดี และเกษตรกรไม่มีความรู้ด้านเทคโนโลยีการผลิตพืชไร่เศรษฐกิจที่ถูกต้องเหมาะสม ดังนั้น จึงดำเนินการพัฒนาเพื่อทดสอบพันธุ์ใหม่ของข้าวโพดหวาน ถั่วลิสง และถั่วหรั่ง โดยการเปรียบเทียบพันธุ์ใหม่กับพันธุ์ที่เกษตรกรใช้เดิม ตลอดจนทดสอบการใช้ไรโซเบียมเพื่อเพิ่มผลลิตและคุณภาพถั่วลิสง การดำเนินงานโครงการ ดังนี้

           พันธุ์ข้าวโพดหวาน ปลูกทดสอบการให้ผลผลิตและเปรียบเทียบการมีรายได้สุทธิจากการปลูกข้าว โพดหวานพันธุ์สงขลา 84-1 ซึ่งเป็นกรรมวิธีทดสอบกับพันธุ์ฮันนีสวีทและเป็นกรรมวิธีเกษตรกร ดำเนินการในแปลงเกษตรกรบ้านยางงาม ตำบลนาท่ามใต้ อำเภอเมือง จังหวัดตรังใน ปี 2557 - 2559 ผลการทดสอบพบว่า ข้าวโพดหวานทั้ง 2 พันธุ์ให้ผลผลิตฝักทั้งเปลือกแตกตำงกันทางสถิติ โดยพันธุ์สงขลา 84-1 ให้ผลผลิตฝักทั้งเปลือกเฉลี่ย 2,302 กิโลกรัมต่อไร่ เป็นผลผลิตที่ต่ำกว่าพันธุ์ฮันนีสวีท 191 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็นผลผลิตที่ต่ำกว่า 8.29 เปอร์เซ็นต์ และการใช้พันธุ์สงขลา 84-1 มีรายได้สุทธิเฉลี่ย 22,383 บาทต่อไร่ เป็นรายได้สุทธิซึ่งต่ำกว่าพันธุ์ฮันนีสวีท 1,861 บาทต่อไร่ เมื่อคำนวณสัดส่วนผลตอบแทนสุทธิ (BCR) พบว่าพันธุ์สงขลา 84-1 มีเกษตรกรทั้ง 10 ราย ให้ค่า BCR > 1 แสดงว่าการลงทุนในกรรมวิธีดังกล่าวมีความเหมาะสมคุ้มค่าในการลงทุนโดยพันธุ์สงขลา 84-1 มีสัดส่วนผลตอบแทนสุทธิ (BCR) สูงกว่าพันธุ์ฮันนีสวีทเล็กน้อย เนื่องจากมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่าในด้านราคาของเมล็ดพันธุ์ เกษตรกรให้การยอมรับพันธุ์สงขลา 84-1 เนื่องจากเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคซึ่งพึงพอใจในลักษณะรูปทรงของฝักที่เมล็ดติดเต็มฝัก ความหวาน ความนุ่มและสีของเมล็ด เปลือกฝักบาง ส่วนเกษตรกรผู้ผลิตพึงพอใจต่อการเก็บเกี่ยวพันธุ์สงขลา 84-1 ที่ง่ายกว่า เนื่องจากขั้วฝักไม่เหนียวและราคาของเมล็ดพันธุ์ซึ่งต่ำกว่า

          การทดสอบพันธุ์ข้าวโพดหวานในจังหวัดสตูล มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบศักยภาพการให้ผลผลิตของข้าวโพดหวานพันธุ์สงขลา 84-1 (วิธีแนะนำ) กับพันธุ์ชูการ์ 75 (วิธีเกษตรกร) ดำเนินการในพื้นที่เกษตรกรอำเภอควนโดน จังหวัดสตูล ระหว่างปี 2557 - 2559 รวม 3 ปี พบว่าข้าวโพดหวานพันธุ์ซูการ์ 75 ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์สงขลา 84-1 โดยให้ผลผลิตเฉลี่ย 2,650.0 และ 2,493.0 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ ซึ่งพันธุ์สงขลา 84-1 มีผลผลิตทั้งเปลือกต่ำกว่าพันธุ์ซูการ์ 75 157 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็น 5.92 เปอร์เซ็นต์ และทำให้เกษตรกรมีรายได้เหนือต้นทุนผันแปรที่เป็นเงินสดสูงกว่าพันธุ์สงขลา 84-1 เฉลี่ย 48,405 และ 45,979 บาทต่อไร่ ตามลำดับ แต่อย่างไรก็ตาม ต้นทุนผันแปรที่เป็นเงินสด ข้าวโพดหวานพันธุ์สงขลา 84-1 จะมีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าข้าวโพดหวานพันธุ์ซูการ์ 75 เฉลี่ย 6,443 และ 7,113 บาทต่อไร่ ตามลำดับ และข้าวโพดหวานพันธุ์สงขลา 84-1 เกษตรกรมีความพึงพอใจมากในส่วนของรสชาติ ลักษณะของรูปทรงของฝักมีการติดเมล็ดเต็ม เมล็ดจะนุ่มกว่าพันธุ์ซูการ์ 75 และสามารถลดต้นทุนการผลิตในส่วนของราคาเมล็ดพันธุ์

           การทดสอบพันธุ์ข้าวโพดหวานในจังหวัดสงขลา มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบศักยภาพการให้ผลผลิตของข้าวโพดหวานพันธุ์สงขลา 84-1 (วิธีแนะนำ) กับพันธุ์ชูการ์สตาร์ (วิธีเกษตรกร) ดำเนินการในพื้นที่เกษตรกรอำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา ระหว่างปี 2557 - 2559 รวม 3 ปี พบว่าข้าวโพดหวานพันธุ์ ชูการ์สตาร์ ให้ผลผลิตน้ำหนักฝักสดทั้งเปลือกเฉลี่ยสูงกว่าพันธุ์สงขลา 84-1 เทำกับ 3,686 และ 2,986 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ ซึ่งพันธุ์สงขลา 84-1 ให้ผลผลิตต่ำกว่าพันธุ์ชูการ์สตาร์ 700 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็น 19 เปอร์เซ็นต์ โดยมีต้นทุนฝันแปรที่เป็นเงินสดเฉลี่ย 7,694 และ 6,925 บาทต่อไร่ ตามลำดับ จึงทำให้เกษตรกรมีรายได้เหนือต้นทุนฝันแปรที่เป็นเงินสดเฉลี่ย 36,490 และ 29,113 บาทต่อไร่ ตามลำดับ ถึงแม้ว่าข้าวโพดหวานพันธุ์สงขลา 84-1 ให้ผลผลิตต่ำกว่าพันธุ์ชูการ์สตาร์ แต่มีคุณภาพเหมาะสมสำหรับบริโภคฝักสด มีความหวาน 14 องศาบริกซ์ มีเนื้อเมล็ดมาก แกนฝักเล็ก รวมไปถึงรสชาติฝักต้มดี เกษตรกรและผู้บริโภคส่วนใหญ่จึงมีความพึงพอใจในระดับมากต่อลักษณะและคุณภาพข้าวโพดหวานพันธุ์ สงขลา 84-1 โดยเฉพาะรสชาติ และความหวาน คิดเป็น 60.0 และ 68.6 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และข้าวโพดหวานทั้ง 2 พันธุ์มีอัตราผลตอบแทนต่อการลงทุน (Benefit cost ratio: BCR) มากกว่า 2 แสดงว่าข้าวโพดหวานทั้ง 2 พันธุ์มีความเหมาะต่อการผลิตและคุ้มค่าในการลงทุน

           การทดสอบข้าวโพดหวานพันธุ์สงขลา 84-1 ซึ่งเป็นพันธุ์แนะนำของกรมวิชาการเกษตรนำมาทดสอบในแปลงเกษตรกร โดยเปรียบเทียบกับพันธุ์การค้าของบริษัทเอกชนที่เกษตรกรใช้ปลูกอยู่เดิม (พันธุ์ซันสวีท 05) เพื่อเพิ่มทางเลือกในการใช้พันธุ์ข้าวโพดหวาน ตลอดจนการยอมรับพันธุ์สงขลา 84-1 และเป็นการทดสอบศักยภาพการให้ผลผลิตของข้าวโพดหวานพันธุ์สงขลา 84-1 ทำการทดสอบที่อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส ดำเนินการทดสอบ 3 ปี โดยคัดเลือกเกษตรกรเข้าร่วมดำเนินการ จำนวน 10 รายต่อปี ใช้พื้นที่ 20 ไร่ พร้อมทั้งใช้วิธีการปลูกและปฏิบัติตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร จากการทดลองพบว่า พันธุ์สงขลา 84-1 ให้คำเฉลี่ยผลผลิตฝักสดทั้งเปลือก และคำเฉลี่ยผลผลิตฝักสดปอกเปลือกทั้ง 3 ปี ตั้งแต่ปี 2557 - 2559 น้อยกว่าพันธุ์ซันสวีท 05 ทำให้มีกำไรน้อยกว่าการปลูกพันธุ์ซันสวีท 05 แต่การปลูกข้าวโพดหวานทั้ง 2 พันธุ์ ถือว่าคุ้มค่าต่อการลงทุน อย่างไรก็ตาม เกษตรกรยอมรับพันธุ์สงขลา 84-1 และมีความต้องการปลูกข้าวโพดหวานพันธุ์สงขลา 84-1 เนื่องจากมีความพึงพอใจในรสชาติ รูปทรงของฝักที่มีการติดเมล็ดเต็ม และสามารถลดต้นทุนการผลิตในเรื่องของราคาเมล็ดพันธุ์

            ถั่วลิสง การขาดแคลนพันธุ์ดี มีจำนวนพันธุ์ให้เลือกปลูกน้อย คือ ปัญหาของเกษตรกรผู้ผลิตถั่วลิสงและปัญหาเกษตรกรมีการใช้ไรโซเบียมน้อยหรือไม่ใช้เพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพถั่วลิสงในภาคใต้ตอนล่าง ดังนั้น จึงนำถั่วลิสงพันธุ์ใหม่มาปลูกทดสอบการให้ผลผลิตและเปรียบเทียบการมีรายได้สุทธิจากการใช้พันธุ์ที่แตกต่างกัน และทดสอบการใช้ไรโซเบียม 2 ชนิด คลุกเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูก สำหรับใช้เป็นทางเลือกให้กับเกษตรกร โดยการทดสอบพันธุ์ถั่วลิสงพันธุ์ใหม่ คือ ขอนแก่น 84-8 กับพันธุ์เดิมที่เกษตรกรในพื้นที่นิยมปลูก คือ พันธุ์ไทนาน 9 และสข.38 ดำเนินการ 3 จังหวัด คือ จังหวัดพัทลุง ในปี 2557 - 2558 ที่แปลงเกษตรกรตำบลคลองทรายขาว อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง เปรียบเทียบระหว่างพันธุ์ขอนแก่น 84-8 กับพันธุ์ไทนาน 9 และในปี 2559 ขยายผลการทดสอบไปที่ตำบลท่าสะบ้า อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง เปรียบเทียบระหว่างพันธุ์ขอนแก่น 84-8 กับพันธุ์ สข.38 ดำเนินการทดสอบกับเกษตรกรจังหวัดละ 5 รายๆ ละ 2 ไร่ การทดสอบพันธุ์ถั่วลิสงจังหวัดสงขลา ดำเนินการในพื้นที่ อำเภอสิงหนคร อำเภอนาหม่อม อำเภอหาดใหญ่ และอำเภอเมืองจังหวัดสงขลา จำนวน 10 รายๆ ละ 2 ไร่ ดำเนินการระหว่างเดือนกันยายน 2557 ถึงเดือนตุลาคม 2559 เพื่อทดสอบศักยภาพการให้ผลผลิตของถั่วลิสงพันธุ์ขอนแก่น 84-8 พันธุ์ใหม่ในสภาพการผลิตของเกษตรกร และถั่วลิสงพันธุ์ สข.38 การทดสอบการใช้ไรโซเบียมในการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพถั่วลิสงในจังหวัดสงขลา ตั้งแต่ปี ตุลาคม 2556 - กันยายน 2559 วิธีดำเนินการคัดเลือกเกษตรกรเข้าร่วมโครงการจำนวน 10 ราย วางแผนการทดลองแบบ Randomized complete block design (RCBD) มี 2 ซ้ำ 4 กรรมวิธี ดังนี้ 1) ไม่ใช้ไรโซเบียม ใส่ปุ๋ยอัตรา 3-9-6 กิโลกรัม (N-P2O5-K2O) ต่อไร่ 2) ไม่ใช้ไรโซเบียม ใส่ปุ๋ยอัตรา 0-9-6 กิโลกรัม (N-P2O5-K2O) ต่อไร่ 3) ใช้ไรโซเบียมชนิดผง ใส่ปุ๋ยอัตรา 0-9-6 กิโลกรัม (N-P2O5-K2O) ต่อไร่ 4) ใช้ไรโซเบียมชนิดเม็ด ใส่ปุ๋ยอัตรา 0-9-6 กิโลกรัม (N-P2O5-K2O) ต่อไร่ ดำเนินการในแปลงเกษตรกร ตำบลทุ่งหวัง อำเภอเมือง ตำบลคลองเปรี๊ยะ และตำบลป่าชิง อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ผลการทดสอบพันธุ์ถั่วลิสง จังหวัดพัทลุง ปี 2557 พบว่าพันธุ์ทำให้ผลผลิตฝักสดและฝักแห้งแตกต่างกันทางสถิติ พันธุ์ขอนแก่น 84-8 ให้ผลผลิตฝักสดเฉลี่ย 463 กิโลกรัมต่อไร่ และพันธุ์ไทนาน 9 ให้ผลผลิตฝักสดเฉลี่ย 571 กิโลกรัมต่อไร่ พันธุ์ขอนแก่น 84-8 ให้ผลผลิตฝักสดต่ำกว่าไทนาน 9 เท่ากับ 108 กิโลกรัมต่อไร่ ต่ำกว่าร้อยละ 18.91 ส่วนผลผลิตฝักแห้งพันธุ์ขอนแก่น 84-8 ให้ผลผลิตฝักแห้งได้ต่ำกว่าพันธุ์ไทนาน 9 เช่นเดียวกัน โดยมีผลผลิตฝักแห้งเท่ากับ 258 และ 324 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ ผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ พบว่า พันธุ์ขอนแก่น 84-8 ทำให้มีรายได้สุทธิ 3,006 บาทต่อไร่ และพันธุ์ไทนาน 9 มีรายได้สุทธิ 4,644 บาทต่อไร่ เป็นรายได้ที่ต่ำกว่าการใช้พันธุ์ไทนาน 9 1,638 บาทต่อไร่ ในปี 2558 พบว่าถั่วลิสงทั้ง 2 พันธุ์ ให้ผลผลิตฝักสดและฝักแห้งไม่แตกต่างกันทางสถิติ โดยที่พันธุ์ขอนแก่น 84-8 และไทนาน 9 ให้ผลผลิตฝักสดเฉลี่ย 585 และ 561 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ และให้ผลผลิตฝักแห้ง 287 และ 276 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ ผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ พบว่า ถั่วลิสงทั้ง 2 พันธุ์มีรายได้สุทธิเฉลี่ยได้ใกล๎เคียงกัน คือ พันธุ์ขอนแก่น 84-8 มีรายได้สุทธิเฉลี่ย 9,924 บาทต่อไร่ ส่วนพันธุ์ไทนาน 9 รายได้สุทธิเฉลี่ย 9,788 บาทต่อไร่

           จังหวัดตรัง ประสบปัญหาน้ำท่วม สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เพียง 2 ราย ผลการทดสอบพบว่า พันธุ์ให้ผลผลิตฝักสดและฝักแห้งเฉลี่ยแตกต่างกันทางสถิติ พันธุ์ขอนแก่น 84-8 ให้ผลผลิตฝักสดเฉลี่ย 413 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งต่ำกว่าพันธุ์ สข.38 ที่ให้ผลผลิตฝักสดเฉลี่ย 678 กิโลกรัมต่อไร่ ต่ำกว่าร้อยละ 64.16 และมีรายได้สุทธิจากพันธุ์ขอนแก่น 84-8 ต่ำกว่าพันธุ์ สข.38,885 บาทต่อไร่ โดยพันธุ์ขอนแก่น 84-8 มีรายได้สุทธิเฉลี่ย 14,713 บาทต่อไร่ และพันธุ์ สข.38 มีรายได้สุทธิเฉลี่ย 15,598 บาทต่อไร่ สรุปในภาพรวมได้ว่าพันธุ์ทดสอบขอนแก่น 84-8 ให้ผลผลิตและรายได้สุทธิต่ำกว่าพันธุ์ไทนาน 9 และสข.38 แต่เกษตรกรทั้ง 2 แหล่งที่ทำการทดสอบให้การยอมรับถั่วลิสงพันธุ์ขอนแก่น 84-8 โดยพึงพอใจในลักษณะประจำพันธุ์ที่คล้ายคลึงกับสข.38 และการเก็บเกี่ยวง่ายกว่าพันธุ์ไทนาน 9

           จังหวัดสงขลาผลการดำเนินงานพบว่า ปี 2557 และ 2558 ถั่วลิสงพันธุ์ขอนแก่น 84-8 ให้ผลผลิตมากกว่า ถั่วลิสงพันธุ์สข.38 ส่วนในปี 2559 ผลผลิตถั่วลิสงทั้งสองพันธุ์ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ สำหรับคุณภาพของเมล็ดพันธุ์พบว่า เปอร์เซ็นต์การกะเทาะของถั่วลิสงพันธุ์ขอนแก่น 84-8 ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติกับถั่วลิสงพันธุ์สข. 38 จากการศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีเรื่องพันธุ์ถั่วลิสงพบว่า เกษตรกรที่ปลูกถั่วลิสงปี 2558 และ 2559 ให้การยอมรับถั่วลิสงทั้งสองพันธุ์ เนื่องจากมีพ่อค้ารับซื้อตลอดปีเพื่อขายเป็นถั่วลิสงฝักต้ม และพบว่าอัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุน (Benefit cost ratio: BCR) อยู่ระหว่าง 1.64 - 3.15 ซึ่งมากกว่า 1 เกษตรกรสามารถลงทุนได้ซึ่งให้ผลคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ

            การทดสอบการใช้ไรโซเบียมในการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพถั่วลิสงในจังหวัดสงขลา ผลการทดลอบพบว่า ปี 2557 ผลผลิตฝักสดเฉลี่ยของทุกกรรมวิธีไม่แตกต่างทางสถิติ ซึ่งกรรมวิธีไม่ใช้ไรโซเบียมใส่ปุ๋ย 3-9-6 กิโลกรัม (N-P2O5-K2O) ต่อไร่ ใช้ไรโซเบียมชนิดเม็ดร่วมกับใส่ปุ๋ย 0-9-6 กิโลกรัม (N-P2O5-K2O) ต่อไร่ และใช้ไรโซเบียมชนิดผงร่วมกับใส่ปุ๋ย 0-9-6 กิโลกรัม (N-P2O5-K2O) ต่อไร่ให้ผลผลิตฝักสดเฉลี่ยเท่ากับ 612.78, 612.61 และ 582.96 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ ซึ่งสูงกว่ากรรมวิธีไม่ใช้ไรโซเบียมใส่ปุ๋ย 0-9-6 กิโลกรัม (N-P2O5-K2O) ต่อไร่ ที่ได้ผลผลิตฝักสดเฉลี่ย 554.76 กิโลกรัมต่อไร่ ปี2558 กรรมวิธีที่ใช้ ไรโซเบียมชนิดเม็ดร่วมกับใส่ปุ๋ย 0-9-6 กิโลกรัม (N-P2O5-K2O) ต่อไร่ ให้ผลผลิตฝักสดเฉลี่ยสูงสุด คือ 693.72 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่งกับกรรมวิธีไม่ใช้ไรโซเบียมใส่ปุ๋ย 0-9-6 กิโลกรัม (N-P2O5-K2O) ต่อไร่ ที่ได้ผลผลิต 598.67 กิโลกรัมต่อไร่ ปี 2559 พบว่า กรรมวิธีใช้ไรโซเบียมชนิดผงร่วมกับใส่ปุ๋ย 0-9-6 กิโลกรัม (N-P2O5-K2O) ต่อไร่ ให้ผลผลิตฝักสดเฉลี่ยสูงสุด 780.00 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่งกับกรรมวิธีไม่ใช้ไรโซเบียมใส่ปุ๋ย 0-9-6 กิโลกรัม (N-P2O5-K2O) ต่อไร่ที่ได้ผลผลิตฝักสดเฉลี่ยต่ำสุด คือ 695.04 กิโลกรัมต่อไร่

            สรุปภาพรวม ใน 3 ปีพบว่า การใช้ไรโซเบียมทั้งชนิดผงและเม็ดโดยไม่ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน สามารถเพิ่มผลผลิตถั่วลิสงและทดแทนการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนได้ เนื่องจากการใช้ไรโซเบียมชนิดเม็ดและผงทำให้ได้ผลผลิตฝักสดเฉลี่ย 3 ปี คือ 684.86 และ 670.55 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งสูงกว่ากรรมวิธีที่ไม่คลุกแต่ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน 3 กิโลกรัมไนโตรเจนต่อไร่ ซึ่งผลผลิตเฉลี่ย 661.01 กิโลกรัมต่อไร่ ทดแทนปุ๋ยไนโตรเจนและลดต้นทุนเรื่องปุ๋ย 161.26 บาทต่อไร่ ทำให้รายได้สุทธิมากกว่าการไม่คลุกไรโซเบียมแล๎วใส่ปุ๋ยไนโตรเจนเท่ากับ 495.16 - 996.01 บาทต่อไร่ เมื่อเปรียบเทียบกับการไม่คลุกไรโซเบียมไม่ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน (ตัวควบคุม) รายได้สุทธิที่เพิ่มขึ้น 1,883.65 - 2,384.50 บาทต่อไร่ จำนวนปมรากถั่วของกรรมวิธีที่ใช้ไรโซเบียมชนิดผงและชนิดเม็ดมีจำนวนปมรากถั่วเฉลี่ยสูง 26.44 และ 25.74 ปมต่อต้น ส่วนด้านความสูงและจำนวนแขนงต่อต้นของแต่ละกรรมวิธีไม่แตกต่างทางสถิติความสูงเฉลี่ย 59.77 - 62.56 เซนติเมตร จำนวนแขนงต่อต้น 8.67 - 9.04 แขนง

             ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจการใช้ไรโซเบียมชนิดเม็ดและชนิดผงทำให้มีรายได้เฉลี่ย 23,970.10 และ 23,469.25 บาทต่อไร่ ตามลำดับ ไม่แตกต่างกับการไม่ใช้ไรโซเบียมแต่ใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมีรายได้เฉลี่ย 23,135.35 บาทต่อไร่ ส่วนการไม่ใช้ไรโซเบียมและไม่ใส่ปุ๋ยไนโตรเจนรายได้เฉลี่ย 21,565.60 บาทต่อไร่ เมื่อหักต้นทุนการผลิต 6,084.20 - 6,265.46 บาทต่อไร่ แล้วทำให้การใช้ไรโซเบียมชนิดเม็ดและชนิดผงมีรายได้สุทธิเฉลี่ย 17,865.90 และ 17,365.05 บาทต่อไร่ ตามลำดับ การไม่ใช้ไรโซเบียมแต่ใส่ปุ๋ยไนโตรเจนรายได้สุทธิเฉลี่ย 16,869.89 บาทต่อไร่ สำหรับการไม่ใช้ไรโซเบียมและไม่ใส่ปุ๋ยไนโตรเจนรายได้สุทธิเฉลี่ย 15,481.40 บาทต่อไร่ ด้านผลตอบแทนต่อการลงทุน (BCR) พบว่าทุกกรรมวิธีมีคำสูงกว่า 1 อยู่ระหว่าง 3.54 - 3.93 แสดงว่าเกษตรกรสามารถนำไปปฏิบัติได้ทุกกรรมวิธีทำให้ได้กำไร ไม่มีความเสี่ยง วิธีการใช้ ไรโซเบียมชนิดเม็ดร่วมกับปุ๋ย 0-9-6 กิโลกรัม (N-P2O5-K2O) ต่อไร่มีค่า BCR สูงสุด 3.93 ความพึงพอใจของเกษตรกรต่อเทคโนโลยีการผลิตถั่วลิสงพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในเทคโนโลยีการผลิตถั่วลิสงทั้งชุดภาพรวมอยู่ระดับมาก (คะแนน 4.46) การใช้ไรโซเบียมชนิดผงและชนิดเม็ดระดับความพึงพอใจมากที่สุด เพราะคิดว่าช่วยให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น แต่ไม่มีเกษตรกรรายใดนำไปปฏิบัติเนื่องจากหาซื้อยาก

            ถั่วหรั่ง: ปลูกเปรียบเทียบการให้ผลผลิตและรายได้สุทธิจากการใช้พันธุ์ถั่วหรั่งจำนวน 2 กรรมวิธี คือ วิธีทดสอบ (TVsu 89) กับวิธีเกษตรกร (พันธุ์สงขลา1) ดำเนินการในปี 2557 - 2558 ที่แปลงเกษตรกรตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง จำนวน 10 ราย และในปี 2559 ดำเนินการกับเกษตรกรรายเดิมในพื้นที่เดิม จำนวน 6 ราย และขยายผลการทดสอบไปยังพื้นที่ใหม่ในตำบลคลองใหญ่ อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง ดำเนินการกับเกษตรกรรายใหม่ จำนวน 4 รายการ ทดสอบพันธุ์ถั่วหรั่งในจังหวัดปัตตานี ดำเนินการในแปลงเกษตรกร จำนวน 10 ราย ตำบลพ่อมิ่ง อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี ระหว่างปี 2557 - 2559 ปลูกทดสอบพันธุ์ถั่วหรั่ง จำนวน 2 พันธุ์ คือ พันธุ์ TVsu 89 (วิธีทดสอบ) และพันธุ์ TVsu 870 (วิธีเกษตรกร) ผลการทดสอบในปี 2557 จังหวัดพัทลุง พบว่าพันธุ์ TVsu 89 ให้ผลผลิตฝักสดเฉลี่ย 597 กิโลกรัมต่อไร่ ไม่แตกต่างกันทางสถิติกับสงขลา1 ที่มีผลผลิตเฉลี่ย 573 กิโลกรัมต่อไร่ แต่พันธุ์ TVsu 89 มีรายได้สุทธิสูงกว่าพันธุ์สงขลา1 เท่ากับ 1747 บาทต่อไร่ โดยมีรายได้สุทธิ 5,862 บาทต่อไร่ แต่ผลการทดสอบในปี 2558 พบว่าพันธุ์สงขลา1 ให้ผลผลิตฝักสด 616 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งแตกต่างกันทางสถิติกับพันธุ์ TVsu 89 ที่ให้ผลผลิตฝักสด 466 กิโลกรัมต่อไร่ เนื่องจากก่อนเก็บเกี่ยวพันธุ์สงขลา1 น้ำท่วมขังแปลง จึงทำให้ฝักอวบน้ำ แต่เมื่อลดความชื้นทั้ง 2 พันธุ์ มีผลผลิตฝักแห้งเท่ากัน 142 กิโลกรัมต่อไร่ และสงขลา1 มีรายได้สุทธิสูงกว่า 1,988 บาทต่อไร่ โดยมีรายได้สุทธิ 5,277 บาทต่อไร่ ในปี 2559 ผลการทดสอบเกษตรกรรายเดิม พบว่า พันธุ์สงขลา1 ให้ผลผลิตฝักสดได้สูงกว่า คือ 493 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งแตกต่างกันทางสถิติกับ TVsu 89 ที่มีผลผลิตฝักสด 408 กิโลกรัมต่อไร่ ทำให้รายได้สุทธิจาก TVsu 89 ต่ำกว่าสงขลา 1 867 บาทต่อไร่ โดยมีรายได้สุทธิ 3,623 บาทต่อไร่ ผลการทดสอบกับเกษตรกรรายใหม่พบว่า ถั่วหรั่งพันธุ์ TVsu 89 ให้ผลผลิตฝักสดเฉลี่ยได้ใกล๎เคียงกับพันธุ์สงขลา1 โดยมีผลผลิตฝักสดเฉลี่ย 461 กิโลกรัมต่อไร่ ในขณะที่พันธุ์สงขลา1 ให้ผลผลิตฝักสดเฉลี่ย 455 กิโลกรัมต่อไร่ ถั่วหรั่งทั้งสองพันธุ์มีศักยภาพในการให้ผลผลิตไม่แตกต่างกันแต่มีรายได้สุทธิเฉลี่ยจากพันธุ์ TVsu 89 สูงกว่าพันธุ์สงขลา1 2,354 บาทต่อไร่ หากคิดคำแรงงานและเมื่อไม่คิดคำแรงงานมีรายได้สุทธิสูงกว่าพันธุ์สงขลา1 3,091 บาทต่อไร่ เนื่องจากเกษตรกรสามารถจำหนำยผลผลิตได้ในราคาที่สูงกว่าเพราะผลผลิตออกสูํตลาดในชํวงต้นของฤดูกาล

             จังหวัดปัตตานีผลการทดสอบในปี 2557 พบว่าถั่วหรั่งพันธุ์ TVsu 89 ให้ผลผลิตฝักสด เฉลี่ย 490 กิโลกรัมต่อไร่ ไม่แตกต่างกันทางสถิติกับพันธุ์ TVsu 870 ที่ให้ผลผลิตฝักสดเฉลี่ย 567 กิโลกรัมต่อไร่ แต่พันธุ์ TVsu 89 มีรายได้สุทธิเฉลี่ยสูงกว่าพันธุ์ TVsu 870 เท่ากับ 1,120 บาทต่อไร่ โดยมีรายได้สุทธิเฉลี่ย 7,895 บาทต่อไร่ ในปี 2558 พบว่าถั่วหรั่งพันธุ์ TVsu 89 ให้ผลผลิตฝักสดเฉลี่ย 470 กิโลกรัมต่อไร่ แตกต่างกันทางสถิติกับพันธุ์ TVsu 870 ที่ให้ผลผลิตฝักสดเฉลี่ย 585 กิโลกรัมต่อไร่ พันธุ์ TVsu 89 มีรายได้สุทธิเฉลี่ยสูงกว่าพันธุ์ TVsu 870 เท่ากับ 1,037 บาทต่อไร่ โดยมีรายได้สุทธิเฉลี่ย 7,652 บาทต่อไร่ และในปี 2559 พบว่าถั่วหรั่งพันธุ์ TVsu 89 ให้ผลผลิตฝักสดเฉลี่ย 316 กิโลกรัมต่อไร่ แตกต่างกันทางสถิติกับพันธุ์ TVsu 870 ที่ให้ผลผลิตฝักสดเฉลี่ย 240 กิโลกรัมต่อไร่ โดยพันธุ์ TVsu 89 มีรายได้สุทธิเฉลี่ยสูงกว่าพันธุ์ TVsu 870 เท่ากับ 2,648 บาทต่อไร่ โดยมีรายได้สุทธิเฉลี่ย 4,300 บาทต่อไร่