คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
รูปแบบเทคโนโลยีการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานในผักชีฝรั่งเพื่อการส่งออกไปสหภาพยุโรป - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2560 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=33)
+--- เรื่อง: รูปแบบเทคโนโลยีการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานในผักชีฝรั่งเพื่อการส่งออกไปสหภาพยุโรป (/showthread.php?tid=2619)



รูปแบบเทคโนโลยีการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานในผักชีฝรั่งเพื่อการส่งออกไปสหภาพยุโรป - doa - 04-22-2019

รูปแบบเทคโนโลยีการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานในผักชีฝรั่งเพื่อการส่งออกไปสหภาพยุโรป
วิภาดา ปลอดครบุรี, สัญญาณี ศรีคชา, นพพล สัทยาสัย, สิริชัย สาธุวิจารณ์, สุนัดดา เชาวลิต, ธารทิพย ภาสบุตร และอดุลย์รัตน์ แคล้วคลาด
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5

          การศึกษารูปแบบเทคโนโลยีการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานในผักชีฝรั่ง ดำเนินการทดลองในแปลงทดลองผักฃีฝรั่ง (แปลง EL) ของเกษตรกรที่อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม เปรียบเทียบรูปแบบเทคโนโลยีการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานกับวิธีการของเกษตรกร โดยเปรียบเทียบ ชนิดศัตรูพืช ปริมาณศัตรูพืช ศัตรูธรรมชาติ ชนิดและจำนวนครั้งในการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช น้ำหนัก และราคาผลผลิต ตลอดจนสารพิษตกค้างในผลผลิต และผลตอบแทนการลงทุน กรรมวิธีป้องกันกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสาน (IPM) ทำการสำรวจประชากรของศัตรูพืชและศัตรูธรรมชาติในแปลงปลูกผักชีฝรั่ง โดยสุ่ม 100 ต้น/พื้นที่ 1 งาน ทุก 7 วัน บันทึกข้อมูลในตารางบันทึกข้อมูลอย่างง่าย ใช้ระดับเศรษฐกิจในการพิจารณาการป้องกันกำจัด ส่วนกรรมวิธีของเกษตรกร (F) ปฏิบัติดูแลตามวิธีเกษตรกร ใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชตามที่กำหนดเพื่อการส่งออก EU และบันทึกข้อมูลเช่นเดียวกับกรรมวิธี IPM จากการเก็บข้อมูลจำนวนศัตรูพืชและศัตรูธรรมชาติ จำนวน 13 ครั้ง พบว่าทั้งสองกรรมวิธีพบศัตรูพืช ได้แก่ แมลงหวี่ขาวยาสูบ เพลี้ยไฟ หนอนคืบ ไรแดง โรคใบไหม้ และพบศัตรูธรรมชาติ ได้แก่ แมงมุม ในกรรมวิธี IPM ทำการพ่นสารกำจัดแมลง 5 ครั้ง เนื่องจากแมลงหวี่ขาวยาสูบและเพลี้ยไฟมีจำนวนต้นที่พบเกินเกณฑ์กำหนด โดยพ่นด้วยสาร buprofezin 40% SC อัตรา 40 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร จำนวน 1 ครั้ง พ่นด้วยสาร imidacloprid 70% WG อัตรา 5 กรัม/น้ำ 20 ลิตร จำนวน 2 ครั้ง พ่นด้วย white oil 67% EC อัตรา 150 มล. + buprofezin 40% SC อัตรา 40 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร จำนวน 2 ครั้ง ส่วนกรรมวิธีเกษตรกร มีการพ่นสารสารกำจัดแมลง 5 ครั้ง โดยพ่นด้วยสาร imidacloprid 35% EC อัตรา 15 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร จำนวน 1 ครั้ง พ่นสาร buprofezin 40% SC อัตรา 40 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร จำนวน 2 ครั้ง พ่นสาร bifenzin 10% EC อัตรา 30 มล./น้ำ 20 ลิตร จำนวน 1 ครั้ง พ่นด้วยสาร imidacloprid 70% WG อัตรา 5 กรัม/น้ำ 20 ลิตร จำนวน 1 ครั้ง ส่วนสารป้องกันกำจัดโรคพืช ทั้งสองกรรมวิธีพ่นด้วยสาร azoxystrobin 25% SC อัตรา 10 อัตรา 10 มล./น้ำ 20 ลิตร จำนวน 2 ครั้ง ส่วนการจัดการวัชพืชทั้งสองกรรมวิธี ทำการกำจัดโดยการถอนต้นวัชพืช และยังดำเนินการเก็บข้อมูลการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชรวมทั้งผลผลิต และวิเคราะห์สารพิษตกค้าง