คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
การให้บริการวิชาการเทคโนโลยีการผลิตมังคุดคุณภาพสู่เกษตรกรจังหวัดจันทบุรี - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2555 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=5)
+--- เรื่อง: การให้บริการวิชาการเทคโนโลยีการผลิตมังคุดคุณภาพสู่เกษตรกรจังหวัดจันทบุรี (/showthread.php?tid=428)



การให้บริการวิชาการเทคโนโลยีการผลิตมังคุดคุณภาพสู่เกษตรกรจังหวัดจันทบุรี - doa - 11-23-2015

การให้บริการวิชาการเทคโนโลยีการผลิตมังคุดคุณภาพสู่เกษตรกรจังหวัดจันทบุรี
สมบัติ ตงเต๊า, สำเริง ช่างประเสริฐ, มาลัยพร เชื้อบัณฑิต, ธีรวุฒิ ชุตินันทกุล, พิศาล หรินทรานนท์, อลงกรณ์ กรณ์ทอง และครรชิต พุทธโกษา
ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี, สำนักวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ, สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ( วช.)

          การให้บริการวิชาการเทคโนโลยีการผลิตมังคุดคุณภาพจังหวัดจันทบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเทคโนโลยีการผลิตมังคุดคุณภาพของกรมวิชาการเกษตรไปถ่ายทอดขยายผลให้กับเกษตรกรและกลุ่มเกษตรกรชาวสวนมังคุดของจังหวัดจันทบุรีได้นำไปใช้ในการผลิตมังคุดอย่างมีประสิทธิภาพมีขั้นตอนดำเนินการ 5 ขั้นตอน เริ่มจากการคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายและวิเคราะห์ความต้องการ (Training needs) ของเกษตรกร การสังเคราะห์เทคโนโลยีการผลิตมังคุดคุณภาพ การดำเนินงานให้บริการวิชาการ การสรุปผลการดำเนินงานและการขยายผล โดยดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2552 – กันยายน พ.ศ.2555 กับกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกมังคุดจังหวัดจันทบุรี 15 กลุ่ม 7 อำเภอ ผลการดำเนินงานพบว่า กลุ่มเป้าหมายที่เข้าไปดำเนินงานมีความต้องการที่จะผลิตมังคุดให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ มีต้นทุนลดลง และต้องการแปรรูปเพิ่มมูลค่า ศูนย์ฯ จึงได้สังเคราะห์และรวบรวมข้อมูลเทคโนโลยีการผลิตมังคุดคุณภาพและแปรรูป ซึ่งได้จากการวิจัยไปถ่ายทอดและขยายผลให้กับเกษตรกรโดยการฝึกอบรม ทำแปลงต้นแบบและจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ผลการดำเนินการที่ได้มีผลทำให้ต้นทุนในการผลิตมังคุดของเกษตรกรลดลง 18 เปอร์เซ็นต์ มังคุดที่เกษตรกรผลิตได้มีคุณภาพเพิ่มขึ้น 53 เปอร์เซ็นต์ เกษตรกรที่ร่วมโครงการมีรายได้จากการจำหน่ายมังคุดคุณภาพ และมีรายได้จากการแปรรูปมังคุดเพิ่มขึ้น และเมื่อประเมินการเปลี่ยนแปลงในภาพรวมพบว่า กลุ่มมีความเข้มแข็ง ผลการดำเนินงานที่ได้สามารถขยายผลและเผยแพร่สู่ นักศึกษา นักเรียน ตลอดจนเกษตรกรที่สนใจในรูปแบบต่างๆ ผ่านการฝึกอบรมและการศึกษาดูงานในพื้นที่กลุ่มอย่างชัดเจน