คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
ศึกษาเทคนิคการใช้สารกำจัดวัชพืชเพื่อควบคุมผักปราบในสวนส้ม - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2555 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=5)
+--- เรื่อง: ศึกษาเทคนิคการใช้สารกำจัดวัชพืชเพื่อควบคุมผักปราบในสวนส้ม (/showthread.php?tid=505)



ศึกษาเทคนิคการใช้สารกำจัดวัชพืชเพื่อควบคุมผักปราบในสวนส้ม - doa - 11-30-2015

ศึกษาเทคนิคการใช้สารกำจัดวัชพืชเพื่อควบคุมผักปราบในสวนส้ม
จรรยา มณีโชติ, วนิดา ธารถวิล, สุพัตรา ชาวกงจักร์, ยุรวรรณ อนันตนมณี, สิริชัย สาธุวิจารณ์ และจีรนุช เอกอำนวย
กลุ่มวิจัยบริหารศัตรูพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช, กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกาฬสินธุ์ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3

          การทดลองเทคนิคการใช้สารกำจัดวัชพืชเพื่อควบคุมผักปราบในสวนส้ม ดำเนินการในแปลงเกษตรกร 2 แห่ง ที่อำเภอฝาง และอำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ในระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2553 – กุมภาพันธ์ 2555 พบว่า สารกำจัดวัชพืช glyphosate 48% SC อัตรา 500 มล./ไร่ สามารถควบคุมผักปราบนา (C. diffusa) ได้ดีกว่า ผักปราบไร่ (C. benghalensis) โดยใช้เครื่องพ่นได้ทั้งแบบโยกสะพายหลังและแบบน้ำน้อย ULV ส่วนสารกำจัดวัชพืช glufosinate-ammonium 15% SC อัตรา 600 มล./ไร่ สามารถควบคุมผักปราบนา (C. diffusa) และผักปราบไร่ (C. benghalensis) ได้ดี โดยใช้เครื่องพ่นได้ทั้งแบบโยกสะพายหลังและแบบน้ำน้อย ULV สำหรับสารกำจัดวัชพืช paraquat 27.6% SC อัตรา 500 มล./ไร่ สามารถควบคุมผักปราบนา (C. diffusa) และผักปราบไร่ (C. benghalensis) ได้ดี โดยใช้เครื่องพ่นแบบโยกสะพายหลัง นอกจากนั้น พบว่า สารกำจัดวัชพืช indaziflam 50% SC อัตรา 12 กรัมสารออกฤทธิ์ต่อไร่ สามารถควบคุมต้นอ่อนของผักปราบที่งอกจากเมล็ดได้ดีกว่า diuron 80% WP อัตรา 240 กรัมสารออกฤทธิ์ต่อไร่ โดยสารทั้งสองชนิดไม่เป็นอันตรายต่อต้นส้ม เหมาะสำหรับพ่นบริเวณใต้ทรงพุ่มเพื่อทดแทนการดายหญ้าที่อาจเป็นอันตรายต่อรากส้มที่อยู่ใกล้บริเวณผิวดิน