การคัดเลือกละอองเกสรที่มีประสิทธิภาพต่อการติดผลทุเรียนในสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง
#1
การคัดเลือกละอองเกสรที่มีประสิทธิภาพต่อการติดผลทุเรียนในสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง
อภิรดี กอร์ปไพบูลย์, มาลัยพร เชื้อบัณฑิต, ธีรวุฒิ ชุตินันทกุล และนาทระพี สุขจิตไพบูลย์ผล

          การคัดเลือกละอองเกสรที่มีประสิทธิภาพต่อการติดผลทุเรียนในสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง มี 3 การทดลอง คือ 1. ศึกษาความมีชีวิตของละอองเกสรทุเรียนพันธุ์ต่างๆ ที่อุณหภูมิต่างกัน 2.ทดสอบการติดผลในสภาพแปลงเมื่อผสมด้วยเกสรทุเรียนที่ผ่านการคัดเลือกในสภาพอุณหภูมิสูงและต่ำ และ 3. ผลของละอองเกสรที่ผ่านการคัดเลือกต่อคุณภาพของทุเรียน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความมีชีวิตของละอองเกสรทุเรียนพันธุ์พื้นเมือง พันธุ์การค้า และพันธุ์แนะนำของกรมวิชาการเกษตร ที่อุณหภูมิต่างกันเป็นข้อมูลเลือกละอองเกสรใช้ผสมเกสรให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและศึกษาคุณภาพของผลทุเรียนที่ผสมด้วยละอองเกสรที่ผ่านการคัดเลือก ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี ตั้งแต่ เดือนตุลาคม 2559 - กันยายน 2561 โดยเลี้ยงละอองเกสรพันธุ์กระดุม พวงมณี จันทบุรี 3 กบแม่เฒ่า ชะนี ชมพูศรี ก้านยาวสีนาค ชายมะไฟ นกหยิบ และหลงลับแล บนอาหารเลี้ยงเกสร (Brewbaker and Kwack, 1963) และ บนปลายยอดเกสรตัวเมียพันธุ์หมอนทอง ที่อุณหภูมิ 10 15 20 25 30 และ 35 oC พบว่า ละอองเกสรพันธุ์จันทบุรี 3 สามารถงอกในอาหารเลี้ยงเกสร และบนปลายยอดเกสรตัวเมียของพันธุ์หมอนทองได้ดีที่สุด ที่อุณหภูมิ 10 15 20 25 30 และ 35 oC เท่ากับ 70.18 79.18 70.69 60.83 58.95 และ 58.78 % ตามลำดับ เมื่อทดสอบการติดผลในสภาพแปลง วางแผนการทดลองแบบ RCB มี 4 กรรมวิธี คือ 1. อุณหภูมิ 23.3 oC ผสมเกสรพันธุ์หมอนทองกับเกสรตัวเมียพันธุ์หมอนทอง(ควบคุม) 2. ที่ 15 oC ผสมเกสรพันธุ์จันทบุรี 3 กับเกสรตัวเมียพันธุ์หมอนทอง 3. ที่ 30 oC ผสมเกสรพันธุ์จันทบุรี 3 กับเกสรตัวเมียพันธุ์หมอนทอง 4. ที่ 35 oC ผสมเกสรพันธุ์จันทบุรี 3 กับเกสรตัวเมียพันธุ์หมอนทอง พบว่า การผสมเกสรที่ 30 oC มีร้อยละการติดผลมากที่สุด คือ ร้อยละ 18.68 รองลงมา คือ ที่ 35 oC มีร้อยละการติดผล คือ ร้อยละ 13.40 และการผสมเกสรที่ 23.3 oC (ควบคุม) มีร้อยละการติดผล ร้อยละ11.14 ส่วนที่ 15 oC การผสมเกสร ไม่สามารถติดผลได้ การเจริญเติบโตของผลทุเรียนเดือนที่ 1 2 3 และ 4 ไม่แตกต่างกัน สีเปลือก YG146 และ YG152 สีเนื้อ Y10B ทดสอบชิมมีลักษณะตรงตามพันธุ์หมอนทอง แต่เมื่อวิเคราะห์สารระเหยให้กลิ่นด้วยเครื่องแก๊สโครมาโทกราฟี headspace SPME fiber DVB/CAR/PDMS พบว่าในทุเรียนพันธุ์หมอนทองที่ผสมด้วยเกสรทุเรียนพันธุ์จันทบุรี 3 มีสารระเหยที่ให้กลิ่นคล้ายกับทุเรียนพันธุ์จันทบุรี 3


ไฟล์แนบ
.pdf   36_2561.pdf (ขนาด: 1.44 MB / ดาวน์โหลด: 924)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม