โครงการลดการใช้สารเคมีในการปลูกกะหล่ำปลีในพื้นที่สูงจังหวัดตากโดยการใช้ไส้เดือนฝอย
#1
โครงการลดการใช้สารเคมีในการปลูกกะหล่ำปลีในพื้นที่สูงจังหวัดตากโดยการใช้ไส้เดือนฝอยกำจัดแมลงศัตรูพืชและการปลูกพืชแบบผสมผสาน
วีรวัฒน์ นิลรัตนคุณ, พิจิตร ศรีปิ่นตา, นุชนารถ ตั้งจิตสมคิด, วราภรณ์ อุดมดี, รุ่งทิวา ดารักษ์, พินิจ เขียวพุ่มพวง, เกษตริน ฝ่ายอุประ, ศิวดล นุ่มเนตร และจารุพรรณ สุดสวาท

          วัตถุประสงค์เพื่อทดสอบการผลิตและใช้ไส้เดือนฝอยกำจัดแมลงศัตรูกะหล่ำปลีในพื้นที่แปลงใหญ่ เพื่อลดการใช้สารเคมี และพัฒนาระบบการปลูกพืชแบบผสมผสานบนพื้นที่สูงทดแทนการปลูกกะหล่ำปลี ในพื้นที่เกษตรกรบ้านอุ้มเปี้ยม ตำบลคีรีราษฎร์ อำเภอพบพระ และบ้านแม่กลองน้อย ตำบลโมโกร อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก ปี 2560 - 2561 พบว่ามีเกษตรกรร่วมโครงการ 20 คน พื้นที่ 101 ไร่ เกษตรกรใช้ไส้เดือนฝอยสลับกับบีที (Bacillus thuringiensis) และสารเคมี ในการปูองกันกำจัดแมลง โดยใช้ไส้เดือนฝอย 67.3 เปอร์เซ็นต์ ใช้บีทีและสารเคมี 12.7 และ 20.0 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ไส้เดือนฝอยมีต้นทุน 90 บาทต่อไรต่อครั้ง ถูกกว่าบีที และสารเคมีกำจัดแมลงที่มีต้นทุน 450 และ 333 บาทต่อไร่ต่อครั้ง ตามลำดับ ตรวจไม่พบสารพิษตกค้างในตัวอย่างผักที่พ่นด้วยไส้เดือนฝอยก่อนการเก็บเกี่ยว ไม่พบการปนเปื้อนของสารเคมีในลำธารที่ไหลผ่านพื้นที่ปลูกกะหล่ำปลี แต่พบการปนเปื้อนของสารอิมิดาโครลพริด 0.2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ในตัวอย่างดินจากแปลงที่ใช้เฉพาะสารเคมีกำจัดแมลง ในส่วนของการพัฒนาแปลงต้นแบบการปลูกพืชแบบผสมผสาน บนพื้นที่สูง ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ 1) คัดเลือกเกษตรกรที่มีความสนใจ 2) ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตพืช และ 3) ท่าแปลงต้นแบบแบบเกษตรกรมีส่วนร่วม โดยมีมะคาเดเมีย อะโวคาโด พลับ และพีช เป็นพืชหลัก กาแฟอาราบิก้าเป็นพืชรอง กล้วยเป็นพืชร่มเงา ได้แปลงต้นแบบ 9 แปลง พื้นที่ 64 ไร่ มีแปลงต้นแบบ 7 แปลง ที่มีความพร้อม สามารถยกเป็นแปลงต้นแบบการปลูกพืชแบบผสมผสานบนพื้นที่สูง สำหรับให้เพื่อนเกษตรกรมาศึกษาดูงานได้ เกษตรกรที่ร่วมโครงการมีความมั่นใจในการปรับเปลี่ยนจากการปลูกพืชเดี่ยวมาเป็นการปลูกพืชแบบผสมผสาน


ไฟล์แนบ
.pdf   68_2561.pdf (ขนาด: 918.09 KB / ดาวน์โหลด: 952)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม