ศึกษาผลกระทบจากการบังคับใช้พระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขแล้ว
#1
ศึกษาผลกระทบจากการบังคับใช้พระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขแล้ว เฉพาะส่วนของพืชอนุรักษ์
มานิตย์ ใจฉกรรจ์, สุรไกร สังฆสุบรรณ์, ดวงเดือน ศรีโพทา, ภิรมย์ เจริญศรี, สุมาลี ทองดอนแอ, ปวีณา ทะรักษา และยอดหญิง ทองธีระ
ส านักคุ้มครองพันธุ์พืช  

          การศึกษาผลกระทบจากการบังคับใช้พระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขแล้ว เฉพาะส่วนของพืชอนุรักษ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของกฎหมายพันธุ์พืชในส่วนของพืชอนุรักษ์และอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ปุาและพืชปุาที่ใกล้สูญพันธุ์ หรืออนุสัญญาไซเตส ที่มีต่อผู้นำเข้า ผู้ส่งออก ผู้รับใบสำคัญขึ้นทะเบียนสถานที่เพาะเลี้ยงพืชอนุรักษ์ เกษตรกร ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เพื่อให้ได้แนวทางในการพัฒนากฎหมายพันธุ์พืชในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าส่งออก การขึ้นทะเบียนสถานที่เพาะเลี้ยงพืชอนุรักษ์ที่เหมาะสมกับประเทศไทย ทำการศึกษาโดยการค้นคว้าข้อมูลบทบัญญัติของกฎหมายจาก บทความ วารสาร และเอกสารวิชาการที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ และการจัดประชุม/สัมมนา และสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ แล้วนำข้อมูลมารวบรวมเพื่อทำการวิเคราะห์หาข้อสรุป

          จากการศึกษาพบว่า ประเทศไทยมีการกำหนดมาตรการการด าเนินงานตามพันธกรณีที่ได้ให้ไว้กับอนุสัญญาไซเตสอย่างครบถ้วน โดยเฉพาะมาตรการทางด้านกฎหมายที่ได้ปรับปรุงพระราชบัญญัติพันธุ์พืช ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2535 โดยเพิ่มเติมในส่วนของพืชอนุรักษ์เพื่อรองรับการดำเนินงานทางด้านพืชปุา การกำหหนดมาตรการดังกล่าวมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดีคือ ทำให้ประสิทธิภาพในการควบคุมการค้าพืชอนุรักษ์เพิ่มมากขึ้น มีสิทธิในการร้องขอให้ประเทศภาคีอื่นๆ ช่วยดูแลพืชที่ใกล้สูญพันธุ์ของประเทศผ่านทางสำนักเลขาธิการไซเตส นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมให้ทำการค้าพืชอนุรักษ์ที่ได้จากการขยายพันธุ์เทียมเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะกล้วยไม้ และยังเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับประเทศไทยในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ข้อเสียคือ พนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับผลกระทบในการบังคับใช้กฎหมายเนื่องจากอนุสัญญาไซเตสมีการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบทุกการประชุมสมัยสามัญภาคีอนุสัญญาฯ นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องอัตรากำลังของพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอ การขาดแคลนงบประมาณในการพัฒนาศักยภาพของพนักงานเจ้าหน้าที่ ความต่อเนื่องในการสนับสนุนการดำเนินงานของเครือข่ายในการปูองกันและปราบปรามการค้าสัตว์ปุาและพืชป่าที่ผิดกฎหมาย เนื่องจากในการปฏิบัติงานจริงโดยเฉพาะในส่วนภูมิภาคต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน และขาดงบประมาณในการดูแลรักษาพืชอนุรักษ์ของกลาง ส่วนผลกระทบที่มีต่อผู้ประกอบการนำเข้า ส่งออก เช่น ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎระเบียบของพ.ร.บ.พันธุ์พืช ในการขอหนังสืออนุญาตนำเข้า ส่งออก และนำผ่านพืชอนุรักษ์ และหนังสือรับรองการส่งออกพืชลูกผสม จึงทำให้การสื่อสารระหว่างพนักงานเจ้าหน้าที่กับผู้ประกอบการคลาดเคลื่อนได้ การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับอนุสัญญาไซเตส รวมทั้งช่องทางในการติดต่อสื่อสารกับหน่วยงานที่รับผิดชอบ ส่วนผลกระทบที่มีต่อผู้มีส่วนเสียกับการขึ้นทะเบียนสถานที่เพาะเลี้ยงพืชอนุรักษ์พบว่า จากบทบัญญัติของพระราชบัญญัติพันธุ์พืชที่กำหนดให้ผู้ที่ต้องการขยายพันธุ์เทียมพืชอนุรักษ์เพื่อการค้า จะต้องยื่นขอขึ้นทะเบียนสถานที่เพาะเลี้ยงพืชอนุรักษ์กับกรมวิชาการเกษตร โดยพ่อ - แม่พันธุ์ที่นำมาขยายพันธุ์เทียมจะต้องได้มาโดยชอบด้วยกฎหมาย และจะต้องมีการคงไว้ซึ่งจำนวนพ่อแม่พันธุ์ รวมทั้งต้องมีการจัดการ และควบคุมสภาวะแวดล้อมให้ต่างจากการเจริญเติบโตในธรรมชาติ จากการประเมินผลการดำเนินงานรับขึ้นทะเบียนสถานที่เพาะเลี้ยงพืชอนุรักษ์ของกรมวิชาการเกษตรที่ได้กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขึ้นทะเบียนสถานที่เพาะเลี้ยงพืชอนุรักษ์อย่างเข้มงวดหลายเงื่อนไขนั้น ผู้รับใบสำคัญฯ ไม่สามารถปฏิบัติตามได้ทั้งหมด ส่วนหนึ่งเกิดจากข้อกฎหมายไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของเกษตรกรไทย

          ข้อเสนอแนะในการแก้ไขผลกระทบจากการที่ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาไซเตสจึงต้องมีการเพิ่มพูนความรู้ความสามารถของพนักงานเจ้าหน้าที่โดยให้การสนับสนุนงบประมาณอย่างต่อเนื่องในการฝึกอบรมทั้งในและต่างประเทศและสนับสนุนกิจกรรมเครือข่ายความร่วมมือในการปูองกันการกระทำผิดเกี่ยวกับการค้าสัตว์ปุาและพืชป่าที่ผิดกฎหมาย นอกจากนี้ก่อนที่ภาครัฐจะกำหนดหลักเกณฑ์ใดๆ ควรศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ที่เป็นจริง กลุ่มวิจัยอนุสัญญาไซเตสด้านพืช ในฐานะฝุายปฏิบัติการอนุสัญญาไซเตสจะต้องทำความเข้าใจในหลักปฏิบัติของกฎหมายทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ และวางมาตรการในการปฏิบัติให้เหมาะสมสอดคล้องกับประเทศไทยและมีความยืดหยุ่นเป็นกรณีไป นอกจากนี้ยังต้องมีการนำมาตรการที่มิใช่มาตรการทางกฎหมายเข้ามาช่วยเพื่อให้เกิดความร่วมมือในการปฏิบัติ เช่น การประชาสัมพันธ์ให้ภาคประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอนุสัญญาไซเตสอย่างทั่วถึง การสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อลดปัญหาการนำออกมาจากป่าและไม่สนับสนุนผู้ค้าของป่า เป็นต้น


ไฟล์แนบ
.pdf   19_2555.pdf (ขนาด: 297.98 KB / ดาวน์โหลด: 1,575)
ตอบกลับ


ข้อความในเรื่องนี้
ศึกษาผลกระทบจากการบังคับใช้พระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขแล้ว - โดย doa - 10-06-2016, 04:01 PM



ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม