ประสิทธิภาพของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากเห็ดเรืองแสง Neonothopanus nambi ต่อไส้เเดือนฝอย
#1
ประสิทธิภาพของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากเห็ดเรืองแสง Neonothopanus nambi ต่อไส้เเดือนฝอยรากปม (Meloidogyne incognita) ในพริก
สุรีย์พร บัวอาจ, นุชนาถ ตั้งจิตสมคิด, บูรณี พั่วพงษ์แพทย์ และวิลาวัณย์ ใครคร่วญ
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และกลุ่มวิชาการ สถาบันวิจัยพืชสวน

          จากการวิเคราะห์เปอร์เซ็นต์การเกิดปมที่รากพริก หลังปลูกเชื้อด้วยเส้นใยจากก้อนเชื้อเห็ดเรืองแสง N. nambi ที่อัตรา 10, 20, 30, 40 และ 50 กรัมต่อกระถาง ทดสอบกับไส้เดือนฝอยรากปม M. incognita พบว่า ทุกอัตราการใช้ก้อนเชื้อเห็ดเรืองแสง สามารถควบคุมไส้เดือนฝอยรากปมได้ทุกอัตรา โดยเฉพาะที่อัตรา 10 กรัมต่อกระถาง สามารถลดจำนวนการเกิดปมที่รากได้ดีที่สุด คือ 84.6 เปอร์เซ็นต์ โดยมีเปอร์เซ็นต์การเกิดปมเพียง 12.40 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งมีความแตกต่างกันทางสถิติ และเมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีที่มีไส้เดือนฝอยรากปมเพียงอย่างเดียว หรือการใช้สารเคมี carbofuran® พบการเกิดปมสูงถึง 75.60 และ 60 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ

          ดังนั้นจากการศึกษานี้ชี้ให้เห็นถึงแนวทางการนำเอาสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากเห็ดเรืองแสง N. nambi ไปใช้ในการควบคุมไส้เดือนฝอยรากปม ซึ่งจะนำไปสู่การใช้ประโยชน์ของสารออกฤทธิ์จากเห็ดเรืองแสงได้อย่างถูกต้อง และพัฒนาต่อไปเพื่อใช้ในการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี อันจะเป็นแนวทางในการอนุรักษ์สภาพแวดล้อม เพื่อช่วยลดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในที่สุด


ไฟล์แนบ
.pdf   2020_2554.pdf (ขนาด: 216.33 KB / ดาวน์โหลด: 873)
ตอบกลับ


ข้อความในเรื่องนี้
ประสิทธิภาพของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากเห็ดเรืองแสง Neonothopanus nambi ต่อไส้เเดือนฝอย - โดย doa - 11-02-2015, 09:20 AM



ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม