การทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและการยืดอายุการเก็บรักษา ลิ้นจี่พันธุ์นครพนม 1
#1
การทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและการยืดอายุการเก็บรักษา ลิ้นจี่พันธุ์นครพนม 1
มะนิต สารุณา, ปัญจพล สิริสุวรรณมา, นิยม ไข่มุกข์ และช านาญ กสิบาล
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครพนม

การทดสอบเทคโนโลยีการตัดแต่งกิ่งร่วมกับการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินกับลิ้นจี่พันธุ์นครพนม1
มะนิต สารุณา, ปัญจพล สิริสุวรรณมา, นิยม ไข่มุกข์ และชำนาญ กสิบาล
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครพนม

          การทดสอบเทคโนโลยีการตัดแต่งกิ่งร่วมกับการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินกับลิ้นจี่พันธุ์นครพนม 1 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตลิ้นจี่พันธุ์นครพนม 1 ได้วางแผนการทดสอบ แบบ RCB 2 ซ้ำ 2 กรรมวิธี คือ 1) กรรมวิธีทดสอบ และ 2) กรรมวิธีเกษตรกร โดยกรรมวิธีทดสอบ มีการแต่งกิ่งและควบคุมทรงพุ่มทุกปี ตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร (2552) และใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร (2558) ส่วนกรรมวิธีเกษตรกร มีการตัดแต่งกิ่ง และใช้ปุ๋ยตามวิธีการที่เกษตรกรเคยปฏิบัติ การดูแลรักษาอื่นๆ ตามวิธีการที่เกษตรกรดำเนินการ ซึ่งมีเกษตรกรเข้าร่วมการทดสอบ จำนวน 10 แปลง พื้นที่ปลูกแปลงละ 2 ไร่ ต้นลิ้นจี่มีอายุ 7 - 20 ปี ความสูงต้น 4.02 - 6.88 เมตร ขนาดทรงพุ่ม 4.65 - 8.09 เมตร เกษตรกรเข้ารับร่วมรับฟังคำชี้แจงการปฏิบัติงาน และการถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องการตัดแต่งกิ่ง วิธีการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร ที่ถูกต้องแก่เกษตรกร รวมถึงการปฏิบัติงานตามแผนการทดลองสุ่มเก็บตัวอย่างดินเพื่อตรวจวิเคราะห์ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ก่อนการใส่ปุ๋ย ผลการทดลองพบว่า ในปี 2559 ลิ้นจี่แปลงทดลองทั้ง 10 แปลง มีการออกดอก และติดผลน้อยมาก เนื่องจากสภาพอากาศมีความแปรปรวนสูง ความหนาวเย็นต่อเนื่องไม่เพียงพอต่อการกระตุ้นให้ต้นลิ้นจี่ออกดอก และในปี 2560 ตั้งแต่ปีที่ 1 – ปีที่ 2 หลังการเก็บเกี่ยวผลผลิต ทั้งสองกรรมวิธีไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตของต้นลิ้นจี่ แต่มีผลต่อการออกดอก ติดผล ปริมาณและคุณภาพผลผลิตของลิ้นจี่พันธุ์นครพนม 1 ซึ่งวิธีที่เหมาะสมที่สุด คือ กรรมวิธีทดสอบ ทั้งนี้เพราะสามารถทำให้ต้นลิ้นจี่พันธุ์นครพนม 1 มีจำนวนต้นที่ออกดอกมากกว่ากรรมวิธีเกษตรกรเฉลี่ย 47.4 ต่อ 29.6 เปอร์เซ็นต์ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ ด้านผลผลผลิตรวม กรรมวิธีทดสอบสูงกว่ากรรมวิธีเกษตรกรเฉลี่ย 223.5 ต่อ 99.5 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนปริมาณและคุณภาพของผลผลิตนั้น กรรมวิธีทดสอบ มีจำนวนผลต่อกิโลกรัม น้ำหนักผลต่อกรัม และความหวาน (Brix) สูงกว่ากรรมวิธีเกษตรกรเฉลี่ย 30.1 33.3 และ 17.6 ต่อ 34.3 29.3 และ 17.1 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ทำให้ผลผลิตที่ได้มาตรฐาน คือ ผลมีขนาดใหญ่ มีน้ำหนักเนื้อมากสูงกว่า ขณะที่ในกรรมวิธีเกษตรกร มีเพียงบางส่วนที่เท่านั้นที่ผลผลิตได้มาตรฐาน ซึ่งส่วนใหญ่พบว่าผลมีขนาดค่อนข้างเล็ก ไม่ค่อยมีเนื้อ มีน้ำหนักเปลือกมาก และมีน้ำหนักผลน้อย


ไฟล์แนบ
.pdf   50_2560.pdf (ขนาด: 5.12 MB / ดาวน์โหลด: 959)
ตอบกลับ


ข้อความในเรื่องนี้
การทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและการยืดอายุการเก็บรักษา ลิ้นจี่พันธุ์นครพนม 1 - โดย doa - 09-13-2018, 03:53 PM



ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม