ศึกษาผลของอุณหภูมิต่อชีววิทยาและนิเวศวิทยาของแตนเบียนไข่ Trichogramma confusum
#1
ศึกษาผลของอุณหภูมิต่อชีววิทยาและนิเวศวิทยาของแตนเบียนไข่ Trichogramma confusum
นงนุช ช่างสี, รจนา ไวยเจริญ, ณัฏฐิณี ศิริมาจันทร์ และพัชรีวรรณ จงจิตเมตต์
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช


          จากผลการทดลองพบว่า วงจรชีวิตของแตนเบียนไข่ไตรโคแกรมมาจะสั้นมากที่สุดที่ 35 องศาเซลเซียส โดยมีวงจรชีวิต 6 - 7 วัน และมีค่าเฉลี่ยที่ 6.47 - 6.73 วัน ซึ่งการเลี้ยงที่อุณหภูมิ 35 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2 วัน แล้วนามาเลี้ยงต่อที่อุณหภูมิห้อง (อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 24.4 - 36.13 องศาเซลเซียส เฉลี่ย 30.80 องศาเซลเซียส) มีวงจรชีวิตที่สั้นที่สุด และที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส จะมีวงจรชีวิตยาวที่สุด เป็นเวลา 6 - 9 วัน และมีค่าเฉลี่ยที่ 6.85 - 7.00 วัน เมื่อเลี้ยงที่ระยะเวลาต่างกัน และการเลี้ยงที่อุณหภูมิ 37 และ 39 องศาเซียส เป็นเวลา 1 - 3 วัน สามารถพัฒนาเป็นตัวเต็มวัยได้ แต่มีวงจรชีวิตที่ยืดยาวออกไปมากกว่าการเลี้ยงที่อุณหภูมิห้องปกติที่ไม่ได้ควบคุมอุณหภูมิ แสดงให้เห็นว่าเมื่อตัวอ่อนต้องเจริญเติบโตในสภาพที่มีอุณหภูมิสูงติดต่อกันหลายวัน จะมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของตัวอ่อนมากขึ้น โดยทาให้มีพัฒนาการที่ไม่ปกติ ต้องใช้ระยะเวลาในการพัฒนาการจนออกเป็นตัวเต็มวัยนานมากขึ้น และที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส มีอัตราการเบียนของพ่อแม่พันธุ์ 95% และแตนเบียนรุ่นที่ 1 อัตราการเบียน 93% และมีอัตราการเบียนลดลงในแตนเบียนที่มีอายุวันที่เพิ่มขึ้นในอุณภูมิต่างๆ และที่อุณหภูมิ 37 และ 39 องศาเซลเซียส แตนเบียนไข่รุ่นที่ 1 ไม่พบอัตราการเบียนเนื่องจากไม่พบการพัฒนาเป็นตัวเต็มวัย และพบอัตราการออกเป็นตัวเต็มวัยในแตนเบียนเบียนไข่รุ่นที่ 1 จากพ่อแม่พันธุ์แตนเบียนไข่อายุ 2 วัน มากที่สุดที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส และอายุแตนเบียนไข่ตัวเต็มวัยมีผลต่อประสิทธิภาพการเบียนและการออกเป็นตัวเต็มวัยของแตนเบียนรุ่นถัดไป


ไฟล์แนบ
.pdf   118_2561.pdf (ขนาด: 632.43 KB / ดาวน์โหลด: 1,388)
ตอบกลับ


ข้อความในเรื่องนี้
ศึกษาผลของอุณหภูมิต่อชีววิทยาและนิเวศวิทยาของแตนเบียนไข่ Trichogramma confusum - โดย doa - 10-21-2019, 11:23 AM



ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม