การจัดการน้ำที่เหมาะสมในการผลิตสับปะรดตราดสีทองและปัตตาเวียในภาคตะวันออก
#1
การจัดการน้ำที่เหมาะสมในการผลิตสับปะรดตราดสีทองและปัตตาเวียในภาคตะวันออก
ชมพู จันที, ภิรมย์ ขุนจันทึก และศิริพร วรกุลดำรงชัย
กรมวิชาการเกษตร

          การศึกษาการจัดการน้ำที่เหมาะสมในการผลิตสับปะรดตราดสีทองและปัตตาเวียในภาคตะวันออก มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความถี่ในการให้น้ำ และปริมาณน้ำที่เหมาะสมสำหรับการเพิ่มปริมาณและคุณภาพผลผลิตของสับปะรด ดำเนินการที่ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี ระหว่างเดือนตุลาคม 2548 ถึงเดือนกันยายน 2551 พบว่าในปี 2549/2550 ต้นสับปะรดที่ให้น้ำและไม่ให้น้ำมีการเจริญเติบโตทางลำต้นไม่แตกต่างกันทางสถิติ เนื่องจากมีการกระจายตัวและปริมาณน้ำฝนมาก และมีปริมาณผลผลิต/ไร่เฉลี่ย 7,556.68 และ 6,331.88 กก./ไร่ ในพันธุ์ปัตตาเวียและตราดสีทอง ตามลำดับ และในปี 2550/2551 สับปะรดมีการเจริญเติบโตทางลำต้นในช่วงฤดูแล้ง ต้นสับปะรดที่มีการให้น้ำมีขนาดใบ (ความกว้างและความยาว) น้ำหนักสดและน้ำหนักแห้งใบมากกว่าต้นที่ไม่ให้น้ำ และพบว่าต้นสับปะรดที่ให้น้ำมีปริมาณผลผลิต/ไร่ มากกว่าต้นที่ไม่ให้น้ำ แต่ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ มีค่าเฉลี่ย 9,118.50 และ 6,172.03 กก. นอกจากนี้ยังพบว่าคุณภาพผลผลิตทั้งภายนอกและภายในไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ยกเว้นปี 2549/2550 สับปะรดพันธุ์ตราดสีทองที่ให้น้ำมีสัดส่วนปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ทั้งหมด/ปริมาณกรดมากกว่าที่ไม่ให้น้ำ และปี 2550/2551 พันธุ์ปัตตาเวียที่ให้น้ำมีน้ำหนักผลและความยาวผลมากกว่าที่ไม่ให้น้ำ แต่มีความยาวจุกน้อยกว่า
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม