การสร้างต้นแบบเครือข่ายการผลิตมังคุดคุณภาพจังหวัดจันทบุรี
#1
การสร้างต้นแบบเครือข่ายการผลิตมังคุดคุณภาพจังหวัดจันทบุรี
สมบัติ  ตงเต๊า, ส าเริง ช่างประเสริฐ, มาลัยพร เชื้อบัณฑิต, ธีรวุฒิ ชุตินันทกุล, พิศาล หรินทรานนท์, อลงกรณ์ กรณ์ทอง และครรชิต พุทธโกษา
ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี, สำนักวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ และสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

          การวิจัยการสร้างต้นแบบเครือข่ายการผลิตมังคุดคุณภาพจังหวัดจันทบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเทคโนโลยีการผลิตมังคุดคุณภาพของกรมวิชาการเกษตร ไปขยายพัฒนาและปรับใช้เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรและกลุ่มเกษตรกรชาวสวนมังคุดจังหวัดจันทบุรี สามารถผลิตมังคุดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถเป็นต้นแบบในการถ่านทอดเทคโนโลยี และขยายผลให้เกษตรกร กลุ่มเกษตรกร หรือชุมชนที่สนใจนำรูปแบบไปใช้ในการปฏิบัติ ในการดำเนินการวิจัยให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว จะใช้องค์ความรู้ผลิตมังคุดคุณภาพ เป็นกลไกหลักในการพัฒนาให้กลุ่มเกษตรมีจุดหมายร่วมกันและพร้อมที่จะพัฒนาร่วมกัน โดยเข้าไปดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนพฤษภาคม 2552-กันยายน 2554 กับกลุ่มผู้ปลูกมังคุดจังหวัดจันทบุรีจำนวน 15 กลุ่มจาก 7 อำเภอได้แก่อำเภอลุง อำเภอเมือง อำเภอมะขาม อำเภอคิชฌกูฏ อำเภอนายายอาม และอำเภอโป่งน้ำร้อน โดยขั้นตอนการดำเนินงาน เริมจากสำรวจ คัดเลือกวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายเพื่อประเมินศักยภาพกลุ่ม การฝึกอบรมให้ความรู้ การสร้างแปลงต้นแบบในการผลิตมังคุดคุณภาพพร้อมกับพลักดันให้มี การอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เทคโนโลยีและการจัดการแปลงจากการฝึกอบรมและจากแปลงต้นแบบ เพื่อให้ได้ผลผลิตมังคุดคุณภาพและเพิ่มมูลค่ามังคุดจากการแปรรูป ก่อนที่จะสรุปประเมินผลการเปลี่ยนแปลงที่เกินหลังจากการเข้าร่วมงานวิจัยแล้ว ผลการดำเนินงานพบว่ากลุ่มเกษตรกรทั้ง 15 กลุ่มมีแนวคิดที่จะร่วมพัฒนากระบวนการผลิตมังคุดให้ได้คุณภาพ และต่างก็มีวิธีการผลิตที่หลากหลายเพื่อให้เกิดต้นแบบเทคโนโลยีและแปลงเรียนรู้โดยใช้องค์ความรู้ทางวิชาการเป็นหลัก จึงดำเนินการจัดฝึกอบรมเทคโนโลยีการผลิตมังคุดคุณุภาพและการแปรรูปมังคุด จักทำแปลงต้นแบบการผลิตมังคุดคุณภาพตามเทคโนโลยีตามที่ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี แนะนำจากตัวแทนเกษตรกร 7 กลุ่ม เพื่อให้เกษตรกรได้เรียนรู้เทคโนโลยีจากการปฏิบัติจริง ตามผลข้อมูลผลการดำเนินการที่ได้จากแปลงต้นแบบทั้ง 7 แปลง พบว่าเมื่อมีการนำเทคโนโลยีการผลิตมังคุดคุณภาพไปใช้ในการบวนการผลิตแล้วสามารถลดต้นทุนการผลิตมังคุดได้ระหว่าง1-4 บาทต่อกิโลกรัม ผลผลิตมังคุดเพิ่มขึ้นระหว่าง0.2-5 ตันต่อแปลง และได้ผลผลิตมังคุดคุณภาพเพิ่มขึ้นจากที่เคยปฏิบัติอยู่เดิมระหว่าง 15-80% โดยมังคุดคุณภาพที่เกษตรกรผลิตได้มีลักษณะดี ผิวมัน ไม่ตกกระ และผลมังคุดมีน้ำหนักเฉลี่ยมากกว่า 80 กรัม อยู่ในมาตรฐานที่จะส่งไปจำหน่ายในต่างประเทศได้ด้วนเหตุนี้กลุ่มเกษตรกรที่ร่วมกันเป็นเครือข่ายการผลิตมังคุดคุณภาพจังหวัดจันบุรี จังได้รวมตากันจำหน่ายมังคุดไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน และเวียดนาม รวมผลผลิตที่นำไปจำหน่าย จำนวน 590 ตัน สามารถเพิ่มมูลค่าราคามังคุดได้ระหว่าง 25-62 บาท/กิโลกรัม เทคโนโลยีการผลิตมังคุดคุณภาพที่กลุ่มตัวแทนทั้ง 7 กลุ่มดำเนินงาน ได้นำไปถ่ายทอดให้กับกลุ่มเกษตรกร 8 กลุ่มที่เหลือ โดยการจักประชุมให้เกษตรกรที่เป็นสมาชิกเครือข่ายทั้ง 15 กลุ่มได้มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การผลิตตลอดจนและเปลี่ยนประสบการณ์การเพิ่มมูลค่าผลผลิตมังคุดโดยมีการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้แกเจลล้างมือ โลชั่น แชมพูและครีมนวดผมซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรีนำไปพัฒนาถ่ายทอดให้เกษตรกรด้วยเช่นกัน เฉพาะในส่วนของแปรรูปปัจจุบันมีกลุ่มที่สนใจดำเนินการต่อเนื่อง 2 กลุ่มคือ กลุ่มปรับปรุงคุณภาพมังคุดบ้านสะโทยและกลุ่มปรับปรุงคุณภาพมังคุดปัถวี สามารถทำรายได้เสริมให้กับกลุ่มระหว่าง 1,200-10,000 บาทเมื่อทำการสรุปประเมินผลความเข้มแข็งของกลุ่ม ก่อนและหลังดำเนินงานโดยใช้เกณฑ์วัดจาก กิจกรรมที่สำคัญ 6 กิจกรรม ได้แก่ การประชุมกลุ่ม จำนวนสมาชิก เงินกองทุนกลุ่ม การแปรรูปกิจกรรมกลุ่ม และกรรมการกลุ่มหลังจากดำเนินงาน 2 ปี 4 เดือน สรุปได้ว่า กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกมังคุดที่เป็นสมาชิกเครือข่ายมีความเข้มแข็งเพิ่มขึ้นจากค่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเริ่มดำเนินการเท่ากับ 346.25 คะแนน เพิ่มชึ้นเป็น 363.75 คะแนนหลังดำเนินงานและเมื่อประเมินผลภาพรวมการดำเนินงานทุกกิจกรรมตลอดช่วงเวลาดำเนินงานที่ผ่านมาสามารถสรุปได้ว่า การใช้องค์ความรู้ การผลิตมังคุดคุณภาพเป็นกลไกหลักในการผลักดันให้กลุ่มเกษตรกรที่ปลูกมังคุด จังหวัดจันทบุรี เชื่อมโยงเป็นเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการผลิต และพัฒนาจนเกิดการรวมตัว เป็นกลุ่มเครือข่ายที่สามารถเรียนรู้ และจัดกระบวนการผลิตแปรรูป และการจัดจำหน่ายผลผลิตมังคุดคุณภาพที่ได้ไปต่างประเทศร่วมกัน จะเกิดความสำเร็จได้นั้น ต้องมีกิจกรรมการฝึกอบรม ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทำแปลงต้นแบบและติดตามผลการดำเนินงาน อย่างต่อเนื่องจึงจะประสบความสำเร็จด้วยดี สำหรับกรณีเสริมสร้างให้กลุ่มมีความเข้มแข็งนั้น ผลการดำเนินงานอาจแตกตางกันไปบ้างขึ้นอยู่กับพื้นฐานความเข้มแข็งของกลุ่ม ความพร้อมของกลุ่ม และประธานกลุ่มนั้นๆเป็นหลัก ซึ่งหากปัจจัยที่เกี่ยวข้องทั้งมวลพร้อมแล้ว ความสำเร็จในการสร้างเครือข่ายจะเกิดขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืนต่อไป


ไฟล์แนบ
.pdf   1878_2554.pdf (ขนาด: 174.73 KB / ดาวน์โหลด: 749)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม