วิจัยโครงสร้างการผลิตการตลาดสับปะรด
#1
วิจัยโครงสร้างการผลิตการตลาดสับปะรด
จารุพรรณ มนัสสากร, สุภาภรณ์ สาชาติ, เกษมศักดิ์ ผลากร และวิทย์ นามเรืองศรี

          การวิเคราะห์โครงสร้างการตลาดสับปะรด จากการรวบรวมศึกษาโอกาสและข้อจำกัดของโครงสร้างการผลิต และการตลาด เพื่อวิเคราะห์ผลมาใช้เป็นข้อสนเทศในการกำหนดแนวทางการผลิต การลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มผลผลิตสับปะรดให้มีปริมาณและคุณภาพเหมาะสม สำหรับผู้บริโภคทั้งภายในและต่างประเทศใช้เป็นข้อสนเทศในการกำหนดแนวทางเร่งรัด และส่งเสริมการแปรรูปผลผลิต สับปะรดเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆในระดับครัวเรือน ชุมชนหรือโรงงาน ผู้ประกอบการ และเพื่อเพิ่มมูลค่าการผลิต และเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร และผู้ประกอบการโดยทำการรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary data) จากเอกสารของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และข้อมูลปฐมภูมิ (Primary data) จากการสำรวจข้อมูลในพื้นที่แหล่งปลูกของเกษตรกร และสุ่มสัมภาษณ์ตามแบบสอบถามในพื้นที่ของจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ตราด และชลบุรี ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2548 ถึงกันยายน 2551 แล้วสรุปวิเคราะห์เชิงปริมาณ และเชิงพรรณนา พบว่า

          การผลิตสับปะรดในปัจจุบันของประเทศไทยมีการผลิตแบบสับปะรดสด และสับปะรดโรงงาน ใช้พันธุ์ปัตตาเวีย พันธุ์นางแล พันธุ์สวี พันธุ์ภูเก็ต พันธุ์ปัตตานี พันธุ์อินทรชิต (ขาว - แดง) พันธุ์ตราดสีทอง พันธุ์ลักกะตา พันธุ์สิงคโปร์ปัตตาเวีย พันธุ์บราซิล พันธุ์ไทนาน พันธุ์ไวน์จีเวล พันธุ์ที่นิยมปลูก คือ พันธุ์ปัตตาเวีย และตราดสีทอง ผลผลิตออกมากช่วงเดือนมีนาคม-มิถุนายน และพฤศจิกาย-มกราคม ผลิตในปี พ.ศ. 2551 ได้ผลผลิต 2.28 ล้านตัน บนเนื้อที่เก็บเกี่ยว 0.58 ล้านไร่ ใช้ในประเทศ 0.62 ล้านตัน ส่งออก 0.745 ล้านตัน และใช้บริโภคสดภายในประเทศ ร้อยละ 20-30 มีโรงงานผลิตสับปะรดกระป๋อง และน้ำสับปะรดที่ผ่านการรับรอง 40 โรงงาน มีกำลังการผลิต 800,000 ตันต่อปี ส่งออกในรูปสับปะรดสด สับปะรดแช่เย็น สับปะรดแช่แข็ง สับปะรดแห้ง สับปะรดกวน สับปะรดกระป๋อง และน้ำสับปะรดเข้มข้น โดยเฉพาะสับปะรดกระป๋อง และน้ำสับปะรดเข้มข้น ส่งออกเป็นรายใหญ่ของโลก ร้อยละ 80 และ 20 ตามลำดับ ราคาที่เกษตรกรขายได้สำหรับสับปะรดโรงงาน มีอัตราเพิ่มต่อปีร้อยละ 2.59 ในปี พ.ศ. 2551 ขายได้ราคา 4.76 บาท เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2550 ร้อยละ 7.94 และราคาที่เกษตรกรขายได้สำหรับสับปะรดสด มีอัตราเพิ่มต่อปี ร้อยละ 4.12 เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2550 ร้อยละ 6.94

          เกษตรกรในจังหวัดตราด นครพนม เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง อายุเฉลี่ยมากสุดอยู่ระหว่าง 15-35 ปีการศึกษาส่วนใหญ่อยู่ที่ระดับประถมศึกษา แต่บางรายจบปริญญาตรี มีสถานภาพเป็นเจ้าของสวนเป็นส่วนใหญ่ผลิตเป็นพื้นที่ราบลาดชัน ไม่เกิน 0.2% ในจังหวัดตราดใช้แหล่งน้ำจากบ่อเก็บน้ำ หรือบาดาล ร้อยละ 48.08 ส่วนจังหวัดนครพนมใช้น้ำจากแหล่งน้ำฝน ร้อยละ 85.71 เกษตรกรในจังหวัดตราดได้ผลผลิตมากกว่า 3,000 กิโลกรัม/ฤดูปลูกร้อยละ 82.69 ส่วนเกษตรกรในจังหวัดนครพนม ได้ผลผลิตมากกว่า 3,000 กิโลกรัม/ฤดูปลูก ร้อยละ 42.86 ส่วนใหญ่ใช้ระยะการเก็บเกี่ยวนาน 1 สัปดาห์ ความรู้ที่ใช้ในการผลิตได้จากสื่อ แล้วประยุกต์ใช้กันเองเป็นส่วนใหญ่และรองลงมาจากเกษตรดีที่เหมาะสมของกรมวิชาการเกษตร เกษตรกรในจังหวัดตราด ใส่ปุ๋ย 2-3 ครั้ง ขณะที่จังหวัดนครพนม ใส่ปุ๋ย 2 ครั้ง ผลผลิตหลังเก็บเกี่ยวแล้วขนย้ายเสร็จภายใน 1 วัน เป็นส่วนใหญ่ โดยในจังหวัดตราด ส่งให้พ่อค้าคนกลาง ร้อยละ 50 และส่งโรงงานร้อยละ 44.23 ส่วนจังหวัดนครพนม ส่งให้พ่อค้าคนกลางทั้งหมดโดยการซื้อ-ขาย ไม่มีการผูกขาดกับพ่อค้ารายใดมากที่สุด ปริมาณการรับซื้อในจังหวัดตราด 2,000-5,000 กิโลกรัมต่อครั้ง ส่วนจังหวัดนครพนมไม่มีการกำหนดปริมาณการรับซื้อ ปัญหาการตลาดส่วนใหญ่มีปริมาณการซื้อขายไม่แน่นอนหรือผิดนัด ส่วนเรื่องขนาดและคุณภาพรองลงมา ในการขนย้าย ใช้ยานพาหนะ ในจังหวัดตราดเป็นแบบรถบรรทุก 4 ล้อ ส่วนในจังหวัดนครพนมเป็นรถลากจูง รถแทรกเตอร์เดินตามบรรทุก เสียค่าใช้จ่ายมากกว่า 2,000 บาทต่อครั้ง เป็นส่วนใหญ่ มีระยะทางห่าง 10-20 กิโลเมตร มากที่สุดร้อยละ 23 ส่วนในจังหวัดนครพนม จะมีระยะทางน้อยกว่า 10 กิโลเมตร สูงสุดร้อยละ 5


ไฟล์แนบ
.pdf   1086_2551.pdf (ขนาด: 1.67 MB / ดาวน์โหลด: 1,322)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม