ศึกษาการผลิตเงาะ
#1
ศึกษาการผลิตเงาะ
นิลวรรณ ลีอังกูรเสถียร, สุชาติ วิจิตรานนท์, ปัญจพร เลิศรัตน์, ภิรมย์ ขุนจันทึก, เสริมสุข สลักเพ็ชร์ และอรวินทินี ชูศรี
สถาบันวิจัยพืชสวน, ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี

          ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรีได้ดำเนินงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเงาะนอกฤดูในภาคตะวันออกจำนวน 3 การทดลอง ในแหล่งปลูกต่างๆ จ.จันทบุรี และ จ.ตราด ระหว่างปีการทดลอง พ.ศ. 2547 - 2551 โดยศึกษาหาวิธีการปรับปรุงโครงสร้างต้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การให้สภาวะเครียดเนื่องจากการขาดน้ำในระดับต่างๆ ต่อการกระตุ้นการออกดอก และการจัดการเขตกรรมหรือการใช้สารเคมีกระตุ้นการออกดอก พบว่า ต้นทดลองที่ทำการควั่นกิ่ง และการให้สารโพแทสเซียมคลอเรตทางดิน มีผลกระตุ้นการออกดอกได้เร็วกว่ากรรมวิธีควบคุม การควั่นกิ่งมีการออกดอกได้เร็วกว่ากรรมวิธีควบคุมประมาณ 10 - 20 วัน และการให้สารโพแทสเซียมคลอเรตทางดิน อัตรา 10 ก./พื้นที่ใต้ทรงพุ่ม 1 ตรม. มีการออกดอกเร็วกว่ากรรมวิธีควบคุมเฉลี่ยประมาณ 10 วัน โดยยังคงมีคุณภาพช่อดอกในด้านความยาวช่อดอก ความหนาแน่นช่อดอกได้ดีกว่ากรรมวิธีควบคุมอย่างเห็นได้ชัดเจนทางสถิติ และมีการติดผล พัฒนาการของผลผลิตได้ดีเช่นกัน ส่งผลให้มีน้ำหนักเฉลี่ยในเกณฑ์ค่อนข้างสูงคือ 40.73 และ 40.20 ก. ตามลำดับ นอกจากนั้นยังให้คุณภาพการบริโภคได้ดี มีความหวานและสัดส่วนที่บริโภคได้ไม่แตกต่างจากผลผลิตที่ได้จากต้นทดลองในกรรมวิธีควบคุมสามารถเก็บเกี่ยวตั้งแต่เดือนเมษายนซึ่งมีราคาเฉลี่ยสูงถึง 25 - 30 บาท/กก. และเก็บเกี่ยวเงาะชุดสุดท้ายราวต้นเดือนพฤษภาคม ที่ยังคงมีราคาเฉลี่ยค่อนข้างสูงคือ 12 - 13 บาท/กก. สูงกว่าราคาเฉลี่ยของผลผลิตในฤดูกาลผลิตที่ได้รับประมาณ 6 - 8 บาท/กก. และจากการติดตามปริมาณไนโตรเจน และปริมาณคาร์โบไฮเดรทที่ไม่อยู่ในโครงสร้าง ในระยะพัฒนาการของดอก พบว่า ปริมาณไนโตรเจนมีการเปลี่ยนแปลงระดับค่อนข้างน้อย มีความเข้มข้นในใบเฉลี่ย 1.97 - 2.0 % ในระยะก่อนออกดอกและลดลงเล็กน้อยคือ 1.91 % ในระยะแทงช่อดอกแล้ว หรือระยะใบที่เริ่มแก่ ส่วนปริมาณคาร์โบไฮเดรทที่ไม่อยู่ในโครงสร้างมีการเปลี่ยนมากกว่า โดยมีระดับที่ค่อยๆ สูงขึ้นในช่วงก่อนออกดอก และลดระดับลงในระยะการแทงช่อดอก หลังจากนั้นจึงมีการสะสมปริมาณคาร์โบไฮเดรทที่ไม่อยู่ในโครงสร้างในระยะต่างๆ เฉลี่ย คือ 4.7 6.1 และ 4.1 % นอกจากศึกษาเทคโนโลยการผลิตเงาะนอกฤดูแล้วยังมีการศึกษาการแก้ปัญหาเงาะผลสดที่มีอายุเก็บรักษาสั้น ขนเงาะดำ สูญเสียคุณภาพในเชิงการค้าภายหลังเก็บรักษาไว้ได้ไม่เกิน 3 วัน ในอุณหภูมิห้อง และ 7 - 10 วันในตู้ควบคุมอุณหภูมิ เป็นสาเหตุของการดำเนินงานเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการเก็บรักษาเงาะผลสดให้ยาวนานขึ้นเพื่อการส่งออกทางเรือ

          การศึกษาเพื่อทดสอบการเก็บรักษาเงาะผลสดให้มีอายุการเก็บรักษาให้ยาวนานขึ้น เริ่มดำเนินการครั้งแรกในปี พ.ศ. 2548 ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี โดยได้รับการสนับสนุนจาากผู้ประกอบการขนส่งทางเรือ ใช้ตู้ควบคุมอุณหภูมิแบบ AFAM+ (Advanced Fresh Air Management) ที่ควบคุมการถ่ายเทอากาศ กำหนดปริมาณความเข้มข้น CO2 12 % อุณหภูมิ 12 องศาเซลเซียส เปรียบเทียบกับตู้ขนส่งที่ใช้ระบบควบคุมอุณหภูมิทั่วไปที่อุณหภูมิ 12 องศาเซลเซียส พบว่าสภาพการเก็บรักษาเงาะผลสดในระบบ AFAM+ สามารถยืดอายุการเก็บรักษาเงาะผลสดได้สูงสุด 19 วัน โดยที่คุณภาพเป็นที่ยอมรับในเชิงการค้า ในขณะที่ตู้ขนส่งที่ควบคุมอุณหภูมิที่ใช้ในการขนส่งทั่วไปที่อุณหภูมิการเก็บรักษา 12 ซ ทั่วไปนั้น เงาะผลสดจะหมดสภาพการยอมรับในเชิงการค้า ตั้งแต่วันที่ 7 - 10 ของการเก็บรักษา ปลายขนดำ ผิวเปลือกเริ่มเน่าเสีย

          ต่อมาในปี พ.ศ. 2549 จึงได้ทดสอบการขนส่งเงาะผลสดทางเรือไปจำหน่ายยังสาธารณรัฐประชาชนจีนโดยใช้เทคโนโลยีที่ได้จากการศึกษาในปี พ.ศ. 2548 โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณส่วนใหญ่จากกรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ พบว่าเงาะผลสดเมื่อขนส่งในตู้ขนส่งระบบ AFAM+ ที่อุณหภูมิ 12 องศาเซลเซียส 12% CO2 เดินทางถึงตลาดเจียงหนัน เมืองกวางเจา สาธารณรัฐประชาชนจีน มีความสมบูรณืใกล้เคียงกับเงาะที่ขนส่งทางอากาศอายุการวางตลาดหลังเปิดตู้อยู่ได้ประมาณ 2 วัน เช่นเดียวกับเงาะสดในประเทศไทย แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นตามมาคือ ปริมาณตู้ขนส่งระบบ AFAM+ มีไม่เพียงพอต่อการใช้ในเชิงธุรกิจ และปริมาณเงาะผลสดที่ขนส่งในตู้ขนส่งขนาด 20 ฟุตนี้ เมื่อเปิดตู้แล้วจะต้องจำหน่ายให้หมดภายใน 2 วัน ซึ่งจะเป็นเป็นปัญหาของการจำหน่ายเงาะผลสดในปริมาณ 7 - 8 ตัน ให้หมดภายใน 2 - 3 วัน จึงทำให้เกิดแนวความคิดในการกระจายตลาดจำหน่ายให้กว้างขึ้น โดยในปี พ.ศ. 2550 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ เพื่อขนส่งเงาะผลสดในบรรจุภัณฑ์แบบขายปลีก ไปยังตลาดหลงอู๋ เพื่อนำไปจำหน่าย ณ โลตัสซุปเปอร์เซ็นเตอร์ นครเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ 24 เมษษยน พ.ศ. 2550 พบว่าผลเงาะสดส่วนใหญ่ยังคงเป็นที่ยอมรับ ผิวเงาะยังคงมีสีแดงปลายเขียว พบตำหนิกระจายทั่วไป ปลายขนเงาะในภาชนะบรรจุได้รับความเสียหายจากการกดทับบ้าง ในการขนส่งไปยังนครเซียงไฮ้ ครั้งนี้ดำเนินการในตู้ AFAM+ ขนาด 20 ฟุต ใช้เวลาเดินทางทั้งสิ้น 18 วัน (ตู้คอนเทนเนอร์ถึงนครเซียงไฮ้ วันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2550) และเมื่อเปิดตู้แล้วจะต้องจำหน่ายให้หมดภายใน 2 วัน เช่นเดียวกัน ทำให้การทดสอบการจำหน่ายในซุปเปอร์เซ็นเตอร์ที่นครเซียงไฮ้ครั้งนี้เงาะเกิดความเสียหายจากการเน่าเสียสูงกว่าปกติ เพราะใช้เวลาเดินทางตามสายการเดินเรือนานกว่าเส้นทางปกติ (แวะพักตู้ที่สิงคโปร์ 5 วัน) การทดสอบการยืดอายุเก็บรักษาเงาะผลสดเพื่อให้สามารถขนส่งทางเรือได้สำเร็จ แต่ปัญหาที่ประสบคือ อายุการวางจำหน่ายในตลาดท้องถิ่น เพราะปริมาณเงาะที่ขนส่งไปในตู้ขนส่งขนาด 20 ฟุต มีปริมาณมากประมาณ 7 - 8 ตันเป็นอย่างน้อย และค่าบริการ AFAM+ ก็จะมีค่าบริการสูงกกว่าตู้ควบคุมอุณหภูมิทั่วไป ในปี พ.ศ. 2551 จึงได้ทำการศึกษาทดสอบการเก็บรักษษเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาเงาะผลสด โดยใช้ถุง LDPE (low density polyetylene) ที่มีค่า ORT (oxygen transmission rate) 10,000 - 12,000 ml/m2/day เก็บรักษาในตู้ขนส่งที่ควบคุมอุณหภูมิ +14 ซ โดยขนส่งไปในตู้เดียวกับมังคุดสดที่ไปจำหน่ายยังสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยเงาะสดที่ใช้บรรจุลงถุง LDPE ขนาด 33 x 22.5" นี้เป็นเงาะที่เก็บเกี่ยวแบบไม่ให้ปลายขนหักช้ำ ในขณะเก็บเกี่ยวต้องมีตาข่ายรองรับใต้ต้นเพื่อป้องกันหล่นกระแกพื้น อายุเงาะจะต้องเป็นเงาะที่มีขน 3 สี คือ เหลือง เขียว ชมพู จะเป็นอายุเงาะที่มีคุรภาพดีที่สุด มีสภาพเมื่อขนส่งถึงปลายทางยังคงสดใสใกล้เคียงกับเมื่อบรรจุลงถุง ใช้เวลาเดินทาง 6 - 11 วัน แต่อายุเงาะที่แก่มากนั้นคือสีปลายขนเริ่มแดง แต่โคนขนยังคงเป็นสีเขียว ก็ยังสามารถใช้บรรจุลงถุง LDPE นี้ได้ แต่คุณภาพเมื่อถึงปลายทางความสดใสจะด้อยกว่าเงาะ 3 สี ในปี พ.ศ. 2551 ดำเนินการทดสอบการจนส่งเงาะผลสดในถุง LDPE ในตู้ควบคุมอุณหภูมิ +14 ซ ไปจำหน่ายยังสาธารณรัฐประชาชนจีนรวม 4 ครั้ง วันที่ 22 24 25 และ 28 เมษษยน พ.ศ. 2550 โดยบรรจุลงในตู้ขนส่งร่วมกับมังคุดได้เป็นผลสำเร็จ ไม่มีปัญหาในการจำหน่ายที่ตลาดปลายทาง คุณภาพเป็นที่พอใจของผู้ค้าตลาดปลายทาง


ไฟล์แนบ
.pdf   1105_2551.pdf (ขนาด: 1.27 MB / ดาวน์โหลด: 645)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม