อิทธิพลของจำนวนวัฏจักรการปลูกที่มีต่อการเจริญเติบโต การให้ผลผลิตและคุณภาพผลผลิตเหง้า
#1
อิทธิพลของจำนวนวัฏจักรการปลูกที่มีต่อการเจริญเติบโต การให้ผลผลิตและคุณภาพผลผลิตเหง้ากระชายกระชายดำ
เสริมสกุล พจนการุณ, มัลลิการ์ แสงเพชร และสุกัญญา วงค์พรชัย

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของระดับความสูงพื้นที่ปลูกที่แตกต่างกันต่อองค์ประกอบทางเคมีของเหง้าด้านปริมาณสารเทอร์พีนอยด์ ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด และความสามารถกำจัดอนุมูลอิสระ ทำการปลูกทดสอบกระชายดำ 3 กรรมวิธี (ใช้พื้นที่ปลูกทดสอบเป็นแต่ละกรรมวิธี) ทำการปลูกทดสอบกระชายดำ ณ ศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตเลย (ภูเรือ) จ.เลย (17 องศาเหนือ, 950 m asl) ใน 3 ฤดูกาลปลูก (วัฏจักรการปลูก) ได้แก่ 1 วัฏจักรการปลูก (2550 - 2551) 2 วัฏจักรการปลูก (2549 - 2551) และ 3 วัฏจักร การปลูก (2548-2551) 3 ซ้ำ (บล็อค)/กรรมวิธี ใช้พื้นที่ปลูก 15 ตารางเมตร ระยะปลูก 20x40 ซม. ทำการปลูกเดือนพฤษภาคม 2548 2549 และ 2550 แล้วเก็บเกี่ยวพร้อมกันในเดือนมกราคม 2551 วัดสีเนื้อในเหง้าในระบบ L* a* b* วิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของเหง้าด้านปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดโดยวิธี Folin-Ciocal Teu และความสามารถกำจัดอนุมูลอิสระโดยวิธี DPPH ณ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่

          ผลการศึกษาพบว่า การปลูก 2 วัฏจักรมีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกสูงที่สุด (70.45 มก./มล.GAE) มีค่า IC50 ต่ำที่สุด (0.1272 มก./มล.) นั่นคือ มีความสามารถกำจัดอนุมูลอิสระสูงที่สุด และ มีค่าสี L* ต่ำแต่มีค่าสี a* สูงอย่างมีนัยสำคัญ (มีความมืด และความเป็นสีแดงของสีเนื้อในเหง้ามากกว่า) สามารถสรุปได้ว่า การปลูก 2 วัฏจักร มีองค์ประกอบทางเคมีภายในเหง้าด้านปริมาณสารประกอบฟีนอลิก และความสามารถกำจัดอนุมูลอิสระสูงที่สุดและมีสีเนื้อในเหง้าตรงตามความต้องการของตลาด


ไฟล์แนบ
.pdf   1038_2551.pdf (ขนาด: 943.59 KB / ดาวน์โหลด: 400)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม