การเพาะเลี้ยงแตนเบียนชนิด Tetrastichus brontispae Ferriere เพื่อใช้ควบคุมแมลงดำหนาม
#1
การเพาะเลี้ยงแตนเบียนชนิด Tetrastichus brontispae Ferriere เพื่อใช้ควบคุมแมลงดำหนามมะพร้าว
รจนา ไวยเจริญ, อัมพร วิโนทัย, รุจ มรกต และประภัสสร เชยคำแหง
กลุ่มกีฎและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          เพื่อศึกษาวิธีเพาะเลี้ยงแตนเบียนชนิด Tetrastichus brontispae Ferriere เป็นปริมาณมากในห้องปฏิบัติการเลี้ยงแตนเบียนชนิด T. brontispae ด้วยดักแด้แมลงดำหนามที่เลี้ยงจากใบแก่มะพร้าว ได้มัมมี่ 50 - 1,062 ตัว/รอบการผลิต เฉลี่ย 221.88 - 667.75 ตัว/รอบ การผลิตสามารถผลิตได้เดือนละ 4 - 8 รอบการผลิตเดือนละ 1,223 - 2,671 ตัว เฉลี่ย 1,886.33 ตัวต่อเดือนและมีอัตราการเบียน 74.5 - 93.9 % เฉลี่ย 85.0 %

          ทดสอบการเก็บรักษาแตนเบียนในมัมมี่ ที่ 10 และ 13 องศาเซลเซียส และตู้เย็นเป็นระยะเวลาต่างกันพบว่า สามารถเก็บได้นาน 14 - 17, 10 - 14 และ 14 - 17 วัน ตามลำดับ และแตนเบียนจะออกจากมัมมี่หลังจากเอาออกจากตู้ควบคุมอุณหภูมิ 1 - 3, 1 - 3 และ 1 - 4 วัน ตามลำดับ

          ทดสอบการเก็บรักษาดักแด้หนอนแมลงดำหนาม ที่ 10 และ13 องศาเซลเซียส และตู้เย็นเป็นระยะเวลา 7, 10, 14, 17 และ 21 วัน แล้วนำมาให้ T. brontispae เบียน พบว่าอัตราการเบียนจะลดลงเมื่อระยะเวลาการเก็บมากขึ้น ที่ 10 องศาเซลเซียสให้ผลดีที่สุด มีอัตราการเบียน 80 และ 65 % เมื่อเก็บเป็นเวลา 7 และ 10 วัน ตามลำดับ สามารถเก็บดักแด้ได้นานที่สุดถึง 21 วัน ที่ 13 องศาเซลเซียส แต่มีอัตราการเบียนลดลงเหลือ 20 %

          ทดสอบอัตราส่วนที่เหมาะสมในการเพาะเลี้ยง โดยใช้มัมมี่พ่อแม่พันธุ์ 1, 2, 3, 4, 5 และ 6 มัมมี่ต่อดักแด้ 100 ตัว เบื้องต้นพบว่า มีอัตราการเบียน 7.3, 42.7, 52.7, 67.8, 72.2 และ 77.7 % ตามลำดับ


ไฟล์แนบ
.pdf   1169_2552.pdf (ขนาด: 178.52 KB / ดาวน์โหลด: 435)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม