ความสัมพันธ์ของไวรัสสาเหตุโรคเส้นใบเหลืองกับพันธุ์กระเจี๊ยบเขียวในแต่ละแหล่งปลูก
#1
ความสัมพันธ์ของไวรัสสาเหตุโรคเส้นใบเหลืองกับพันธุ์กระเจี๊ยบเขียวในแต่ละแหล่งปลูก
วันเพ็ญ ศรีทองชัย และอำนวย อรรถลังรอง
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          เก็บตัวอย่างโรคเส้นใบเหลืองของกระเจี๊ยบเขียวจากจ.พิจิตร 1 ไอโซเลท (OYVV-PC) และ 2 ไอโซเลท (OYVV-KB1 และ OYVV-KB2) จากจ. กาญจนบุรี และนำมาถ่ายทอดโดยแมลงหวี่ขาวลงบนกระเจี๊ยบพันธุ์พิจิตร 03 ซึ่งอ่อนแอต่อโรคนี้พบว่า OYVV-PC เริ่มแสดงอาการเส้นใบเหลืองและเนื้อใบมีสีเขียวเข้มประมาณ 2-3 สัปดาห์ ในขณะที่ไอโซเลท OYVV-KB1 แสดงอาการเส้นใบเหลืองและเนื้อใบมีสีเขียวอ่อน หลังการถ่ายทอดโรคโดยแมลงหวี่ขาว 2-3 สัปดาห์ แต่ OYVVKB2 พบอาการของโรคเริ่มปรากฏให้เห็นหลังการถ่ายทอดเชื้อแล้ว 3-4 สัปดาห์ โดยเส้นใบมีสีเขียวอ่อนหรือสีขาว เนื้อในมีสีเขียวเข้ม ผลการทดสอบความต้านทานของกระเจี๊ยบเขียวจำนวน 19 พันธุ์/สายพันธุ์ จาก ศวส. พิจิตร ต่อโรคเส้นใบเหลือง โดยใช้พันธุ์พิจิตร 03 เป็นพันธุ์เปรียบเทียบโดยใช้ไวรัสทั้ 3 ไอโซเลท พบว่า สายพันธุ์ F1 OK041 และ F1 OK042 มีความต้านทานสูงมากต่อไวรัสทั้ง 3 ไอโซเลท (อัตราการเกิดโรค 0-4 %) แต่สายพันธุ์ N042-B® และ 4369-1® อ่อนแอต่อไวรัสทั้ง 3 ไอโซเลท (อัตราการเกิดโรค 96-100 %) จากผลการทดสอบพบว่า สายพันธุ์ที่ต้านทานต่อไวรัส OYVV-PC มักอ่อนแอต่อ OYVV- KB2 ได้แก่ สายพันธุ์ N025-B®, KN1-B และพันธุ์กรีนสตาร์ 152-B ® (F4) ส่วนสายพันธุ์ที่ต้านทานต่อไวรัส OYVV-PC และ OYVV-KB1 ค่อนข้างสูง (อัตราการเกิดโรค 0-10 %) ได้แก่ F1 OK032, F1 OK040, F1 OK047 และพันธุ์กรีนสตาร์ 152-B ® (F4) (ตารางที่ 1) ส่วนสายพันธุ์ที่เหลือมีความผันแปรค่อนข้างสูง โดยสายพันธุ์ใดที่ค่อนข้างต้านทานต่อ OYVV- KB2 จะมีความต้านทานต่อไวรัสอีก 2 ไอโซเลทด้วยแสดงว่า ไอโซเลท OYVVKB2 ทำให้เกิดความรุนแรงของโรคเส้นใบเหลืองสูงกว่า OYVV-PC และ OYVV-KB1


ไฟล์แนบ
.pdf   1293_2552.pdf (ขนาด: 252.22 KB / ดาวน์โหลด: 348)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม