การบริหารจัดการโรคใบหงิกเหลืองของพริก
#1
การบริหารจัดการโรคใบหงิกเหลืองของพริก
วันเพ็ญ ศรีทองชัย, อำนวย อรรถลังรอง, อุดม คำชา และสมพงษ์ สุขเขตต์
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          ปลูกพริกจำนวน 10 สายพันธุ์/พันธุ์ วางแผนการทดลองแบบ Randomized complete block design (RCB) มี 3 ซ้ำ ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ พันธุ์พริกส่วนใหญ่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์ในโครงการวิจัยของศวส. ศรีสะเกษ และศวส. พิจิตร มีการบริหารจัดการศัตรูพืชโดยใช้สารเคมีที่เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมใช้ เริ่มประเมินการเข้าทำลายของโรคโดยเริ่มพบต้นพริกแสดงอาการใบหงิกเหลืองบริเวณรอบนอกของแปลงปลูกใน 1 เดือนหลังย้ายปลูก จากการตรวจเช็คการเข้าทำลายของโรคใบหงิกเหลืองในพริกสายพันธุ์ต่างๆ ไม่พบการระบาดของโรคนี้ในช่วง 2 เดือนหลังย้ายปลูก แต่เริ่มพบการระบาดของโรคใบหงิกเหลืองในเดือนที่ 3 บนพันธุ์หัวเรือ # 13 และจินดา ศก. 19-1 น้อยมากไม่ถึง 1% แต่กลับพบการระบาดอย่างรุนแรงของโรคจุดวงแหวนที่เกิดจากทอสโพไวรัส (Tospovirus) บนพริกทุกพันธุ์ที่ปลูกทดสอบ โดยพริกแสดงอาการจุดวงแหวนสีเขียวอ่อนบนใบ ซึ่งโรคนี้ระบาดโดยมีเพลี้ยไฟเป็นพาหะนำโรคและมีพืชอาศัยกว้าง จึงได้ทำการตรวจนับและให้คะแนนระดับความรุนแรงของโรคเหมือนกับโรคใบหงิกเหลืองพบว่า โรคนี้เริ่มพบในเดือนที่ 3 หลังย้ายปลูก และระบาดรุนแรงขึ้นในเดือนที่ 6 (มิถุนายน) แต่อัตราการเกิดโรคที่เกิดจากทอสโพไวรัสบนพริกทุกพันธุ์ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ และพันธุ์ที่ให้ผลผลิตทั้งน้ำหนักสดและน้ำหนักแห้งสูงสุด ได้แก่ พันธุ์จินดา ศก. 24, พันธุ์จินดา ศก. 19-1 และพันธุ์ CV 7-5 ในงานทดลองปี 2552 สรุปได้ว่า พันธุ์จินดา ศก. 24 หากได้รับการบริหารจัดการที่ถูกต้อง สามารถให้ผลผลิตสูงและมีความทนทานต่อเชื้อทอสโพไวรัสได้ดีกว่าพริกสายพันธุ์อื่นๆ เมล็ดของพันธุ์ที่มีแนวโน้มทนทานต่อโรคจะได้นำมาทดสอบความต้านทานในเรือนทดลองโดยใช้แมลงหวี่ขาวเป็นพาหะต่อไป


ไฟล์แนบ
.pdf   1289_2552.pdf (ขนาด: 208.86 KB / ดาวน์โหลด: 1,004)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 2 ผู้เยี่ยมชม