วิจัยและพัฒนาปาล์มน้ำมัน
#1
วิจัยและพัฒนาปาล์มน้ำมัน
อรรัตน์ วงศ์ศรี 

โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์ปาล์มน้ำมัน
อรรัตน์ วงศ์ศรี, เกริกชัย ธนรักษ์, ชุมพล เชาวนะ, สุวิมล กลศึก, ยิ่งนิยม ริยาพันธ์, วิชณีย์ ออมทรัพย์สิน, เพ็ญศิริ จำรัสฉาย, สายชล จันมาก, อรุณี ใจเถิง, กาญจนา ทองนะ, ธำรง เชื้อกิตติศักดิ์, สมใจ โควสุรัตน์, จำลอง กกรัมย์, พสุ สกุลอารีวัฒนา, จิราพรรณ สุขชิต, เตือนจิตร เพ็ชรรุณ, กษิดิศ ดิษฐบรรจง, ภุมรินทร์ วณิชชนานันท์, ชยานิจ ดิษฐบรรจง, สุรกิตติ ศรีกุล, หทัยรัตน์ อุไรรงค์, นัยเนตร เจริญสันติ ทานากะ, ดาริกา ดาวจันอัด, เพื่อม วุ้นซิ่ว, ปวีณา ไชยวรรณ์, ประพันธ์ ประเสริฐศักดิ์, อรวินทินี ชูศรี, สมพล นิลเวศน์, สุมาลี สุวรรณบุตร, วสันต์ วรรณจักร และสมพงษ์ สุดเขตต์

           การวิจัยปรับปรุงพันธุ์ปาล์มน้ำมัน รอบที่ 2 ปลูกทดสอบเพื่อคัดเลือกคู่ผสมที่ดีเด่น ผลการดำเนินงาน ได้คัดเลือกพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ปาล์มน้ำมันจากแปลงรวบรวมเชื้อพันธุกรรมที่มีลักษณะการผลิตที่ดี (family Selection) และมีประวัติการให้ลูกผสมดีเด่น และคัดเลือกต้นพ่อและแม่พันธุ์ที่มีลักษณะดีได้ตามมาตรฐาน (Individual selection) ได้ต้นพ่อพันธุ์ ซึ่งเป็นกลุ่มพันธุ์ AVROS, Tanzania, Yangambi, La Me, Ghana, Ekona, Calabar, La Me-AVROS, La Me-Calabar, DAMI-AVROS, Nigeria-Yangambi, Nigeria-AVROS และ Yangambi-AVROS และต้นแม่พันธุ์ ซึ่งอยู่ในกลุ่ม Deli Dura, Kazemba (African Dura) และ Deli-Ekona composite ทำการสร้างคู่ผสม (D x T) จำนวน 69 คู่ผสม ปลูกทดสอบเพื่อคัดเลือกคู่ผสมที่ดีเด่น ผลการดำเนินงานได้คัดเลือกคู่ผสมหมายเลข 198 (Deli x Tanzania) หรือปาล์มน้ำมันลูกผสมสุราษฎร์ธานี7 ซึ่งได้รับการรับรองเป็นพันธุ์แนะน้ำของกรมวิชาการเกษตร ให้ผลผลิตทะลายสดเฉลี่ยในช่วงอายุ 3 - 8 ปี 156.9 กก./ต้น/ปี หรือ 3,577.7 กก./ไร่/ปี เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้นในช่วงอายุ 3 - 12 ปี ให้ผลผลิตทะลายสดเฉลี่ย 4,458 กก./ไร่/ปี สูงกว่าทุกคู่ผสม และสูงกว่าพันธุ์ลูกผสมสุราษฎร์ธานี3 30.2 เปอร์เซ็นต์ มีจำนวนทะลายเฉลี่ย 14.7 ทะลาย/ต้น/ปี สูงกว่าพันธุ์ลูกผสมสุราษฎร์ธานี3 ซึ่งเป็นพันธุ์เปรียบเทียบ ให้น้ำหนักทะลายเฉลี่ย 15.0 กก./ทะลาย ลูกผสมสุราษฎร์ธานี7 มีเปลือกนอกต่อผล กะลาต่อผลและน้ำมันต่อทะลาย 76.08, 11.34 และ 22.3 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ นอกจากนี ลูกผสมสุราษฎร์ธานี7 มีคุณลักษณะที่ดีในการให้เนื้อในที่สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานการคัดเลือกลูกผสมเทเนอราและสูงกว่าเกือบทุกคู่ผสม คือ มีเนื้อในต่อผลเฉลี่ย 12.5 เปอร์เซ็นต์

          และในปี 2556 ได้ลูกผสมสุราษฎร์ธานี8 เป็นพันธุ์แนะนำจากกรมวิชาการเกษตร มีลักษณะดีเด่น คือ ผลผลิตทะลายสดเฉลี่ย 3,543 กก./ไร่/ปี (อายุ 4 - 7 ปี), โดยช่วงแรก (อายุ 3 - 4 ปี) ให้ผลผลิตทะลายสดเฉลี่ย 1,842 กก./ไร่/ปี ช่วงเจริญเติบโตเต็มที่ (อายุ 5 - 9 ปี) ให้ผลผลิตทะลายสดเฉลี่ย 4,509 กก./ไร่/ปี น้ำมันต่อทะลาย 24.8%, ผลผลิตน้ำมันดิบเฉลี่ย 878.7 กก.ต่อไร่ต่อปี สูงกว่าพันธุ์เปรียบเทียบ 12.3 เปอร์เซ็นต์ และได้คัดเลือกพันธุ์ลูกผสม ที่ให้ผลผลิตทะลายสดและน้ำมันสูงอีก 1 พันธุ์ คือ คู่ผสมหมายเลข 303 (Deli x DAMI-AVROS) เพื่อเสนอขอการรับรองพันธุ์จากกรมวิชาการเกษตร เป็นพันธุ์แนะน้ำ มีลักษณะดีเด่นคือ ผลผลิตทะลายสดเฉลี่ย 3,875 กก./ไร่/ปี (อายุ 3 - 10 ปี), น้ำมันต่อทะลาย 25.4% , ผลผลิตน้ำมันดิบเฉลี่ย 984 กก./ไร่/ปี ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน

          แปลงแม่พันธุ์ที่ได้จากการผสมตัวเอง (D–Self) (รหัสแปลง BRD033) ได้คัดเลือกสายพันธุ์แม่หมายเลข 236, 242, 220, 218, 203 และ 292 เป็นแม่พันธุ์สำหรับผลิตเมล็ดพันธุ์ จากนั้นคัดเลือกต้นที่มีลักษณะดีตามเกณฑ์มาตรฐาน (Individual Selection) ทำการคัดเลือกต้นแม่พันธุ์จากประชากรสายพันธุ์) หมายเลข 236 (91/1617D) ได้จำนวน 59 ต้น จากสายพันธุ์หมายเลข 242 (79/339D) จำนวน 91 ต้น จากสายพันธุ์หมายเลข 220 (67/521D) ได้จำนวน 218 ต้น จากสายพันธุ์หมายเลข 218 (75/1319D จำนวน 79 ต้น จากสายพันธุ์หมายเลข 203 (78/193D) จำนวน 170 ต้น จากสายพันธุ์หมายเลข 292 (68/374D) จำนวน 138 ต้น ในส่วนของพ่อพันธุ์ที่ได้จากการผสมตัวเอง ได้คัดเลือกสายพันธุ์พ่อ 159/398 สายพันธุ์ 132/1415 และสายพันธุ์ 125/154 สายพันธุ์พ่อและแม่เหล่านี้ เป็นการคัดเลือกตามผลการทดสอบรุ่นลูก เนื่องจากมีประวัติพันธุ์เป็นแม่พันธุ์และพ่อพันธุ์ของลูกผสมสุราษฎร์ธานี 7, 8 และสายพันธุ์ก้าวหน้าหมายเลข 303 ที่ดีเด่นดังกล่าว (Based on progeny performance) สายพันธุ์ 129/1426 ซึ่งได้จากการผสมตัวเองมีประวัติพันธุ์เป็นพ่อพันธุ์ของลูกผสมสุราษฎร์ธานี2 จึงคัดเลือกต้นพ่อพันธุ์ตามเกณฑ์มาตรฐานเป็นรายต้น (Individual Selection) เพื่อเก็บรวบรวมละอองเกสรสำหรับผลิตเมล็ดพันธุ์ ซึ่งคัดเลือกต้นพ่อพันธุ์จากประชากรสายพันธุ์ 159/398 ได้จำนวน 13 ต้น สายพันธุ์ 132/1415 ได้จำนวน 13 ต้น สายพันธุ์ 125/154 ได้จำนวน 9 ต้น สำหรับผลิตเมล็ดพันธุ์ลูกผสมสุราษฎร์ธานี7 และ 8 และคู่ผสมพันธุ์ก้าวหน้า 303 นอกจากนี สายพันธุ์ 129/1426 คัดเลือกต้นพ่อพันธุ์จากประชากรสายพันธุ์ 129/1426 ได้จำนวน 15 ต้นสำหรับผลิตเมล็ดพันธุ์ลูกผสมสุราษฎร์ธานี2 ต่อไป

          การเพาะเลี้ยงคัพภะอ่อนปาล์มน้ำมันลูกผสมที่ได้จากการผสมข้ามสปีชีส์ (Elaeis guineensis X E. oleifera) พบว่า คัพภะอ่อนที่เพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร MS เติม picloram ความเข้มข้น 1.5 มิลลิกรัมต่อลิตร มีน้ำหนักแคลลัสเฉลี่ยสูงสุด 0.46 กรัม เมื่อน้ำแคลลัสที่ได้มาชักน้ำให้เกิดเอ็มบริโอจินิคแคลลัสบนอาหารสูตร MS ที่เติม 2,4-D ความเข้มข้น 0.1 มิลลิกรัมต่อลิตร และ dicamba ความเข้มข้น 1.0 มิลลิกรัมต่อลิตร มีแนวโน้มในการพัฒนาเป็นเอ็มบริโอจินิคแคลลัส และมีการพัฒนาเป็นโซมาติกเอ็มบริโอในอาหารสูตร MS ที่เติม dicamba 1.0 มิลลิกรัมต่อลิตร คิดเป็น 15.78 เปอร์เซ็นต์ และเติม 2,4-D ความเข้มข้น 0.1 มิลลิกรัมต่อลิตร คิดเป็น 11.76 เปอร์เซ็นต์

          การชักน้ำให้เกิดแคลลัสจากส่วนต่างๆ ของปาล์มน้ำมันชนิด pisifera พบว่าสามารถชักน้ำให้เกิดแคลลัสได้ดีบนอาหาร MS ที่เติม dicamba ในระดับความเข้มข้นต่างกัน คัพภะอ่อนเกิดแคคลัสได้ 62.4 - 69.6 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเลี้ยงบนอาหาร MS ที่เติม dicamba 5 -10 μM และช่อดอกอ่อนตัวเมียเกิดแคลลัสได้ 16.0 – 18.4 เปอร์เซ็นต์ บนอาหาร MS ที่เติม dicamba 10 – 15 μM การเพิ่มปริมาณแคลลัสบนอาหาร MS ที่ลดความเข้มข้นของ dicamba ลง พบว่าแคลลัสที่เกิดจากคัพภะอ่อนเพิ่มปริมาณได้ 6.9 - 7.0 เท่า เมื่อใช้ dicamba 2 - 4 μM และแคลลัสจากช่อดอกอ่อนเพิ่มได้ 3.8 เท่า เมื่อใช้ dicamba 2 μM ส่วนอัตราการเกิด embryogenic callus สูงสุด เท่ากับ 30.2% จากแคลลัสที่เกิดจากคัพภะอ่อนบนอาหาร Y3 + NAA 10 μM + abscisic acid 2 μM รองลงมา คือ 10.5% จากแคลลัสที่เกิดจากช่อดอกอ่อนบนอาหารชนิดเดียวกัน และ embryogenic callus สามารถพัฒนาเป็น somatic embryo บนอาหาร MS ที่ไม่เติมสารควบคุมการเจริญเติบโต และต้นอ่อนที่ได้สามารถชักน้ำให้เกิดรากบนอาหาร MS ที่เติม paclobutrazol ที่ระดับ 20 - 40 μM

          การศึกษาผลของสารควบคุมการเจริญเติบโตกลุ่มออกซินเพื่อลดระยะเวลาการเกิดและการพัฒนาของแคลลัสปาล์มน้ำมัน การพัฒนาเป็นยอดและรากของปาล์มน้ำมัน เมื่อเลี้ยงบนสูตร MS ร่วมกับการ เติมหรือไม่เติม NAA ความเข้มข้น 15 ไมโครโมลาร์ต่อลิตร และการเติมหรือไม่เติมผงถ่าน 0.5 กรัมต่อลิตร พบว่าไม่มีความแตกต่างทางสถิติของปาล์มน้ำมันทั้ง 3 พันธุ์ โดยสูตรอาหาร MS ที่เติม NAA ความเข้มข้น 15 ไมโครโมลาร์ต่อลิตร และมีการเติมผงถ่าน 0.5 กรัมต่อลิตร มีการพัฒนาเป็นส่วนยอดและรากได้ การน้ำต้นปาล์มน้ำมันมาปรับสภาพก่อนออกปลูกด้วยการลดระยะเวลาการให้แสงบนชั้นเพาะเลี้ยงที่ระยะเวลา 6, 8 และ 10 ชั่วโมงต่อวัน พบว่าต้นมีการเจริญเติบโตไม่แตกต่างกัน เมื่อน้ำต้นปาล์มน้ำมันออกปลูกในสภาพโรงเรือน มีอัตราการรอดชีวิต คิดเป็นร้อยละ 11.11, 16.67 และ 18.18 ตามลำดับ

          การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมและตรวจวิเคราะห์ชนิดของปาล์มน้ำมันด้วยเครื่องหมายโมเลกุล ได้ทำการคัดเลือก SSR Markers 13 ตำแหน่ง ที่สามารถให้ความแตกต่างของประชากรปาล์มน้ำมัน 10 กลุ่มพันธุ์ คือ Deli Dura, AVROS, Yangambi, Nigeria, Calarbar, Ghana, Ekona, DAMI, Tanzania และ La Me พบว่า กลุ่มพันธุ์พ่อที่มีความแตกต่างจากกลุ่มพันธุ์แม่และพ่ออื่นๆ มากที่สุด คือ La Me รองลงมา ได้แก่ Calarbar, Nigeria, Tanzania และ Ghana กลุ่มพันธุ์ AVROS มีพันธุกรรมคล้ายพันธุ์แม่ Deli Dura มากที่สุด รองลงมา คือ DAMI นอกจากนั้น ได้ศึกษาพันธุกรรมของประชากร Deli Dura และลูกผสมต่างสปีชีส์ของ Elaeis guineensis กับ E. oleifera โดยใช้ SSR Markers 32 ตำแหน่งเพิ่มเติม ข้อมูลที่ได้สามารถใช้จำแนกกลุ่มพันธุ์ทั้งหมดออกจากกันได้และพบว่าไพรเมอร์ mEgCIR 3428, mEgCIR 3519 และ mEgCIR 0874 เพียงพอที่จะใช้จำแนกพันธุ์ปาล์มน้ำมันสุราษฎร์ธานี 1 - 8 ได้ สำหรับการวิเคราะห์ชนิดของปาล์มน้ำมัน ทำการอ่านและเปรียบเทียบลำดับนิวคลีโอไทด์ของยีน MADS-box ทั้งชนิดดูรา พิสิเฟอรา และเทเนอราของ 10 กลุ่มพันธุ์ ดังกล่าวข้างต้น จำนวน 129 ตัวอย่าง พบสนิปส์ที่สามารถแยกชนิดของปาล์มน้ำมันได้ คือ SNPENGC (T/C) ใน Ekona Ghana Nigeria และ Calarbar, SNPTaYa (A/T) ใน Tanzania Yangambi, SNPDA (C/G) ใน DAMI , SNPLaAV (C/A) ใน La Me และ AVROS, SNPTan (C/G)ใน Tanzania จากข้อมูล SNP ที่พบ ได้พัฒนาไพรเมอร์และโพรบจำนวน 4 ชุด สำหรับตรวจสอบชนิดของปาล์มน้ำมันได้แม่นยำและรวดเร็ว ด้วยเครื่อง Real-time PCR และพัฒนาไพรเมอร์ที่ใช้กับเครื่อง PCR ทั่วไป เพื่อเป็นประโยชน์ในการตรวจควบคุมคุณภาพกล้าปาล์มน้ำมันและคัดเลือกต้นพ่อพันธุ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

          การเปรียบเทียบพันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสมสุราษฎร์ธานีในภาคใต้พบว่า ปาล์มน้ำมันลูกผสมสุราษฎร์ธานี1 มีศักยภาพสูงสุด รองลงมาเป็นพันธุ์สุราษฎร์ธานี2 ที่ให้ผลผลิตใกล้เคียงกับเป้าหมาย 3.50 ตันต่อไร่ต่อปี สอดคล้องกันทั้งที่ศวป.กระบี่ และ ศวพ.รือเสาะ

         การเปรียบเทียบพันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสมสุราษฎร์ธานีในภาคกลางพบว่า ปาล์มน้ำมันพันธุ์ลูกผสมสุราษฎร์ธานี 2 และ 3 ให้จำนวนทะลายต่อต้น 9.0 และ 9.1 ทะลายต่อต้น ผลผลิตทะลายสดต่อต้นสะสมทั้งปี 77.3 และ 77.0 ทะลายต่อต้น น้ำหนักทะลายเฉลี่ยสูงสุด 8.7 และ 8.8 กิโลกรัมต่อทะลาย และ ผลผลิตทะลายสดต่อไร่ดีที่สุด 1,761 และ 1,756 กิโลกรัมต่อไร่

          การเปรียบเทียบพันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสมสุราษฎร์ธานีในภาคตะวันออกพบว่า ปาล์มน้ำมันพันธุ์ลูกผสมสุราษฎร์ธานี1 ให้ผลผลิตทะลายสดเฉลี่ยสูงสุด 4,109.3 กิโลกรัม/ไร่/ปี รองลงมา คือ ลูกผสมสุราษฎร์ธานี2 ซึ่งให้ผลผลิตทะลายสดเท่ากับ 3,873.7 กิโลกรัม/ไร่/ปี โดยพันธุ์มีแนวโน้มเป็นพันธุ์ปลูกที่เหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่ภาคตะวันออก เนื่องจากสามารถเจริญเติบโตได้ดีให้ผลผลิตทะลายและจำนวนทะลายสูง

          การเปรียบเทียบพันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสมสุราษฎร์ธานีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบว่า ปาล์มน้ำมันลูกผสมสุราษฎร์ธานี 1 2 และ 5 ให้ผลผลิตทะลายสดปาล์มน้ำมันสูงกว่า 3.50 ตันต่อไร่ต่อปี ทั้งที่ศวพ.หนองคาย ศวร.อุบลราชธานี และศวพ.กาฬสินธุ์ ส่วนที่ ศวส.ศรีสะเกษ ปาล์มน้ำมันลูกผสมสุราษฎร์ธานี ทั้ง 6 พันธุ์ ให้ผลผลิตต่ำกว่า 3.50 ตันต่อไร่ต่อปี

          การเปรียบเทียบพันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสมสุราษฎร์ธานีในภาคเหนือพบว่า การเจริญเติบโตของปาล์มน้ำมันพันธุ์ลูกผสมสุราษฎร์ธานี2 Ekona x Bamenda และ Ekona x Tanzania ที่ศวกล.เชียงใหม่ ทั้ง 3 พันธุ์ ค่อนข้างช้าเมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่ปลูกในพื้นราบทั่วไป ในขณะที่ศวพ.พิจิตร มีการเจริญเติบโตตามปกติ ทั้งพื้นที่หน้าตัดแกนทาง และพื้นที่ใบทางใบที่ 17 ส่วนผลผลิตทะลายสดต่อต้นต่อปีปาล์มน้ำมันลูกผสมสุราษฎร์ธานี ของทั้งที่ศวกล.เชียงใหม่ และศวพ.พิจิตร ค่อนข้างต่ำ ผลผลิตทะลายสดปาล์มน้ำมันต่อไร่ต่อปีต่ำกว่า 3.50 ตันต่อไร่ต่อปี

โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตปาล์มน้ำมัน
วิชณีย์ ออมทรัพย์สิน, เกริกชัย ธนรักษ์, เพ็ญศิริ จำรัสฉาย, ปัญจพร เลิศรัตน์, บุญณิศา ฆังคมณี, ชญาดา ดวงวิเชียร, อรุณี ใจเถิง, จิราพรรณ สุขชิต, วรกร สิทธิพงษ์, บุญเหลือ ศรีมุงคุณ, ชัชธนพร เกื้อหนุน, สุปรานี มั่นหมาย, จินดารัตน์ ชื่นรุ่ง, บรรณพิชญ์ สัมฤทธิ์, ณัฐพร ประคองเก็บ, รมิดา ขันตรีกรม, พุฒนา รุ่งระวี, จันทรา บดีศร, ไกรศร ตาวงศ์, อุไรวรรณ นาสพัฒน์, กาญจนา ทองนะ, พสุ สกุลอารีวัฒนา, ธวัชชัย นิ่มกิ่งรัตน์, นิตยา คงสวัสดิ์, ขูศักดิ์ สัจจพงษ์, ประภาส แยบยน, ชนินทร ดวงสะอาด, พรพิมล อธิปัญญาคม, จรัญญา ปิ่นสุภา, สิริชัย สาธุวิจารณ์, ยิ่งนิยม ริยาพันธ์, พิพัฒน์ เซี่ยงหลิว, สุจิตรา พรหมเชื้อ, วัชรี ศรีรักษา, พุทธธินันทร์ จารุวัฒน์, วุฒิพล จันทร์สระคู, กลวัชร ทิมินกุล, เวียง อากรชี, คุรุวรรณ์ ภามาตย์, พัชราพร หนูวิสัย, สุธีรา ถาวรรัตน์, จินตนาพร โคตรสมบัติ, สุรกิตติ ศรีกุล, อรพิน หนูทอง, จิตติลักษณ์ เหมะ, อาพร คงอิสโร และสมคิด ดำน้อย

          การจัดการธาตุอาหารและน้ำในสวนปาล์มน้ำมัน การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตปาล์มน้ำมันโดยการจัดการธาตุอาหาร การจัดการธาตุอาหารตามผลวิเคราะห์ดินและใบของปาล์มน้ำมันลูกผสมสุราษฎร์ธานี 1 - 6 ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุราษฎร์ธานี และศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันสุราษฎร์ธานี พบว่าปาล์มน้ำมันให้ผลผลิตเฉลี่ย 2.35 - 3.35 ตันต่อไร่ต่อปี สำหรับผลการจัดการธาตุอาหารระดับบริษัทพบว่า ผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 45.64 และเกษตรกรที่ปฏิบัติตามคำแนะนำสามารถรักษาผลผลิตให้คงที่ โดยมีผลผลิตกว่า 3.50 ตันต่อไร่ต่อปี ตามคุณสมบัติ ศักยภาพและข้อจำกัดของดิน การศึกษาการลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยปาล์มน้ำมันกับพื้นที่ที่มีศักยภาพการผลิตในภาคใต้ตอนบน โดยประเมินอัตราปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินใบร่วมกับปริมาณธาตุอาหารที่ควรชดเชยจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตและการสูญเสียธาตุอาหารจากขบวนการต่างๆ ในดิน ณ อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร ระหว่างปี 2554 - 2557 เปรียบเทียบกับการจัดการปุ๋ยตามที่เกษตรกรปฏิบัติพบว่า การเจริญเติบโตและผลผลิตไม่แตกต่างกัน และไม่กระทบต่อความสมบูรณ์ดิน แต่ลดค่าใช้จ่ายปุ๋ยเคมี 12 - 16 เปอร์เซ็นต์ ดัชนีผลตอบแทนการผลิตสูงกว่าวิธีของเกษตรกร การใช้ปุ๋ยชีวภาพร่วมกับปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตปาล์มน้ำมันพบว่า ต้นกล้าปาล์มน้ำมัน การเจริญเติบโตไม่แตกต่างกันระหว่างการใช้ปุ๋ยเคมีตามคำแนะนำและการใช้ปุ๋ยเคมี 50 เปอร์เซ็นต์ของคำแนะนำร่วมกับปุ๋ยชีวภาพ ปาล์มน้ำมันปลูกใหม่ การเจริญเติบโตและผลผลิตไม่แตกต่างกันระหว่างการใช้ปุ๋ยเคมีตามคำแนะนำและการใช้ปุ๋ยเคมี 50 เปอร์เซ็นต์ของคำแนะนำร่วมกับปุ๋ยชีวภาพ ซึ่งทั้ง 2 ช่วงอายุช่วยลดต้นทุนปุ๋ยเคมีลง 50 เปอร์เซ็นต์ ปาล์มน้ำมันอายุ 7 ปีขึ้นไป การเจริญเติบโตและผลผลิตไม่แตกต่างกันทางสถิติ ระหว่างการใช้ปุ๋ยเคมีตามคำแนะนำ การใช้ปุ๋ยชีวภาพร่วมกับปุ๋ยเคมี และการใช้ปุ๋ยชีวภาพอย่างเดียว ดังนั้นในปาล์มน้ำมันอายุมาก จึงควรใช้ปุ๋ยชีวภาพร่วมกับปุ๋ยเคมี ซึ่งช่วยลดต้นทุนการผลิตลงได้ 50 เปอร์เซ็นต์ การใช้แหนแดงในสวนปาล์มน้ำมันปลูกใหม่พบว่า การใช้การใช้ปุ๋ยเคมีตามคำแนะนำ (ลดไนโตรเจนลง 25 เปอร์เซ็นต์) ร่วมกับแหนแดง ปริมาณธาตุอาหารในใบอยู่ในช่วงเหมาะสมและการเจริญเติบโตไม่แตกต่างกันทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ปุ๋ยเคมีตามคำแนะนำ เทคนิคการให้ธาตุอาหารทางล้าต้นปาล์มน้ำมันทดแทนการให้ปุ๋ยเคมีทางดินพบว่า การให้ธาตุอาหารทางลำต้นสามารถทดแทนการให้ปุ๋ยเคมีทางดินเฉพาะการเจริญเติบโต ในขณะที่ผลผลิตกลับลดลงเมื่อเทียบกับ yield Profile สำหรับการให้น้ำร่วมกับปุ๋ยเคมีที่มีผลต่อการเจริญเติบโต ผลผลิตและสรีรวิทยาของปาล์มน้ำมันลูกผสมสุราษฎร์ธานี7 ณ ศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานี และศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันสุราษฎร์ธานีพบว่า การให้น้ำมีผลทำให้การเจริญเติบโต ช่อดอกและผลผลิตสูงกว่าและแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับปาล์มน้ำมันที่อาศัยน้ำฝน โดยปาล์มน้ำมันที่ได้รับน้ำ 0.8 และ 1.2 เท่าของค่าระเหยน้ำในช่วงแล้งให้ผลผลิต 3.75 - 4.29 ตันต่อไร่ต่อปี และปาล์มน้ำมันที่อาศัยเฉพาะน้ำฝนให้ผลผลิต 1.99 และ 3.13 ตันต่อไร่ต่อปี ณ ศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานีและศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันสุราษฎร์ธานี ตามลำดับ ซึ่งเป็นผลจากสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน และไม่พบอิทธิพลของอัตราปุ๋ย สำหรับการตอบสนองทางสรีรวิทยาพบว่า การให้น้ำ 1.2 เท่าของค่าระเหยน้ำและปุ๋ย 125 เปอร์เซ็นต์ของอัตราแนะน้ำ ใบปาล์มน้ำมันมีปริมาณคลอโรฟิลล์รวมและศักยภาพในการสังเคราะห์แสงสูงกว่า จำนวนปากใบและประสิทธิภาพการใช้น้ำต่ำกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการอาศัยน้ำฝนและปุ๋ย 75 เปอร์เซ็นต์ของอัตราแนะน้ำ การจัดการน้ำปาล์มน้ำมันลูกผสมสุราษฎร์ธานี2 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรหนองคาย พบว่าการเจริญเติบโต ช่อดอกและอัตราส่วนเพศไม่แตกต่างกันทางสถิติ แต่การให้น้ำ 1.2 เท่าของค่าระเหยน้ำปาล์มน้ำมันอายุ 7 - 8 ปี ให้ผลผลิตเฉลี่ย 4.34 ตันต่อไร่ต่อปี สูงกว่าปาล์มน้ำมันที่อาศัยน้ำฝน 19.9 เปอร์เซ็นต์ และเพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในงานวิจัยด้านปาล์มน้ำมันจึงมี การศึกษาเทคนิคทางสถิติเพื่อใช้เป็นมาตรฐานสำหรับแปลงทดลองปาล์มน้ำมันพบว่า ขนาดแปลงมาตรฐานเพื่อศึกษาการเจริญเติบโตอย่างน้อย 8 ต้นต่อแปลง สำหรับผลผลิตอย่างน้อย 12 ต้นต่อแปลง และจากการศึกษาวิจัยและพัฒนาระบบฐานข้อมูลดินในแหล่งปลูกปาล์มน้ำมันของประเทศไทย เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างดิน - น้ำพืช การปรับปรุงบำรุงดิน การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน และพัฒนาเป็นคู่มือการจัดการดินในแหล่งปลูกปาล์มน้ำมันต่อไป สามารถรวบรวมลักษณะและสมบัติของดินที่ปลูกปาล์มน้ำมันใน ภาคใต้ 13 บริเวณ ประกอบด้วย ชุดดินท่าแซะที่มีจุดประ ชุดดินคอหงส์ที่มีจุดประ ชุดดินท่าแซะที่มีเบสสูง ชุดดินผักกาด ชุดดินคอหงส์ ชุดดินเขาขาด ชุดดินกระบี่ ชุดดินหลังสวน ชุดดินลำภูรา ชุดดินชุมพร ชุดดินบางสะพาน และชุดดินท่าแซะ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 10 บริเวณ เป็นชุดดินโพนงาม ชุดดินเลย ชุดดินลพบุรี ชุดดินลพบุรี (ที่มีเนื้อดินเป็นสีน้ำตาล) ชุดดินวาริน ชุดดินโคราช ชุดดินเพ็ญ ชุดดินน้ำพอง ชุดดินนครพนม และชุดดินโพนพิสัย ภาคกลางและตะวันออก 12 บริเวณ โดยภาคกลางเป็นชุดดินบางน้ำเปรี้ยว ชุดดินฉะเชิงเทรา ชุดดินองครักษ์ และชุดดินรังสิต ภาคตะวันออกเป็นชุดดินชะอำ ชุดดินคลองซาก และชุดดินผักกาด ภาคเหนือ 8 บริเวณ เป็นชุดดินกำแพงเพชร ชุดดินสรรพยา ชุดดินลี ชุดดินเรณู ชุดดินบางมูลนาก ชุดดินลำปาง ชุดดินอุตรดิตถ์ และภาคตะวันตก 4 บริเวณ เป็นชุดดินท่าม่วง ดินคล้ายชุดดินบางสะพาน ชุดดินหุบกะพง และชุดดินลาดหญ้า และจากการศึกษาสภาวะน้ำท่วมขังต่อการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาบางประการของต้นปาล์มน้ำมัน โดยจำลองสภาวะน้ำท่วมขังนาน 120 วัน ให้กับปาล์มน้ำมันลูกผสมสุราษฎร์ธานี 2 อายุ 8 12 18 และ 24 เดือน พบว่าปาล์มน้ำมันสามารถทนต่อสภาวะน้ำท่วมขังนาน 30 วัน โดยต้นปาล์มน้ำมันอายุ 24 เดือน มีค่าน้ำไหลปากใบ ศักย์ของน้ำในใบ จำนวนปากใบ การเจริญเติบโต น้ำหนักสดและน้ำหนักแห้งของส่วนลำต้นและรากสูงกว่า และแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับอายุ 8 12 และ 18 เดือน สำหรับการฟื้นฟูความสมบูรณ์ของปาล์มน้ำมันที่ขาดการดูแลรักษา พบว่าการใส่ทะลายเปล่า 150 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี ร่วมกับปุ๋ยเคมีอัตรา 50 เปอร์เซ็นต์ของการประเมินด้วยผลวิเคราะห์ใบ ปาล์มน้ำมันลูกผสมสุราษฎร์ธานี 1 อายุ 10 - 12 ปี ให้ผลผลิตเฉลี่ย 4.78 ตันต่อไร่ต่อปี สูงกว่าการใช้ปุ๋ยเคมีตามผลวิเคราะห์ใบ และการใช้ทะลายเปล่า 300 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี 13.2 และ 20.6 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ซึ่งช่วยลดต้นทุนการผลิตด้านปุ๋ยเคมีได้

          การวิจัยด้านอารักขาปาล์มน้ำมัน การควบคุมโรคล้าต้นเน่าของปาล์มน้ำมันโดยชีววิธี ซึ่งมีสาเหตุจากเชื้อเห็ด G. boninense พบว่า เชื อราเอ็นโดไฟท์ ไอโซเลท KtB-4 จากกิ่งกระถินเทพามีประสิทธิภาพยับยั งการเจริญของเชื้อเห็ด G. boninense ในห้องปฏิบัติการสูงสุด และเชื อราเอ็นโดไฟท์ ไอโซเลท KtB-4 และ Trichoderma St-Te-5 มีประสิทธิภาพในการยับยั งการเจริญและควบคุมการเกิดโรคลำต้นเน่าของต้นกล้าปาล์มน้ำมันได้สูงสุด และจากการรวบรวมและจำแนกราวี-เอไมคอร์ไรซา 4 สกุล ได้แก่ Acaulospora 11 ไอโซเลท Gigaspora 2 ไอโซเลท Glomus 32 ไอโซเลท และ Scutellospora 11 ไอโซเลท การทดสอบประสิทธิภาพสารก้าจัดวัชพืชประเภทก่อนวัชพืชงอก พบว่า การใช้สารกำจัดวัชพืชพ่นรอบโคนต้นปาล์มน้ำมัน ควรใช้สารในปาล์มน้ำมันอายุ 1 ปีขึ้นไปสารกำจัดวัชพืชที่ปลอดภัยเมื่อเวลาพ่นแล้วไปถูกต้นปาล์มน้ำมันไม่แสดงอาการเป็นพิษและไม่กระทบต่อการเจริญเติบโตได้แก่ atrazine อัตรา 300 กรัมสารออกฤทธิ์/ไร่ pendimetaline อัตรา 264 กรัมสารออกฤทธิ์/ไร่ และ acetochlor อัตรา 320 กรัมสารออกฤทธิ์/ไร่ สามารถควบคุมวัชพืชได้ดี การทดสอบสารก้าจัดวัชพืชประเภทหลังงอกต่อปาล์มน้ำมัน พบว่า ในสภาพสวน paraquat dichloride, glufosinate ammonium, glyphosate และ fluroxypyr มีประสิทธิภาพควบคุมวัชพืชได้ดี โดย paraquat dichloride, glufosinate ammonium, glyphosate และ ametryn ควบคุมวัชพืชใบแคบ ใบกว้างและกกได้ดี haloxyfop-R-methyl, quizalofop-p-ethyl และ fenoxaprop-p-ethyl ควบคุมวัชพืชใบแคบได้ดี และ 2,4-D ควบคุมวัชพืชใบกว้างได้ดี

          วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและเครื่องจักรกลเกษตรเพื่อแปรรูปปาล์มน้ำมัน การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระยะสุกแก่และสภาพแวดล้อมต่อองค์ประกอบทะลายและคุณภาพน้ำมันปาล์มพบว่า ทะลายปาล์มน้ำมันอายุ 23 สัปดาห์หลังดอกบาน (WAA) ให้น้ำมันต่อทะลายเฉลี่ยสูงสุด 26.4 เปอร์เซ็นต์ และพบว่า น้ำมันต่อทะลายเฉลี่ยทุกช่วงอายุมีค่า 19.0 - 19.9 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำมันต่อทะลายมีค่าต่ำมากช่วงมีนาคม - เมษายน และสิงหาคม ซึ่งเป็นผลจากทะลายอายุ 18-21 WAA ในขณะที่ทะลายอายุ 22 - 23 WAA ไม่พบว่ามีค่าต่ำในช่วงดังกล่าว จากผลวิเคราะห์คุณภาพน้ำมันปาล์มดิบพบว่า ปริมาณกรดไขมันอิสระ, ค่า DOBI, วิตามินเอ และเสถียรภาพต่อการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น มีค่าเพิ่มขึ้นตามความสุกของทะลายปาล์ม สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมในรอบปีต่อปริมาณและคุณภาพน้ำมันปาล์มพบว่า ช่วงแล้งไม่มีผลต่ออัตราการสะสมน้ำมันต่อทะลายของทะลายปาล์มน้ำมันดิบ, กึ่งสุก และสุก และน้ำมันต่อทะลายเฉลี่ยในรอบปีของทะลายปาล์มสุก กึ่งสุกและดิบมีค่า 27.1, 25.6 และ 24.2 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ คุณภาพน้ำมันปาล์มดิบพบว่า กรดไขมันอิสระมีค่าเพิ่มขึ้นตามความสุกของทะลายปาล์มน้ำมัน สำหรับค่า DOBI, ปริมาณวิตามินเอและเสถียรภาพต่อการเกิด ปฏิกิริยาออกซิเดชั่นมีค่าใกล้เคียงกัน การวิจัยและพัฒนาชุดให้ความร้อนเพื่อลดกรดทะลายปาล์มน้ำมัน ชุดให้ความร้อนเชิงพาณิชย์ ห้องอบลมร้อนขนาดกว้าง 2.44x2.44x2 เมตร ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางท่อลมร้อนและท่อลมระบายทิ้ง 20 และ 15.24 เซนติเมตร ใช้พัดลมแบบไหลตามแกนขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 40 เซนติเมตร ปรับความเร็วลมและกระจายลมในห้องอบโดยใช้หัวพ่นแก๊ส ใช้แก๊สหุงต้มเป็นเชื้อเพลิง ควบคุมอุณหภูมิในห้องอบด้วยหัววัดอุณหภูมิและควบคุมการจ่ายแก๊สหุงต้มผ่านตู้ควบคุม การวิจัยและพัฒนาเครื่องปลิดผลปาล์ม สำหรับเป็นทางเลือกให้เกษตรกรลดค่าขนส่ง เพิ่มราคาจำหน่ายผลปาล์ม และสำหรับโรงงานสกัดน้ำมันขนาดเล็กที่ต้องการแยกผลปาล์มจากทะลาย โดยเครื่องต้นแบบประกอบด้วย ถังเหล็กทรงกระบอกหนา 3 มิลลิเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 75 เซนติเมตร ความสูง 120 เซนติเมตร ภายในถังมีซี่แยกขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 18 มิลลิเมตรที่ปรับความยาวได้ติดโดยรอบ ฐานหมุนเป็นกรวยปากตัด หมุนขับด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าขนาด 3 แรงม้า 220 โวลต์ สลับทิศทางหมุนได้ ผลการทดสอบพบว่า ความยาวซี่แยก 5 เซนติเมตร ความเร็ว 85 รอบต่อนาที ทำงานได้ 1.0 - 1.3 ตันต่อชั่วโมง ประสิทธิภาพการแยกผลปาล์ม 90 - 93.5 เปอร์เซ็นต์ การวิจัยและพัฒนาเตาผลิตก๊าซโดยใช้กะลาปาล์มเป็นวัสดุเชื้อเพลิง ใช้หลักการแก๊สซิฟิเคชั่นและสร้างเตาแบบไหลลงด้านล่างพบว่า ปริมาณก๊าซที่ได้มีอัตราการไหลไม่คงที่ ถ่านกะลาปาล์มสุกไม่สม่ำเสมอ โดยต้องปรับปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อปริมาณแก๊สและถ่านขึ้นกับอัตราการป้อนกะลาปาล์มและระยะเวลาการกักเก็บในห้องเผาไหม้ซึ่งควบคุมได้โดยการดึงถ่าน/ขี้เถ้าออกด้านล่าง

          การทดสอบและขยายผลนวัตกรรมปาล์มน้ำมัน การทดสอบพันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสมสุราษฎร์ธานี7 ในแปลงเกษตรกรในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ดำเนินการในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และกระบี่ ระหว่างปี 2556 - 2558 พบว่าสภาพพื้นที่ ดิน และภูมิอากาศส่วนใหญ่เหมาะสมกับการปลูกปาล์มน้ำมัน และปาล์มน้ำมันลูกผสมสุราษฎร์ธานี7 มีความยาวทางใบ หน้าตัดแกนทาง จำนวนใบย่อยและพื้นที่ใบมากกว่าพันธุ์ที่เกษตรกรนิยมปลูก ทดสอบการให้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินและใบปาล์มน้ำมันของกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ดำเนินการในแปลงปาล์มน้ำมันของกลุ่มเกษตรกร จังหวัดสุราษฎร์ธานีและกระบี่ วางแผนการทดลองแบบ RCB 2 ซ้ำ 2 กรรมวิธี คือ การให้ปุ๋ยตามวิธีการของเกษตรกร และการให้ปุ๋ยตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตรพบว่า ผลผลิตเฉลี่ยของกลุ่มเกษตรกร 2 พื้นที่ ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ แต่อัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุนการให้ปุ๋ยทั้ง 2 ปีของกลุ่มเกษตรกร 2 พื้นที่มีความคุ้มค่าต่อการลงทุน


ไฟล์แนบ
.pdf   200_2558.pdf (ขนาด: 5.93 MB / ดาวน์โหลด: 1,928)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม