ทดสอบการป้องกันกำจัดโรคพุ่มไม้กวาดของเกษตรกรในพื้นที่
#1
ทดสอบการป้องกันกำจัดโรคพุ่มไม้กวาดของเกษตรกรในพื้นที่
อรุณี วัฒนวรรณ, ชูชาติ วัฒนวรรณ, อรุณี แท่งทอง, ชนะศักดิ์ จันปุ่ม, รัตยา เกตุมาโร และศรีนวล สุราษฎร์
สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเนินสูง

          การทดสอบการป้องกันกำจัดโรคพุ่มไม้กวาดของเกษตรกรในพื้นที่ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการแก้ปัญหาการผลิตลำไยเพื่อการส่งออกของเกษตรกรในภาคตะวันออก โดยการควบคุมกำจัดอาการพุ่มไม้กวาดในแปลงลำไยอายุ 7 - 15 ปีของเกษตรกรในอำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี จำนวน 20 แปลง ตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร ประกอบด้วยการตัดแต่งกิ่งและนำกิ่งไปเผาทำลาย ร่วมกับการกำจัดไรซึ่งเป็นแมลงพาหนะ โดยพ่นกำมะถันผง 80%WP อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร จำนวน 1 - 3 ครั้ง ห่างกัน 5 - 7 วัน หรืออามีทราช 20%EC อัตรา 40 มิลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร จำนวน 1 - 3 ครั้ง ห่างกัน 5 - 7 วัน ในระยะการเตรียมต้นก่อนการกระตุ้นการออกดอกด้วยสารโพแทสเซียมคลอเรต เปรียบเทียบการแสดงอาการพุ่มไม้กวาดก่อนและหลังการป้องกันกำจัดพบว่า ต้นลำไยแสดงอาการพุ่มไม้กวาดลดลงจากร้อยละ 27 เป็นร้อยละ 10 ของต้นในปีแรก และลดลงจากร้อยละ 18 เป็นร้อยละ 4 ของต้นในปีถัดมา โดยมีค่าใช้จ่ายในการควบคุมกำจัดอาการพุ่มไม้กวาดเฉลี่ย 894 บาท/ไร่/ปี ประกอบด้วยค่าสารกำมะถันผงเฉลี่ย 55 บาท/ไร่/ครั้ง  ค่าสารอามีทราชเฉลี่ย 136 บาท/ไร่/ครั้ง และค่าแรงในการพ่นเฉลี่ย 63 บาท/ไร่/ครั้ง


ไฟล์แนบ
.pdf   140_2557.pdf (ขนาด: 273.84 KB / ดาวน์โหลด: 483)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม