คัดเลือกและทดสอบประสิทธิภาพจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ในการควบคุมโรคเหี่ยวของไพล
#1
คัดเลือกและทดสอบประสิทธิภาพจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ในการควบคุมโรคเหี่ยวของไพล
สุธามาศ  ณ น่าน, อรุณี ใจเถิง, ศศิธร วรปิติรังสี, สัจจะ ประสงค์ทรัพย์ และแสงมณี ชิงดวง
ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย และสถาบันวิจัยพืชสวน

          เก็บตัวอย่างดิน ปุ๋ยคอก และรากพืช เพื่อหาเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์จากแหล่งปลูก  จ. เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง และพะเยา สามารถแยกเชื้อจุลินทรีย์บริสุทธิ์ได้ 323 ไอโซเลท จำแนกได้เชื้อแบคทีเรีย Bacillus จำนวน 182 ไอโซเลท นำไปทดสอบประสิทธิภาพการยับยั้งการเจริญของเชื้อ Ralstonia solanacearum (RS) สาเหตุโรคเหี่ยวของไพลในห้องปฏิบัติการ โดยวิธี Paper disc diffusion method พบเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์จำนวน 3 ไอโซเลท สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อ RS คือ CMS 1-2, LPS 3-2 และ LPR 1-5 ทดสอบความสามารถในการควบคุมโรคในเรือนทดลอง ปรากฏว่าการใช้แบคทีเรียบาซิลลัส สามารถควบคุมการเกิดโรคเหี่ยวของไพลได้เกือบทุกกรรมวิธี ยกเว้น ไอโซเลท CMS 1-2 และไอโซเลท LPS 3-2 + LPR 1-5 ซึ่งให้ผลไม่แตกต่างทางสถิติกับกรรมวิธีควบคุม(+เชื้อโรคเหี่ยว) โดยแบคทีเรีย Bacillus ไอโซเลทดินรากยาสูบ # 4 สามารถควบคุมโรคได้ดีที่สุด รองลงมา ได้แก่ ไอโซเลท  CMS 1-2 + LPS 3-2 ส่วนการทดสอบความสามารถควบคุมโรคในแปลงทดลองหลังจากปลูกไพลนาน 5 เดือน พบว่าเชื้อแบคทีเรีย Bacillus ทุกกรรมวิธีไม่สามารถควบคุมการเกิดโรคเหี่ยวของไพลได้ พบไพลในแปลงทดลองเกิดโรคเหี่ยวตายทุกกรรมวิธี ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการระบาดของโรคเหี่ยว


ไฟล์แนบ
.pdf   177_2557.pdf (ขนาด: 252.9 KB / ดาวน์โหลด: 925)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 2 ผู้เยี่ยมชม