วิจัยและพัฒนาต้นแบบระบบปลูกพืชตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด
#1
วิจัยและพัฒนาต้นแบบระบบปลูกพืชตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด
สุดารัตน์ โชคแสน, นาฏญา โสภา, นวลจันทร์ ศรีสมบัติ, อิทธิพล บ้งพรม, ภัสชญภน หมื่นแจ้ง, วนิดา โนบรรเทา และบุญชู สายธนู
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรร้อยเอ็ด, ส านักวิจัยแลพัฒนาการเกษตร เขตที่ 4, ส านักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร และส านักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร

          โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้แนวทางการจัดการดินปุ๋ยที่เหมาะสมและการจัดการระบบปลูกพืชผักอินทรีย์ที่เหมาะสมในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด ประกอบด้วย 2 การทดลอง ดำเนินการในพื้นที่อำเภอธวัชบุรี และอำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด ระหว่างปี 2558 - 2560 ระยะเวลา 3 ปี โดยการทดลองการพัฒนาต้นแบบการจัดการดินปุ๋ยเพื่อการผลิตพืชผักอินทรีย์แบบเกษตรกรมีส่วนร่วม ประกอบด้วย 2 กรรมวิธี คือ กรรมวิธีแนะนำ มีการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 100% ตามค่าการวิเคราะห์คุณสมบัติดินและปุ๋ยอินทรีย์ และวิธีเกษตรกร มีการใส่ปุ๋ยอินทรีย์โดยวิธีเกษตรกร จากผลการทดลองพบว่า ในการผลิตพืชผักกินใบ ได้แก่ ผักกวางตุ้ง ผักกาดหอม และผักคะน้า รวมทั้งมะเขือเปราะ ที่มีการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ในอัตราเทียบเคียงค่าวิเคราะห์ดินและความต้องการธาตุอาหารพืชตามคำแนะนำการใช้ปุ๋ยกับพืชเศรษฐกิจ มีแนวโน้มทำให้การผลิตพืชอินทรีย์มีอัตราส่วนผลตอบแทนต่อการลงทุน (BCR) ที่คุ้มค่ากว่าวิธีเกษตรกร

          การทดลองการพัฒนาต้นแบบการจัดการระบบปลูกพืชผักอินทรีย์แบบเกษตรกรมีส่วนร่วม การดำเนินงานประกอบด้วย 2 กรรมวิธี คือ วิธีแนะนำ ปลูกพืชหลักและพืชร่วม และวิธีเกษตรกร ที่มีการปลูกพืชชนิดเดียวในแปลง โดยได้ทำการศึกษาระบบปลูกพืช ดังนี้ คะน้า+ผักชี – ถั่วฝักยาว+กะเพรา – หอมแบ่ง+ผักกาดหอม พบว่าการปลูกพืชร่วมในระบบ ทำให้เกษตรกรมีรายได้สุทธิเพิ่มขึ้น 4.2 - 29.9 เปอร์เซ็นต์ อัตราส่วนผลตอบแทนต่อการลงทุน (BCR) ในระบบการปลูกพืชร่วม คะน้า+ผักชี สูงกว่าการปลูกพืชคะน้าเพียงชนิดเดียว ขณะที่การปลูกพืชในระบบ ถั่วฝักยาว+กะเพรา และหอมแบ่ง+ผักกาดหอม พบว่ามีอัตราส่วนผลตอบแทนต่อการลงทุน (BCR) ต่ำกว่าระบบการปลูกพืชเดี่ยว แต่ไม่แตกต่างกันมากนัก ส่วนในเรื่องของการลดการระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืชยังให้ผลไม่ชัดเจน เนื่องจากช่วงที่ทำการทดลองไม่พบโรคและแมลงศัตรูพืช ดังนั้นระบบการปลูกพืชร่วมทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นจากราคาผลผลิตของพืชในระบบที่มีมากกว่าหนึ่งชนิด


ไฟล์แนบ
.pdf   44_2560.pdf (ขนาด: 443.21 KB / ดาวน์โหลด: 538)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม