ผลของการใช้สารกำจัดวัชพืชประเภทใช้ก่อนวัชพืชงอกในข้าวโพดหวาน
#1
ผลของการใช้สารกำจัดวัชพืชประเภทใช้ก่อนวัชพืชงอกในข้าวโพดหวาน
ภัทร์พิชชา รุจิระพงศ์ชัย, คมสัน นครศรี, อมฤต ศิริอุดม และเชาวนาถ พฤทธิเทพ
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และสถาบันวิจัยพืชพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน

          การใช้สารกำจัดวัชพืชประเภทก่อนวัชพืชงอก มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของสารกำจัดวัชพืช และผลกระทบต่อผลผลิตของข้าวโพดหวาน ดำเนินการทดลองที่แปลงเกษตร จังหวัดกาญจนบุรี ระหว่างเดือนตุลาคม 2559 - กันยายน 2560 วางแผนการทดลองแบบ RCB มี 3 ซ้ำ ประกอบด้วยการกำจัดวัชพืช 11 กรรมวิธี ได้แก่ atrazine 90% WG, flumioxazin 50% WP, pendimethalin 33% W/V EC, isoxaflutole 75% WG, s-metolachlor 96% EC, sulfentrazone 48% W/V EC, dimethanamid -p 72% W/V EC atrazine/mesotrione 50%+5% W/V SC, cyprosulfamide + isoxaflutole 24%+24% W/V SC อัตรา 324, 20, 264, 11.25, 153.6, 120, 180, 198, 19.20 กรัมสารออกฤทธิ์ต่อไร่ พบว่าการพ่นสารกำจัดวัชพืชทันทีหลังปลูกข้าวโพด พบว่าที่ระยะ 7 วันหลังพ่นสาร การพ่นสารกำจัดวัชพืช pendimethalin 33% W/V EC และ sulfentrazone 48% W/V SC เป็นพิษต่อข้าวโพดหวานเล็กน้อยโดยมีผลทำให้ชะงักการเจริญเจริญเติบโต และอาการเป็นพิษ ดังกล่าวจะลดลง สามารถเจริญเติบโตได้ตามปกติหลังพ่นสารแล้ว 15 วัน และการพ่นสาร dimethanamid –p 72% W/V EC, atrazine + mesotrione 50%+5% W/V SC และ flumioxazin 50% WP อัตรา 180, 198 และ 20 กรัมสารออกฤทธิ์ต่อไร่ สามารถควบคุมหญ้าปากควาย (Dactyloctenium aegyptium (L.) หญ้าตีนนก (Digitaria adscendens (H.B.K.) Henr.) หญ้าตีนติด (Brachiaria reptans (L.) Gard & Hubb.), ผักเบี้ยหิน (Trianthema portulacustrum L.)ตีนตุ๊กแก (Tridax procumbens L.) ผักโขม (amaranthus viridis L.) ได้ดีถ้าระยะ 45 วันหลังพ่นสาร โดยมีน้ำหนักแห้งต่ำกว่ากรรมวิธีไม่กำจัดวัชพืช และไม่มีผลกระทบต่อ ความสูงต้น ความยาวฝัก และผลผลิตของข้าวโพดหวาน


ไฟล์แนบ
.pdf   67_2560.pdf (ขนาด: 245.46 KB / ดาวน์โหลด: 1,137)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม