ทดสอบการใช้เทคโนโลยีการจัดการศัตรูหน่อไม้ฝรั่งเพื่อการส่งออก
#1
ทดสอบการใช้เทคโนโลยีการจัดการศัตรูหน่อไม้ฝรั่งเพื่อการส่งออก
อุราพร หนูนารถ, ทัศนาพร ทัศคร, ณัฎฐิมา โฆษิตเจริญกุล, สมรวย รวมชัยอภิกุล, พฤทธิชาติ ปุญวัฒโท, อิศเรศ เทียนทัด, ธัญชนก จงรักไทย และยุรวรรณ อนันตนมณี
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช 

          การทดสอบการใช้เทคโนโลยีการจัดการศัตรูหน่อไม้ฝรั่งเพื่อการส่งออก ดำเนินการที่แปลงเกษตรกร อ าเภอเมืองท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี เกษตรกร อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี โดยทำการทดลองในแปลงเกษตรกร 1 ราย (1 ไร่) เปรียบเทียบกับวิธีการของเกษตรกร 1 ราย (1 ไร่) ประเมินผลการทดสอบ โดยเปรียบเทียบ ชนิด และจำนวนปริมาณศัตรูพืช ศัตรูธรรมชาติ ชนิดของสารกำจัดศัตรูพืชและอัตราการใช้ น้ำหนักและราคาผลผลิต ตลอดจนสารพิษตกค้างในผลผลิต และผลตอบแทนการลงทุน การจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน ประกอบด้วย การสุ่มนับแมลงศัตรูพืชทุก 7 วัน การใช้ระดับเศรษฐกิจ ใช้เชื้อจุลินทรีย์ (NPV, Bt) สารสกัดสะเดา และสารฆ่าแมลง ในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช การจัดการด้านโรคพืช โดยการสุ่มสำรวจการใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืช การจัดการด้านวัชพืช มีการสุ่มสำรวจชนิดของวัชพืช และจัดการโดยวิธีการถอนต้น โดยเริ่มดำเนินการในแปลง IPM ตั้งแต่หน่อไม้ฝรั่งเริ่มพักต้น ดำเนินการทดลองตามกรรมวิธี โดยแปลงทดสอบแบบผสมผสาน แปลงทดสอบแบบผสมผสานมีการพ่นสาร spinotoram อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร, สาร fipronil อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร สาร acetamiprid อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร และ buprofezine อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ชนิดละ 1 ครั้ง รวม 4 ครั้ง แปลงเกษตรกร มีการพ่นสาร acetamiprid อัตรา 10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร สาร imidacloprid อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร สาร pyrazole อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร สาร clorantarinipole อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร สาร benfuracarbอัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร และพ่นไวท์ออย อัตรา 100 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร

          จากการตรวจนับชนิด และจำนวนปริมาณศัตรูพืชทุก 7 วัน รวม 19 ครั้ง พบแมลงศัตรูที่สำคัญของศัตรูหน่อไม้ฝรั่ง 4 ชนิด ได้แก่ หนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนกระทู้หอม หนอนกระทู้ผัก และเพลี้ยไฟ ตามลำดับ โดยพบแมลงศัตรูหน่อไม้ฝรั่ง 3 ชนิด ที่สูงเกินระดับเศรษฐกิจ คือ หนอนกระทู้หอม เกินระดับเศรษฐกิจ 1 ครั้ง เพลี้ยไฟ เกินระดับเศรษฐกิจ 3 ครั้ง แมลงหวี่ขาวสูงเกินระดับเศรษฐกิจ 3 ครั้ง ทำการพ่นสาร spinotoram อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร, สาร fipronil อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร สาร acetamiprid อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร และ buprofezine อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ชนิดละ 1 ครั้ง รวม 4 ครั้ง ส่วนแปลงเกษตรกรพบ หนอนเจาะกระทู้หอมสูงเกินระดับเศรษฐกิจ 3 ครั้ง เพลี้ยไฟ สูงเกินระดับเศรษฐกิจ 5 ครั้ง แมลงหวี่ขาวสูงเกินระดับเศรษฐกิจ 6 ครั้ง เกษตรกรทำการพ่นสาร acetamiprid อัตรา 10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร สาร imidacloprid อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร สาร pyrazole อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร สาร clorantarinipole อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร สาร benfuracarbอัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร และ พ่นไวท์ออย อัตรา 100 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร

          การสำรวจชนิดและปริมาณโรคพืชที่สำคัญ คือ โรคต้นไหม้ ทำการใส่ไตรโคเดอร์มาผสมกับปุ๋ยคอกหลังจากพักต้น 2 สัปดาห์ และพ่นโคนต้น ทุก 7 วัน 2 ครั้ง และทำการพ่นสาร copper oxychloride 3 ครั้ง และ mancozeb 4 ครั้ง ส่วนวิธีเกษตรกรพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช
mancozebและ carbendazim รวม 10 ครั้ง

          การสำรวจชนิดของวัชพืช จัดการโดยวิธีถอนต้นเมื่อพืชยังเล็ก


ไฟล์แนบ
.pdf   233_2560.pdf (ขนาด: 185.56 KB / ดาวน์โหลด: 405)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม