การจัดการหลังการเก็บเกี่ยวและประเมินคุณภาพมันสำปะหลัง
#1
การจัดการหลังการเก็บเกี่ยวและประเมินคุณภาพมันสำปะหลัง
จารุวรรณ บางแวก, อนุวัฒน์ รัตนชัย, วารีย์ ทองมี, อรวรรณ จิตต์ธรรม, ภัควิไล ยอดทอง, นฤเทพ เวชภิบาล และธรรมรัตน์ ทองมี

          โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาวิธีการลดการสูญเสียหลังทั้งด้านปริมาณและคุณภาพจากเก็บเกี่ยวมันสำปะหลัง ทั้งหาแนวทางเพิ่มมูลค่ามันสำปะหลัง ดำเนินการที่ในแปลงเกษตรกร จ.ฉะเชิงเพรา กองวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว และสถาบันพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร ในปี 2560 - 2561 จากผลการทดลองสรุปได้ว่า สาเหตุของการสูญเสียผลผลิตและคุณภาพแป้งมันสำปะหลัง คือ การเก็บรักษาหัวสดหลังการเก็บเกี่ยวไม่ควรนานเกิน 2 วันหลังเก็บเกี่ยวหรือควรนามันสำปะหลังมาแปรรูปทันที เมื่อทาการเก็บรักษานานขึ้น จะมีผลทาให้อัตราสูญเสียเพิ่มขึ้น ปริมาณโปรตีน น้ำมัน ค่าความสว่างและความหนืดสูงสุดของแป้งมีค่าลดลง ในด้านการเก็บรักษาแป้งมัน แป้งมันฯควรมีความชื้นไม่เกิน 14% สามารถเก็บรักษาได้เป็นเวลานาน 6 เดือนในสภาพอุณหภูมิ 10 องศาเซลเซียส โดยยังคงมีคุณภาพดี สาหรับแป้งมันสำปะหลังที่เก็บรักษาในสภาพอุณหภูมิห้องสามารถเก็บรักษาได้นาน 4 เดือน และจะมีค่าความหนืดสูงสุดลดลงเมื่ออายุการเก็บรักษาเพิ่มมากขึ้น การทาเป็นมันเส้นสามารถทาให้เก็บรักษาในอุณหภูมิห้องนาน 12 เดือน โดยยังมีคุณภาพดี เปอร์เซ็นต์แป้งไม่มีการเปลี่ยนแปลง มีความชื้นเพิ่มขึ้นเล็กน้อยแต่ไม่เกิน 14% การผลิตน้ำตาลรีดิวซ์จากมันสำปะหลัง สามารถใช้มันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 9 ที่เก็บเกี่ยวเมื่ออายุ 9 เดือน ให้ปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์สูงที่สุด การจัดการปุ๋ยไนโตรเจนไม่มีผลต่อปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์ อายุเก็บเกี่ยวและการจัดการปุ๋ยไนโตรเจนของ มีผลต่อปริมาณเอทานอล โดยพบความแตกต่างของปริมาณเอทานอลเมื่อมีการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอัตราแตกต่างกันในมันสำปะหลังที่อายุเก็บเกี่ยว 6 เดือน ส่วนที่อายุ 9 และ 12 เดือน ไม่พบความแตกต่างของปริมาณแอลกอฮอล์การซื้อขายให้มีความยุติธรรมแก่ผู้ซื้อและขาย ควรต้องมีวิธีการที่ถูกต้อง แม่นยา รวดเร็ว ใช้เครื่องมือน้อย ประเมินได้หลายลักษณะ พบว่า เทคนิคเนียร์อินฟราเรดสเปกโตรสโคปี (NIRS) โดยใช้หลักการสะท้อนแสง (reflection) ที่ความยาวคลื่น 400 - 2500 นาโนเมตร หรือ 800 - 2500 นาโนเมตร สามารถใช้ประเมินปริมาณความชื้น ตั้งแต่ 50.88 - 77.40% และปริมาณแป้งในหัวมันสำปะหลังสดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งสามารถใช้ประเมินปริมาณแป้ง ตั้งแต่ 13.68-32.49% ปริมาณโปรตีนของแป้งฟลาวและสตาร์ชมันสำปะหลังที่ประเมินได้อยู่ในช่วง 0.18 - 2% ความหนืดของแป้งสำปะหลัง ทั้งชนิดฟลาวและสตาร์ช คือ ค่าความหนืดสูงสุด ตั้งแต่ 242 - 766 BU ค่า break down ตั้งแต่ 189 - 353 BU และค่า set back ตั้งแต่ 40 - 423 BU ค่าอมิโลสของแป้งมันสำปะหลังทั้งชนิดฟลาวและสตาร์ชได้ ตั้งแต่ 26.16-37.67% ปริมาณน้ำตาลฟรุกโตสในแป้งมันสำปะหลังในช่วง 0.82 - 0.93% กลูโคสในช่วง 0.84 - 1.81% ซูโครสในช่วง 0.99 - 1.40% และน้ำตาลทั้งหมดในช่วง 1.92 - 3.87% โดยความยาวคลื่น คือ 400 – 2500 นาโนเมตร


ไฟล์แนบ
.pdf   22_2561.pdf (ขนาด: 601.67 KB / ดาวน์โหลด: 1,483)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม