เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดต้นทุนการผลิตสับปะรด
#1
เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดต้นทุนการผลิตสับปะรด
พฤกษ์ คงสวัสดิ์

       สับปะรดเป็นไม้ผลเศรษฐกิจของไทย มีมูลค่าผลผลิตแปรรูปส่งออกกว่า 2.6 หมื่นล้านบาท แต่มีการแข่งขันสูง ปัจจุบันสับปะรดรับประทานสดเป็นสินค้ากลุ่มคลื่นลูกใหม่ ตลาดต้องการสูง แต่ยังขาดพันธุ์สับปะรด ซึ่งรัฐได้โดยเร่งรัดวิจัยพัฒนาสับปะรดพันธุ์ใหม่ๆ โดยปี 2549 - 2558 กรมวิชาการเกษตรได้ปรับปรุงพันธุ์สับปะรดพันธุ์ใหม่แต่ยังขาดเทคโนโลยีการขยายพันธุ์ดังกล่าวโดยนำเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อระบบอาหารเหลวแบบจมชั่วคราว temporary immersion bioreactor (TIB) มาปรับใช้กับการขยายสับปะรดพันธุ์แนะนำของกรมวิชาการเกษตร โดยตั้งเป้าว่าจะลดเวลาการผลิตหน่อพันธุ์สับปะรดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของวิธีปกติ (ระบบอาหารแข็ง) ดำเนินงานที่ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ นอกจากนั้นยังมีการเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมโรคเหี่ยวที่แพร่โดยเพลี้ยแป้งในสภาพไร่นา และการศึกษาการจัดการปุ๋ยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสับปะรดที่เกิดจากการใช้ปุ๋ยไม่ถูกต้องเหมาะสม ขาดการจัดการดินและปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน เพื่อพัฒนาวิธีการใส่ปุ๋ยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตสับปะรด ได้ดำเนินการในแหล่งปลูกสับปะรดจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดเพชรบุรี ทั้ง 3 การทดลองดำเนินงานในระหว่างเดือนตุลาคม 2558 ถึงเมษายน 2561

          ผลการศึกษาพบว่า การทดลองที่ 1 พบว่า สามารถพัฒนาเทคนิคเพาะเลี้ยงสับปะรดในระบบ TIB ให้มีประสิทธิภาพดีกว่าระบบอาหารแข็งร้อยละ 101 – 350 ในเวลา 4 สัปดาห์ โดยไม่พบการกลายพันธุ์ การทดลองที่ 2 พบว่า อัตราพ่นสารที่เหมาะสมในการพ่นสับปะรดอายุไม่เกิน 6 เดือนและสับปะรดที่มีอายุเกิน 6 เดือน โดยหัวฉีดแบบคานหัวฉีดแบบประกอบ 4 หัว คือ การพ่นด้วยก้านฉีดแบบไกปืน อัตราพ่น 80 ลิตร/ไร่ รองลงมาคือ พ่นด้วยก้านฉีดแบบไกปืน อัตราพ่น 120 ลิตร/ไร่ ตามลำดับ การทดลองที่ 3 พบว่า การใช้อัตราปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินใส่ทางดิน ส่งผลให้ปริมาณโพแทสเซียมในใบ D-leave ที่ระยะ 6 และ 8 เดือน หลังปลูก น้ำหนักผล ความกว้างผล ความยาวผล ค่าความหวาน และปริมาณธาตุโพแทสเซียมใน ใบ D-leave ในลำต้น สูงกว่ากรรมวิธีอื่น และเกษตรกรสามารถปฏิบัติได้ง่ายสะดวก และประหยัดเวลา


ไฟล์แนบ
.pdf   32_2561.pdf (ขนาด: 2.05 MB / ดาวน์โหลด: 609)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม