การใช้สารบราสสิโนสเตียรอยด์ในการพัฒนาผลผลิตและคุณภาพเมล็ดพันธุ์พืชตระกูลถั่ว
#1
วิจัยการใช้สารบราสสิโนสเตียรอยด์ในการพัฒนาผลผลิตและคุณภาพเมล็ดพันธุ์พืชตระกูลถั่ว
กัณทิมา ทองศรี, ภภัสสร วัฒนกุลภาคิน และศุภลักษ์ สัตยสมิทสถิต

          ปัญหาของเมล็ดพันธุ์พืชตระกูลถั่วเมื่อเพาะปลูกในช่วงฤดูหลังการทานาปี คือเมล็ดพันธุ์ถูกกระทบ จากสภาพอากาศหนาวจัดทาให้งอกช้าและชะงักการเจริญเติบโต สารกลุ่มบราสสิโนสเตียรอยด์ (Brassinosteroids; BRs) เป็นสารกระตุ้นอัตราการเจริญเติบโตทั้งยอดและราก ส่งเสริมการงอกและความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์และช่วยให้พืชทนทานต่อสภาวะอุณหภูมิต่า การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของสารบราสสิโนสเตียรอยด์ และระดับความเข้มข้นของสารบราสสิโนสเตียรอยด์ที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต และความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์พืชตระกูลถั่วภายใต้สภาวะอุณหภูมิต่า โดยนาเมล็ดพันธุ์ ถั่วเหลืองพันธุ์เชียงใหม่ 60 เมล็ดพันธุ์ถั่วเขียวพันธุ์ชัยนาท 72 และเมล็ดพันธุ์ถั่วลิสงพันธุ์ขอนแก่น 6 คลุกกับ สารบราสสิโนสเตียรอยด์ชนิด EBL และ DHECD ที่ระดับความเข้มข้นแตกต่างกัน 5 ระดับ คือ 0.05, 0.075, 0.10, 0.25 และ 0.50 มิลลิกรัมต่อลิตร และใช้น้าเป็นชุดควบคุม ตรวจสอบความงอกมาตรฐาน ตรวจสอบความงอกในสภาพอากาศเย็น (18 องศาเซลเซียส) และสภาพหนาว (10 องศาเซลเซียส 7 วัน ตามด้วย 25 องศาเซลเซียส 4 วัน) ประเมินความงอกและวัดความยาวยอดอ่อนและรากอ่อน พบว่าการคลุกเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองด้วยสารบราสสิโนสเตียรอยด์ชนิด EBL ความเข้มข้น 0.10 มิลลิกรัมต่อลิตร และ DHECD ความเข้มข้น 0.075 มิลลิกรัมต่อลิตร การคลุกเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียวด้วยสารบราสสิโนสเตียรอยด์ชนิด DHECD ความเข้มข้น 0.05 มิลลิกรัมต่อลิตร และการคลุกเมล็ดพันธุ์ถั่วลิสงด้วยสารบราสสิโนสเตียรอยด์ชนิด EBL ความเข้มข้น 0.10 และ 0.50 มิลลิกรัมต่อลิตร เป็นความเข้มข้นที่เหมาะสม ทาให้มีเปอร์เซ็นต์ความงอกและความยาวยอดอ่อนและรากอ่อนสูงสุด สามารถเพิ่มความงอกและความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์ภายใต้สภาวะอุณหภูมิปกติและอุณหภูมิต่าได้ ดังนั้นการคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารบราสสิโนสเตียรอยด์ที่ระดับความเข้มข้นที่เหมาะสมก่อนปลูกทั้งในสภาวะอุณหภูมิปกติและอุณหภูมิต่า สามารถเพิ่มความงอกและความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์ส่งเสริมการเจริญเติบโตของยอดและรากของพืช และกระบวนการพัฒนาการของพืชควรที่จะมีการนาไปใช้ศึกษาในสภาพไร่ต่อไปด้วย


ไฟล์แนบ
.pdf   70_2561.pdf (ขนาด: 468.23 KB / ดาวน์โหลด: 898)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม