เทคโนโลยีการผลิตหอมแดงเพื่อลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มคุณภาพผลผลิต
#1
เทคโนโลยีการผลิตหอมแดงเพื่อลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มคุณภาพผลผลิต
ธวัชชัย นิ่มกิ่งรัตน์, ผศ.ดร.วีรเวทย์ อุทโธ, ผศ.ดร.เอกสิทธิ์ อ่อนสอาด, ผศ.ดร.วิริยา อ่อนสอาด, ผศ.ดร.อภิญญา เอกพงษ์, สุภาวดี สมภาค , จันทนา โชคพาชื่น, ปฏิพัทธ์ ใจปิน, แสงเดือน แจบไธสง, พฤกษ์ คงสวัสดิ์ และนิตยา คงสวัสดิ์

          จัดทำแปลงต้นแบบเทคโนโลยีการผลิตหอมแดงคุณภาพของกรมวิชาการเกษตรตามคู่มือการปลูกหอมแดงของสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 4 ร่วมกับวิธีการปลูกหอมแดงของศูนย์วิจัยพืชสวน ศรีสะเกษ ดำเนินการในแปลงเกษตรกรผู้ปลูกหอมแดงเขตอำเภอที่เป็นแหล่งปลูกหอมแดงในจังหวัดศรีสะเกษ ได้แก่ อำเภอยางชุมน้อย อำเภอราษีไศล อำเภอวังหิน อำเภอพยุห์ อำเภออุทุมพรพิสัย และอำเภอเมือง ประกอบด้วยแปลงต้นแบบผลิตเมล็ดพันธุ์หอมแดงให้ผลผลิตเมล็ดพันธุ์ อยู่ระหว่าง 2.2 - 19.9 กิโลกรัมต่อไร่ แปลงต้นแบบผลิตหัวพันธุ์หอมแดงให้ผลผลิตหัวพันธุ์หอมแดงอยู่ระหว่าง 2,020 - 2,650 กิโลกรัมต่อไร่ แปลงต้นแบบเพื่อลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มผลผลิต ได้แก่ แปลงต้นแบบการผลิตหอมแดงด้วยเมล็ดให้ผลผลิตอยู่ระหว่าง 3,300 - 3,500 กิโลกรัมต่อไร่ รายได้ 42,000 - 49,500 บาท (ราคาหอมแดง 12 บาทต่อกิโลกรัม หอมแดงอินทรีย์ 15 บาทต่อกิโลกรัม) ต้นทุนการผลิต 17,000 บาท กาไร 25,000 - 39,500 บาท (BCR 2.5 - 4.9) สำหรับแปลงต้นแบบการผลิตหอมแดงด้วยหัวพันธุ์ที่ได้จากเมล็ดให้ผลผลิตอยู่ระหว่าง 2,440 - 3,520 กิโลกรัมต่อไร่ รายได้ 29,280 - 42,240 บาท (ราคาหอมแดง 12 บาทต่อกิโลกรัม) ต้นทุนการผลิต 15,100 บาท กาไร 14,020 - 27,140 บาท (BCR 1.9 - 2.7) การศึกษาคุณสมบัติคุณสมบัติทางเคมีและฟิสิกส์ของหอมแดงหลังการแปรรูปโดยการอบแห้ง และศึกษาการเก็บรักษาหอมแดงด้วยวิธีการดึงนาออกจากหอมแดงด้วยอุณหภูมิต่ำ แช่ตัวอย่างหอมแดงหั่นสไลด์ก่อนการอบแห้งโดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 แช่ในสารละลาย กรดซิตริค และแคลเซียมคลอไรด์ อย่างน้อย 20 นาที กลุ่มที่ 2 แช่ในสารละลาย กรดซิตริค แคลเซียมคลอไรด์ และน้ำตาลซอบิทอล หลังจากนั้นนำไปอบแห้งด้วยเครื่องเครื่องอบแห้ง คือ ตู้อบลมร้อน (hot-air oven) และตู้อบแบบ heat-pump วิธีการแปรรูปที่ดีที่สุด คือ วิธีการเตรียมหัวหอมด้วยการแช่ในสารละลายกรดซิตริค แคลเซียมคลอไรด์ เป็นเวลาอย่างน้อย 20 นาที และดำเนินการอบแห้งด้วยตู้อบลมร้อนที่อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1.5 ชั่วโมง การผลิตเมล็ดพันธุ์หอมแดงในแหล่งต่างๆ และเปรียบเทียบต้นทุนการผลิต เมื่อนามาเปรียบเทียบกับการผลิตหัวพันธุ์หอมแดง การผลิตเมล็ดพันธุ์หอมแดงให้กาไรสูงกว่าการผลิตหัวพันธุ์ 2 เท่า ทาการฝึกอบรมเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกหอมแดงจำนวน 150 ราย จำนวน 3 หลักสูตร คือ การผลิตเมล็ดพันธุ์หอมแดง การผลิตหัวพันธุ์หอมแดงสะอาดจากเมล็ด และเทคโนโลยีการผลิตหอมแดงคุณภาพ เกษตรกรมีความรู้เพิ่มขึ นหลังการฝึกอบรมร้อยละ 80 และความรู้ที่ได้รับสามารถนำไปใช้ประโยชน์ร้อยละ 85


ไฟล์แนบ
.pdf   84_2561.pdf (ขนาด: 307.14 KB / ดาวน์โหลด: 39,249)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม