การหาตำแหน่งยีนควบคุมปริมาณโปรตีนในถั่วเหลอืงโดยเครื่องหมายโมเลกุล SSR
#1
การหาตำแหน่งยีนควบคุมปริมาณโปรตีนในถั่วเหลอืงโดยเครื่องหมายโมเลกุล SSR เพื่อใช้ปรับปรุงพันธุ์ถั่วเหลืองโปรตีนสูง
จีราพร แก่นทรัพย์, พงศกร สรรคว์ทิยากลุ, อารีรัตน์ พระเพชร, ขนิษฐา วงศ์วัฒนารัตน์, สุภานนัทน์ จันทร์ประอบ, ชยานิจ ดิษฐบรรจง, ดนัย นาคประเสริฐ, จิติมา ยถาภูธานนท์, สมศักดิ์ ศรีสมบุญ, กิ่งกาญจน์ พิชญกุล
สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยชีีวภาพ,  ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุโขทัย, กองวิจัยพัฒนาปัจจยัการผลิตทางการเกษตร และสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1


การหาตำแหน่งยีนควบคุมลักษณะโปรตีนของถั่วเหลืองโดยใช้เครื่องหมายโมเลกุล SSR (Simple sequence repeat) ที่เป็นเครื่องหมายโมเลกุลชนิดไมโครแซทเทลไลท์ การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาตำแหน่งของเครื่องหมายโมเลกุลที่เกี่ยวขอ้งกับยีนที่ควบคุมปริมาณโปรตีนในเมล็ดถั่วเหลือง สำหรับนำมาใช้ประโยชน์ในการคัดเลือกพันธุ์ถั่วเหลืองที่มีโปรตีนสูง

       
ประชากรสายพันธุ์แท้ของถั่วเหลือง (Recombinant inbred lines, RILs) สร้างขึ้นโดยการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างพันธุ์แม่ (C5-2, C42-3) และพันธุ์พ่อ (S1-3, S17-3) ซ่ึ่งมีลักษณะโปรตีนที่แตกต่างกัน จำนวน  4  คู่ผสม จากการทดสอบด้วยวิธีการทางชีวโมเลกุลพบว่า การผสมข้ามพันธุ์ประสบความสำเร็จ และเมื่อทดสอบการกระจายตัวของประชากรถั่วเหลืองรุ่น F2 พบว่า มีการกระจายตัวของลักษณะสี ขนฝัก โดยจำนวนตน้ที่มีสีขนฝักสีน้ำตาลแบบพันธุ์แม่ต่อจำนวนต้นที่มีสีขนฝักสีขาวแบบพันธุ์พ่อ เป็นอัตราส่วน 3:1 แสดงว่า ลักษณะสีขนฝักสีน้ำตาลถูกควบคุมโดย Single dominant gene จากถั่วเหลือง รุ่น F2 เพื่อสร้างถั่วเหลืองรุ่น F3 – F7 ใช้วิธีการปลูกแบบเมล็ดต่อต้น (Single seed descent method) ในการคดัเลือกเครื่องหมายโมเลกุล SSR ที่ให้ความแตกต่างระหว่างดีเอ็นเอของพันธุ์พ่อและพันธุ์แม่ ทดสอบเครื่องหมายโมเลกุลจำนวนทั้งสิ้น 218 เครื่องหมาย พบเครื่องหมายโมเลกุลที่ให้ความแตกต่างระหว่างดีเอ็นเอของพันธุ์พ่อและพันธุ์แม่จำนวน 106 เครื่องหมาย นำเครื่องหมายโมเลกุล ดังกล่าวไปตรวจสอบรูปแบบดีเอ็นเอของ RILs รุ่น F7 ร่วมกับพันธุ์พ่อและพันธุ์แม่ เพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการวิเคราะห์ตำแหน่งของลักษณะเชิงปริมาณเปรียบเทียบกับปริมาณโปรตีนซึ่งตรวจสอบมาได้ จากเมล็ดถั่วเหลือง RILs รุ่น F8 จากการวิเคราะห์พบว่า มีตำแหน่งของลักษณะเชิงปริมาณ 4 ตำแหน่ง ที่มีความเกี่ยวข้องกับปริมาณโปรตีนในเมล็ด โดยลักษณะเชิงปริมาณทั้ง 4 นั้นสามารถระบุตำแหน่ง ได้ด้วยเครื่องหมายโมเลกุล 4 เครื่องหมาย คือ Satt184, Satt590, Satt196 และ Satt247 ข้อมูลจาก เครื่องหมายโมเลกุลดังกล่าวสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการคัดเลือกพันธุ์ถั่วเหลืองพันธุ์ไทยที่มีโปรตีนสูงและใช้ในการคน้หายีนซึ่งมีความสำคัญต่อปริมาณโปรตีนต่อไป


ไฟล์แนบ
.pdf   1_2559.pdf (ขนาด: 5.35 MB / ดาวน์โหลด: 1,427)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม